Filtra per genere

โพ้นทะเลเสวนา

โพ้นทะเลเสวนา

Thai Students Overseas - นักเรียนไทยโพ้นทะเล

"โพ้นทะเลเสวนา" เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการนำเสนอเนื้อหาของบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/) วัตถุประสงค์ของบล็อก คือเป็นเวทีให้นักเรียนไทยในต่างประเทศ ได้แบ่งปันประสบการณ์เรื่องการศึกษา วิชาการ สังคม-การเมือง และการทัศนศึกษาของตนเองในประเทศที่ตนศึกษาหรือเคยศึกษาอยู่ เนื้อหาของบล็อกจะมีทั้งที่เป็นวิชาการ กึ่งวิชาการ และไม่วิชาการ บทความส่วนใหญ่ตั้งใจจะให้ไม่ยาวมาก และอ่านง่ายสำหรับคนทั่วไป นอกจาก podcast แล้วผู้สนใจสามารถรับชม "โพ้นทะเลเสวนา" ได้ทาง youtube (https://www.youtube.com/channel/UCDPK8PPSd1mBfy0uNC-HyJw/about)

8 - สถาบันกษัตริย์ในสมัยเปลี่ยนผ่าน EP.8 - ซามูไร ศักดินา และพญาอินทรี
0:00 / 0:00
1x
  • 8 - สถาบันกษัตริย์ในสมัยเปลี่ยนผ่าน EP.8 - ซามูไร ศักดินา และพญาอินทรี

    ในตอนนี้ ดิน บัวแดง และ ปราน จินตะเวช ชวน “กฤตพล วิภาวีกุล” ผู้มีความสนใจเกี่ยวกับจักรพรรดิญี่ปุ่นมาคุยเรื่องกำเนิดและพัฒนาการของอุดมการณ์ชาตินิยมกับระบอบประชาธิปไตยที่มีจักรพรรดิเป็นสัญลักษณ์ในญี่ปุ่น

    โพ้นทะเลเสวนาในตอนนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาและลักษณะเฉพาะของระบบจักรพรรดิในญี่ปุ่น โดยจะพูดถึงประวัติศาสตร์การเมืองของญี่ปุ่นและความเปลี่ยนแปลงของสถาบันจักรพรรดิในภาพรวม ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศจนถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจะเน้นไปที่ความเปลี่ยนแปลงของบทบาทและอิทธิพลของจักรพรรดิญี่ปุ่นในแต่ละยุคสมัย พร้อมไปกับความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเมือง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นสมัยใหม่ในยุคเมจิ ตั้งแต่ ค.ศ. 1868 จนกระทั่งพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนบทบาทของสหรัฐที่มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่นให้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศ และสยายปีกแผ่อำนาจเข้าครอบงำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงทศวรรษ 1950-1970

    การเสวนานี้เป็นการพูดคุยต่อจากบทความของกฤตพล วิภาวีกุล เรื่อง “ซามูไร ศักดินา และพญาอินทรี: กำเนิดและพัฒนาการของอุดมการณ์ชาตินิยมกับระบอบประชาธิปไตยที่มีจักรพรรดิเป็นสัญลักษณ์ในญี่ปุ่น” ในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2021/06/22/samurai-feodalism-eagle/)

    โปรดติดตามบทความใหม่ ๆ ได้ที่บล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)

    Mon, 30 May 2022 - 1h 09min
  • 7 - สถาบันกษัตริย์ในสมัยเปลี่ยนผ่าน EP.7 - 1955 ปีที่เวียดนาม (ใต้) ลงมติถอดถอนกษัตริย์

    ในตอนนี้ ณัฐนพ พลาหาญ และ ณัฐพล อึ้งทม ชวน “ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์” ผู้สนใจการเมือง สังคม และวัฒนธรรมเวียดนาม มาคุยกันเรื่องบทบาทที่เปลี่ยนไปของสถาบันกษัตริย์เวียดนามตั้งแต่ยุคอาณานิคมจนถึงสงครามเวียดนาม

    โพ้นทะเลเสวนาในตอนนี้จะพาท่านผู้ชมไปสำรวจบทบาทของกษัตริย์เวียดนามภายใต้เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส พร้อมกับทำความเข้าใจว่าเหตุใดสถาบันกษัตริย์เวียดนามจึงเสื่อมความนิยมลงจนนำไปสู่การสละราชสมบัติในปี 1955 และการลงมติถอดถอนเบ๋าได่ออกจากตำแหน่งพระจักรพรรดิอีกครั้งในปี 1955

    การเสวนานี้เป็นการพูดคุยต่อจากบทความของปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ เรื่อง “1955 ปีที่เวียดนาม (ใต้) ลงมติถอดถอนกษัตริย์” ในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2021/06/30/1955-the-year-vietname-abolished-the-monarchy/)

    โปรดติดตามบทความใหม่ ๆ ได้ที่บล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)

    Fri, 25 Mar 2022 - 59min
  • 6 - สถาบันกษัตริย์ในสมัยเปลี่ยนผ่าน EP.6 - สถาบันกษัตริย์ลาวในการเปลี่ยนผ่านจากยุคอาณาจักรสู่รัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

    ในตอนนี้ ดิน บัวแดง และ พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ ชวน “ณัฐพล อิ้งทม” ผู้สนใจประวัติศาสตร์การเมืองลาวสมัยใหม่ มาคุยกันเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์การเมืองลาวและสถาบันกษัตริย์ลาวโดยเน้นหนักในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่รัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

    โพ้นทะเลเสวนาในตอนนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาของประเทศลาวและสถาบันกษัตริย์ลาวโดยสังเขป ก่อนที่จะพูดถึงประวัติศาสตร์การเมืองยุคราชอาณาจักรระหว่าง ค.ศ.1945-1975 ในภาพรวม ซึ่งเต็มไปด้วยความขัดแย้งทางการเมืองภายในที่ได้รับอิทธิพลจากสงครามเวียดนาม ตลอดจนความเป็นไปของสถาบันกษัตริย์ลาว ที่นำมาสู่ชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์และการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์อย่างสิ้นเชิง รวมไปถึงกระแสนิยมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในยุค สปป.ลาว

    การเสวนานี้เป็นการพูดคุยต่อจากบทความของณัฐพล อิ้งทม เรื่อง “สถาบันกษัตริย์ลาวในการเปลี่ยนผ่านจากยุคอาณาจักรสู่รัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์” ในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2021/02/12/laos-from-kingdom-to-peoples-republic)

    โปรดติดตามบทความใหม่ ๆ ได้ที่บล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)

    Mon, 15 Feb 2021 - 1h 29min
  • 5 - สถาบันกษัตริย์ในสมัยเปลี่ยนผ่าน EP.5 - กษัตริย์นักประชาธิปไตย (?) : สถาบันกษัตริย์สเปนในช่วงเปลี่ยนผ่าน

    ในตอนนี้ พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง และ อติเทพ ไชยสิทธิ์ ชวน “พีรวิชญ์ ขันติศุข” ผู้ศึกษาเรื่องการเลือกตั้งในช่วงเปลี่ยนผ่านและผู้หลงใหลในการเมืองสเปนร่วมสมัยมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในคำถามที่ว่า “กษัตริย์สเปนเป็นผู้สร้างประชาธิปไตยจริงหรือ?” และ “ทำไมผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากระบอบเผด็จการถึงยอม “ฆ่าตัวเองตาย” เพื่อการปฏิรูปไปสู่ประชาธิปไตย?”

    โพ้นทะเลเสวนาในตอนนี้ จะพาทุกท่านย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๗๐-๑๙๘๐ ของสเปนในฐานะประเทศที่ประชาธิปไตยกำลังก่อร่างสร้างตัว เพื่อสำรวจการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการปรับตัวของสถาบันทางการเมืองจากระบอบ “ผู้นำเผด็จการทหารทำตามอำเภอใจที่สุดในโลก” ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่มั่งคงได้อย่างทุกวันนี้ได้อย่างไร

    งานเสวนานี้เป็นการคุยผ่านบทความของพีรวิชญ์ ขันติศุขเรื่อง “กษัตริย์นักประชาธิปไตย (?) : สถาบันกษัตริย์สเปนในช่วงเปลี่ยนผ่าน” ในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2021/01/13/spanish-monarchy-transition/)

    โปรดติดตามบทความใหม่ๆ ได้ที่บล็อก "นักเรียนไทยโพ้นทะเล" (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/)

    หมายเหตุ: แก้ไขสิ่งที่พูดผิดในคลิปนี้ ดังต่อไปนี้

    นาที 4:25 - ในปี 1931 แก้เป็น 1981

    นาที 12:06 - ในปี 1936 แก้เป็น 1933

    นาที 1:01:29 - พรรคฝ่ายค้าน แก้เป็น พรรคฝ่ายซ้าย

    นาที 1:05:55 - ในปี 2014 แก้เป็น 2012

    Sat, 23 Jan 2021 - 1h 12min
  • 4 - สถาบันกษัตริย์ในสมัยเปลี่ยนผ่าน EP.4 - จากผู้ครองเมืองสู่กษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์

    ในตอนนี้ ดิน บัวแดงและคีตนาฏ วรรณบวร ชวน "พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ" นักศึกษาจากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเลเดน ประเทศเนเธอแลนด์ มาคุยถึงประวัติศาสตร์ ๔๐๐ กว่าปีของสถาบันกษัตริย์เนเธอแลนด์

    โพ้นทะเลเสวนาในตอนนี้จะพาไปสำรวจที่มาที่ไปของสถาบันกษัตริย์ในเนเธอร์แลนด์ รวมไปถึงรูปแบบทางวัฒนธรรมและการปรับตัวของผู้ปกครองดัตช์ โดยเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ เมื่อมีการก่อตั้งสถาบันทางการเมืองที่เรียกว่าสภาผู้แทนจังหวัดทั่วไป (Staten-Generaal) ไปจนถึงการปฏิรูปที่ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญในปี ๑๘๔๘

    งานเสวนานี้เป็นการคุยผ่านบทความชิ้นล่าสุดของพิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ ในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล 

    "จากผู้ครองเมืองสู่กษัตริย์แห่งเนเธอแลนด์: เส้นทาง รูปแบบทางวัฒนธรรม และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ในเนเธอแลนด์ (1464-1848)" (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2020/12/20/from-stadhouder-to-koning-der-nederlanden/)

    โปรดติดตามบทความใหม่ๆ ได้ที่บล็อก "นักเรียนไทยโพ้นทะเล" (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)

    Sun, 27 Dec 2020 - 1h 02min
Mostra altri episodi

Podcast simili a <nome>