Filtrar por género

- 172 - ทักษิณกลับบ้าน | Cup of Coffee กับ กรุณา บัวคำศรี
คุณจตุพร พรหมพันธ์ุ มาไลฟ์กับคุณกรุณาเรื่องการกลับมาของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ในรายการ #CupofCoffeeกับกรุณาบัวคำศรี
Tue, 22 Aug 2023 - 47min - 171 - 2 เดือนหลังปฏิบัติการณ์โต้กลับของยูเครน | Cup of Coffee กับ กรุณา บัวคำศรี
เป็นเวลาร่วม 2 เดือนแล้วที่ยูเครนเปิดปฏิบัติการโต้กลับหรือ counteroffensive เพื่อยึดพื้นที่คืนจากรัสเซีย การโจมตีตอบโต้กันไปมาระหว่างยูเครนและรัสเซียยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ยูเครนเริ่มหันไปใช้เรือไร้คนขับโจมตีตอบโต้บริเวณทะเลดำบ่อยขึ้นแล้ว รวมถึงส่งโดรนเข้าไปโจมตีทางอากาศถึงกรุงมอสโก
Thu, 10 Aug 2023 - 50min - 170 - อีกครั้งที่ทรัมป์ขึ้นศาล คดีพยายามล้มผลเลือกตั้ง | Cup of Coffee กับ กรุณา บัวคำศรี
การเมืองสหรัฐฯ กำลังร้อนแรงหลังจากคณะลูกขุนใหญ่ได้มีมติสั่งฟ้องอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ใน 4 ข้อหาหนัก โดยทั้งหมดเป็นข้อหาที่เกี่ยวข้องกับความพยายามล้มผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 และเมื่อวานนี้ ทรัมป์ได้เดินทางไปรายงานตัวที่ศาลในกรุงวอชิงตัน ดีซี ท่ามกลางการยกระดับการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
Fri, 04 Aug 2023 - 52min - 169 - มุมมองสื่อต่างชาติ หลังการโหวตนายกฯ ไทย | Cup of Coffee กับ กรุณา บัวคำศรี
การเมืองไทยเป็นที่จับตาจากนานาชาติมาตั้งแต่ช่วงเลือกตั้งจนถึงช่วงที่รัฐสภาต้องลงมติโหวตรับรองนายกรัฐมนตรี ล่าสุด หลังพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเพียงพอในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยสื่อต่างชาติรายงานข่าวเกี่ยวกับการโหวตครั้งนี้อย่างไรบ้างรวมถึงทวีตของสมเด็จฯฮุนเซนนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ชวนมาคุยกันแบบตัวต่อตัวกับคุณกรุณาใน #CupofCoffeeกับกรุณาบัวคำศรี
Fri, 14 Jul 2023 - 1h 02min - 168 - ญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีลงมหาสมุทร | Cup of Coffee กับ กรุณา บัวคำศรี
เมื่อวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา หน่วยงานเฝ้าระวังด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ อนุมัติแผนการของญี่ปุ่นที่จะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจำนวน 1.3 ล้านตัน จากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะที่ผ่านการบำบัดแล้วลงมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะที่บรรดาประเทศเพื่อนบ้านออกมาเรียกร้องให้ญี่ปุ่นทบทวนการตัดสินใจดังกล่าว เพราะกังวลถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม แผนนี้ของญี่ปุ่นจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอย่างไร มีความปลอดภัยมากแค่ไหน
Fri, 07 Jul 2023 - 1h 02min - 167 - ปูตินล้างบาง นายพลอาร์มาเก็ดดอนหายตัว | Cup of Coffee กับ กรุณา บัวคำศรี
ลังการก่อกบฏท้าทายผู้นำรัสเซียโดยเยฟเกนี ปริโกชิน ผู้ก่อตั้งกลุ่มแวกเนอร์ยุติลง ก่อนประกาศว่าจะลี้ภัยไปยังเบลารุส ล่าสุด อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ประธานาธิบดีเบลารุส ผู้ยื่นข้อเสนอลี้ภัยให้กับปริโกชิน ได้ออกมาเล่าถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการเจรจายุติความวุ่นวายในครั้งนี้แบบหมดเปลือก เบื้องหลังของดีลลับนี้คืออะไร และล่าสุด นายพลคนสำคัญอย่างนายพลซูโรวิคินของรัสเซียหายไปไหน ชวนมาคุยกันแบบตัวต่อตัวกับคุณกรุณา
Fri, 30 Jun 2023 - 57min - 166 - ทรัมป์เข้ามอบตัว พร้อมปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา | Cup of Coffee กับ กรุณา บัวคำศรี
เมื่อ 14 มิ.ย. 66 อดีตประธานธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เดินทางไปมอบตัวต่อศาลในรัฐฟลอริดา หลังถูกฟ้องร้องคดีอาญาข้อหาตั้งใจยึดเอกสารด้านความมั่นคงแห่งชาติไว้หลังพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว รวม 37 กระทง นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้นำสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นคนที่พ้นตำแหน่งไปแล้วหรือยังอยู่ในตำแหน่งถูกดำเนินคดีอาญาจากรัฐบาลกลาง ขณะเดียวกันทรัมป์ไม่ต้องถ่ายภาพ Mug shot และไม่ถูกสวมกุญแจมือ
Fri, 16 Jun 2023 - 42min - 165 - ฐานทัพสหรัฐฯ อยู่ที่ไหน | Cup of Coffee กับ กรุณา บัวคำศรี
กองทัพสหรัฐฯ ได้ชื่อว่าเป็นกองทัพที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในโลกทั้งด้านกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ งบทางการทหารและมีฐานทัพอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก แล้วโอกาสที่สหรัฐฯ จะมาตั้งฐานทัพในประเทศไทยมีมากน้อยแค่ไหน ชวนมาคุยกันแบบตัวต่อตัวกับคุณกรุณาในรายการ Cup of Coffee กับ กรุณา บัวคำศรี
Fri, 09 Jun 2023 - 52min - 164 - ชีวิตที่ตายได้ทุกเมื่อของชาวโรฮิงญา | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP25
เกิดเป็นคนโรฮิงญา ไม่มีประเทศ ไม่มีสัญชาติ สถานะของคนไร้รัฐส่งผลให้ไม่มีผู้ใดปกป้อง ซ้ำเติมด้วยอคติและความเกลียดชัง โรฮิงญาจึงถูกประหัดประหารและตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ ส่วนที่ยังมีชีวิตรอดก็ต้องระเห็จเร่ร่อน ไร้อนาคตในค่ายพักพิง #โรฮิงญา #เล่าสยอง #รอบโลก
Fri, 29 Apr 2022 - 30min - 163 - พ่อฆ่าลูก พี่ฆ่าน้อง อาชญากรรมเพื่อรักษาเกียรติ | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP24
ทันทีที่ฆาตรกรอ้างว่าพวกเขาลงมือสังหารเหยื่อก็เพราะต้องการปกป้องเกียรติยศของครอบครัว ความเลวร้ายที่ก้อก็ดูเบาบางลง อีกทั้งยังเป็นเหตุเป็นผลขึ้นมา นี่คือความน่ารังเกียจของอาชญากรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากคนในครอบครัวด้วยกันเอง พ่อฆ่าลูก พี่ฆ่าน้อง โดยใช้คำว่าเกียรติยศเป็นเครื่องมือในการลดโทษ ตลอดจนได้รับการให้อภัยจากสังคม
Fri, 22 Apr 2022 - 21min - 162 - มนุษย์กินคนในสงครามกลางเมือง | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP23
ไลบีเรีย คือประเทศเล็กๆ ในแอฟริกาตะวันตก สถานที่ที่ผู้คนรู้จักในนามจุดระบาดของไวรัสอีโบล่า อีกหนึ่งเรื่องที่โด่งดังรองลงมา คือตำนานมนุษย์กินคน ในช่วงสงครามกลางเมือง ที่ทุกวันนี้ แม้สงครามจะจบลงแล้ว แต่บรรดาทหารเด็กที่เข้าร่วมสงคราามในครั้งนั้นยังคงทุกข์ทรมาน #มนุษย์กินคน #ไลบีเรีย #เล่าสยอง #รอบโลก
Wed, 13 Apr 2022 - 25min - 161 - นิวเคลียร์ลูกเดียว หายนะทั้งโลก | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP22
ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกกำลังสร้างความกังวลว่า โลกอาจได้เห็นการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่นิวเคลียร์วันนี้ไม่เหมือนเมื่อ 80 ปีก่อน ลำพังนิวเคลียร์ลูกเดียว ก็เพียงพอที่จะทำลายโลก ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปอีกหลายสิบปี
Thu, 31 Mar 2022 - 23min - 160 - สตรีทฟู้ดอินเดีย สกปรกจริงหรือ?! | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP21
ถ้าพูดถึงสตรีทฟู้ด คงไม่มีที่ไหนเด็ดดวงเท่าอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นลีลาการปรุง หน้าตาอาหาร ไปจนถึงรสชาติ นั่นทำให้วีดิโอสตรีทฟู้ดของอินเดียกลายเป็นไวรัลบ่อยครั้งบนโลกออนไลน์ อร่อยแน่ แถมประทับใจด้วย! แต่สะอาดมั้ยคืออีกเรื่อง แล้วคุณจะยังกล้ากินอยู่มั้ยถ้ามีงานวิจัยระบุว่า พบแบคทีเรียอีโคไลในปริมาณที่มากเกินค่าความปลอดภัย
Wed, 23 Mar 2022 - 19min - 159 - กลิ่นศพ | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP20
ว่ากันว่าคนตายไปแล้วจะหลงเหลือตัวตนแค่ในความทรงจำ แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะว่าบางคนก็ยังทิ้งกลิ่นไว้ในจุดที่พวกเขาตาย กลิ่นเหล่านี้ติดอยู่ตามข้าวของเครื่องใช้ ยากที่จะลบออก!
Wed, 16 Mar 2022 - 20min - 158 - สังหารหมู่ด้วยความอดอยาก | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP19
ความอดอยากคืออาวุธที่โหดเหี้ยมที่สุดที่ผู้ปกครองใช้ในการกดขี่ประชาชนให้ล้มตายอย่างช้าๆ นโยบายนารวมของสหภาพโซเวียตส่งผลให้ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ อย่าง ยูเครน กลายสภาพเป็นนรกบนดิน ผู้คนล้มตายข้างถนน ต้องเข่นฆ่ากันเองเพราะความหิว แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านมา 90 ปีแล้ว แต่มรดกของความอดอยากยังคงอยู่
Wed, 02 Mar 2022 - 21min - 157 - ตายเพราะหัวล้าน | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP18
“ไม่มีใครตายเพราะหัวล้าน” ประโยคนี้อาจไม่จริงเสมอไป หากคุณเป็นคนหัวล้านและอาศัยอยู่ในโมซัมบิก ประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกา หนังศีรษะที่เตียนโล่งนั้น ล่อตาล่อใจบรรดานายหน้าค้ามนุษย์ตลอดจนหมอผีพื้นบ้าน ด้วยความเชื่อที่ว่าหัวล้านคือคุณลักษณะพิเศษ ที่ช่วยในการทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ไปจนถึงมีทองคำฝังอยู่ข้างใน!
Wed, 23 Feb 2022 - 20min - 156 - “พระมัมมี่” บำเพ็ญเพียรแบบสุดโต่ง | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP17
พิธีกรรมและความเชื่อเรื่องการทำมัมมี่พบได้ในหลายวัฒนธรรม ตั้งแต่อารยธรรมอียิปต์ เทือกเขาแอนดีสในเปรู ไปจนถึงชาวโทราจาในอินโดนีเซีย โดยขั้นตอนและกรรมวิธีนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ญี่ปุ่นอาจเป็นที่เดียวในโลกที่คนเปลี่ยนตัวเองเป็นมัมมี่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยกรรมวิธีไม่ธรรมดา ที่ต้องใช้ความอดทนและระยะเวลาเกือบสิบปี!
Wed, 16 Feb 2022 - 17min - 155 - ชีวิตพังเพราะความคัน | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP16
อาการคันเป็นอาการทางผิวหนังที่พบได้ทั่วไป เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งแมลงสัตว์กัดต่อยหรืออาการแพ้ต่างๆ อาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นทำให้เสียสมาธิ รบกวนเวลาพักผ่อน หรือแม้แต่เสียบุคลิกภาพ แต่อาการคันอาจสร้างความทรมานมากกว่าที่คิด ถ้าความคันไม่เคยหายไป และต้องใช้ชีวิตกับความรู้สึกคันแบบนี้ไปเป็นเวลาหลายปี
Wed, 09 Feb 2022 - 24min - 154 - ชีวิตในกรอบศีลธรรมที่อาเจะห์ | Podcast เล่าสยองรอบโลก EP15
อาเจะห์ จังหวัดเดียวของอินโดนีเซียที่ยังบังคับใช้กฏหมายชารีอะห์ควบคุมผู้คนให้อยู่ในระเบียบ ทั้งการแต่งกาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน ไปจนถึงเรื่องเพศ ที่นี่อาจเป็นสวรรค์ของใครหลายคน ในฐานะผู้ประพฤติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงาม แต่ในขณะเดียวกัน ไม่ใช่ทุกคนที่จะยินดีกับกรอบเหล่านี้ และที่นี่ก็อาจเป็นเหมือนนรกของบางคนเช่นกัน
Thu, 03 Feb 2022 - 25min - 153 - ไครโอนิกส์ แช่แข็งเพื่อเกิดใหม่ | เล่าสยองรอบโลก EP14
เทคโนโลยีการแพทย์ที่ก้าวหน้าทำให้คนมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ไม่ใช่แค่ 1-2 ปี แต่คือหลายสิบปี ด้วยการแช่ร่างกายในความเย็นติดลบ อาจฟังดูคล้ายนิยายหรือภาพยนตร์ไซไฟ แต่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงแล้ว! เทคโนโลยีนี้เป็นความหวังของใครหลายคนที่ต้องการมีชีวิตอมตะ อย่างไรก็ตามกระบวนการไครโอนิกส์ยังไม่อาจรับประกันได้ว่า ร่างที่ถูกแช่แข็งจะสามารถฟื้นคืนกลับมามีชีวิตได้ตามที่โฆษณาหรือไม่
Thu, 27 Jan 2022 - 19min - 152 - แฟชั่นอันตราย | เล่าสยองรอบโลก EP13
หากพูดถึงแฟชั่นอันตราย หลายคนอาจนึกถึงแฟชั่นของผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ แต่แฟชั่นของผู้ชายก็อันตรายไม่แพ้กัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสวยงามมักถูกคำนึงถึงมากกว่าความสะดวกสบาย จนหลายคนต้องสังเวยชีวิตจากเสื้อผ้าหน้าผมตามกระแสนิยม แฟชั่นเหล่านี้ไม่เพียงแค่ทำลายสุขภาพของผู้คน แต่ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงด้วย #แฟชั่น #เล่าสยอง #รอบโลก
Wed, 19 Jan 2022 - 23min - 151 - ข่าวใหญ่แห่งปี 2021 | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP38
ในมุมมองของคนทำงานข่าว การจะเลือกข่าวใหญ่ประจำปีไม่ใช่เรื่องง่าย ตัวลิตเติ้ลเลือกเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่นำไปสู่การโจมตีทางอากาศ เมื่อเดือนพฤษภาคม ส่วนตัวพี่ณาเลือกเหตุการณ์ที่ตาลีบันเข้ายึดกรุงคาบูล เมืองหลวงอัฟกานิสถานได้สำเร็จ เมื่อเดือนสิงหาคม ทำไมถึงเป็นสองข่าวนี้? สองเหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองโลกอย่างไร?
Sat, 25 Dec 2021 - 25min - 150 - “โอมิครอน” รู้ไว้แต่อย่าตื่นตระหนก | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP37
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีรายงานการค้นพบโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ที่องค์การอนามัยโลกให้ชื่อว่า “โอมิครอน” นักวิทยาศาสตร์บางคนถึงกับวิตก เพราะโอมิครอนมีตำแหน่งกลายพันธุ์ที่หนามโปรตีนมากถึง 32 ตำแหน่ง ท่ามกลางจำนวนประเทศที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กลับมีเสียงจากหลายฝ่ายออกมาเตือนว่าอย่าตื่นตระหนกเกินเหตุ เพราะนักวิทย์ฯ ยังไม่มีข้อมูลมากพอและความกังวลที่มียังเป็นแค่การคาดการณ์เท่านั้น
Sat, 04 Dec 2021 - 19min - 149 - #สมรสเท่าเทียม ไทยยังไปไม่ถึง | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP36
17 พฤศจิกายน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 1448 ที่รับรองการสมรสเฉพาะชายหญิงนั้น ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาค เกิดเป็นประเด็นร้อนแรงในโลกโซเชียล กลายเป็นกระแสที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และถกประเด็นกันในสังคม ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพราะหากมองประวัติศาสตร์ของบรรดาประเทศ #สมรสเท่าเทียม ที่ผ่านมา ประชาชนก็ต้องถกเถียง ต่อสู้ และเรียกร้อง มาไม่น้อยเช่นกัน
Sat, 27 Nov 2021 - 21min - 148 - เกมการเมืองยุโรป (ภาคต่อ) | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP35
หลายฝ่ายออกมาบอกว่าวิกฤตผู้อพยพบนชายแดนโปแลนด์ เป็นเพียงการเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งที่รัสเซียกำลังจะทำ นั่นคือการบุกยูเครน เลขาธิการนาโต้ออกมาแสดงความกังวลถึงกองกำลังทหารรัสเซียที่เพิ่มมากขึ้นผิดปกติบริเวณชายแดนด้านตะวันออกของยูเครน ส่งผลให้ยูเครน และหลายประเทศเสริมกำลังเต็มที่ เกิดอะไรขึ้นที่นั่น? รัสเซียกำลังพยายามจะทำอะไรกันแน่?
Sat, 20 Nov 2021 - 19min - 147 - การทดลองวิปริตในช่วงสงครามโลก | เล่าสยองรอบโลก EP12
หากพูดถึงความเหี้ยมโหดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายคนคงนึกถึงค่ายกักกัน และการสังหารหมู่ของนาซี แต่ด้านฝั่งตะวันออกเอง ก็มีเรื่องราวที่น่าสยดสยองและโหดเหี้ยมไม่ต่างกัน เมื่อญี่ปุ่นจัดตั้งหน่วยลับด้วยเป้าหมายที่จะผลิตเชื้อโรค โดยใช้คนจริงๆ เป็นหนูทดลอง
Fri, 19 Nov 2021 - 24min - 146 - เกมการเมืองยุโรปกับผู้อพยพ | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP34
วิกฤตผู้อพยพที่ชายแดนโปแลนด์-เบลารุส กลายมาเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศ เมื่อโปแลนด์ประกาศว่า ผู้อพยพเหล่านี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดย อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค ประธานาธิบดีเบลารุส เจ้าของฉายาเผด็จการคนสุดท้ายของยุโรป ยิ่งไปกว่านั้น นายกฯโปแลนด์ยังระบุว่า วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย อยู่เบื้องหลังหลังแผนการนี้ด้วยเช่นกัน เกิดอะไรขึ้นที่นั่น และทำไมเบลารุสต้องใช้ผู้อพยพเป็นเกมการเมือง?
Sat, 13 Nov 2021 - 18min - 145 - ความตายในอวกาศ | เล่าสยองรอบโลก EP11
หลายทศวรรษของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ มีสัตว์หลากหลายชนิดถูกส่งออกไปทำนอกโลก ด้วยเหตุผลเพื่อการวิจัย โด่งดังที่สุดคือ “ไลก้า” สุนัขตัวแรกจากสหภาพโซเวียต ในขณะที่ไลก้าถูกยกย่องถึงความเสียสละเพื่องานวิทยาศาสตร์ อีกมุมหนึ่งที่ผู้คนไม่ค่อยพูดถึงคือ เกิดอะไรขึ้นกับสุนัขที่ออกไปนอกโลกตัวแรก มันตายอย่างไรและมีสัตว์อะไรอีกบ้างที่ถูกส่งไปนอกโลก?
Wed, 10 Nov 2021 - 21min - 144 - ต้องตอนนี้! ทางรอดเดียวหยุดโลกร้อน | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP33
เกิดอะไรขึ้นกับข้อตกลงปารีสใน COP21 เมื่อปี 2015? ทำไม COP26 ถึงถูกบอกว่าเป็นการประชุมชี้เป็นชี้ตายของโลก? โลกร้อนคือเรื่องที่ทุกคนรู้ดี และถูกพูดถึงมาตลอด แต่นาทีนี้เหล่าผู้นำของโลกย้ำอย่างจริงจังว่า เราเหลือเวลาไม่มากในการลงมือทำ โลกจะเป็นอย่างไรหากแต่ละประเทศ ทำตามข้อตกลงไม่ได้? แล้วไทยให้สัญญาอะไรในเวทีโลก?
Sat, 06 Nov 2021 - 30min - 143 - ระเบิดเวลาที่ขั้วโลก | เล่าสยองรอบโลก EP10
ภายใต้ชั้นดินเยือกแข็ง มีภัยคุกคามที่มองไม่เห็นซ่อนอยู่มากมาย... ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ได้มีแค่อากาศที่ร้อนขึ้น หรือน้ำทะเลที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น ยังทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้ระเบิดเวลา ณ ขั้วโลกปะทุขึ้นได้ทุกเมื่อ
Wed, 03 Nov 2021 - 14min - 142 - เบื้องหลังตำนานแวมไพร์ | เล่าสยองรอบโลก EP9
ติดเขี้ยว แต่งเลือดที่มุมปาก ใส่ชุดสูทสีดำ เรียกได้ว่าเป็นไอเดียแต่งตัวยอดฮิตสำหรับปาร์ตี้ฮาโลวีนทุกๆ ปี เพราะไม่มีใครไม่รู้จักแวมไพร์ ตำนานผีดูดเลือดที่มีภาพจำมากที่สุด เบื้องหลังตำนานผีดิบแวมไพร์ แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร ? ทำไมคนถึงหวาดกลัวไปทั่วยุโรป ?
Thu, 28 Oct 2021 - 18min - 141 - เสรีภาพสื่อในยุคดิจิทัล | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP32
ท่ามกลางความยากลำบาก และการถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ ของสื่อมวลชนทั่วโลก คณะกรรมการโนเบลตัดสินใจมอบรางวัลสาขาสันติภาพในปี 2021 นี้ ให้แก่ มาเรีย เรสซ่า และดีมิทรี มูราตอฟ สองนักข่าวที่พยายามปกป้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของประชาธิปไตย และสันติภาพที่ยั่งยืน ในฐานะของคนทำข่าว พี่ณากับลิตเติ้ลมีความคิดเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้ ? และนี่ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับคนทำงานสื่อทั่วโลกหรือไม่ ?
Sat, 23 Oct 2021 - 30min - 140 - ตายยกครัว จากพิธีกรรมพิสดาร | เล่าสยองรอบโลก EP8
ปี 2018 ที่อินเดีย เกิดกรณีการเสียชีวิตยกครัว 11 ศพ ของครอบครัวชนชั้นกลางครอบครัวหนึ่งในนิวเดลี รูปแบบการเสียชีวิตที่แปลกประหลาด ตลอดจนปริศนามากมายที่ตำรวจไม่สามารถตอบได้ส่งผลให้กรณีนี้ กลายเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ ดูภายนอกพวกเขาไม่ต่างจากครอบครัวชาวอินเดียทั่วไป แต่ลึกลงไปครอบครัวนี้มีความลับดำมืด ความลับที่นำไปสู่โศกนาฏกรรม * หมายเหตุ : เนื้อหาเปิดเผยเรื่องราวบางส่วนของสารคดี House of secrets จาก Netflix
Wed, 20 Oct 2021 - 24min - 139 - “ศีรษะจิ๋ว” ของสะสมกักวิญญาณ | เล่าสยองรอบโลก E7
ศีรษะจิ๋วเหล่านี้ทำมาจากหัวมนุษย์จริงๆ และกว่าจะออกมาเป็นหัวจิ๋วได้ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย ชนเผ่าหนึ่งในป่าแอมะซอนเป็นผู้คิดค้นวิธีการนี้ขึ้น และเมื่อชาวตะวันตกเข้ายึดครองอเมริกาใต้ พวกเขาทั้งประหลาดใจและสยองขวัญกับหัวจิ๋วเหล่านี้
Wed, 13 Oct 2021 - 17min - 138 - บทเพลงมรณะ คนฟังตาย คนแต่งก็ตาย | เล่าสยองรอบโลก EP6
เรื่องราวของบทเพลงมรณะ ที่ไม่ใช่เพลงเศร้าธรรมดาทั่วไป แต่ได้ชื่อว่าเป็นเพลงที่ใครฟังจะต้องตาย ด้วยเนื้อหาและท่วงทำนองที่หดหู่ มืดมน จนสถานีวิทยุแบนไม่ให้ออกอากาศเป็นสิบปี คำถามสำคัญคือ บทเพลงฆ่าคนได้จริง หรือเป็นเพียงเรื่องเล่าตำนานหลอนเท่านั้น
Thu, 07 Oct 2021 - 17min - 137 - เรื่องของ “กรุณา” | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP31
วันนี้ตัวลิตเติ้ลพลิกบทบาทเป็นผู้สัมภาษณ์ พาทุกคนไปฟังเรื่องราวของ กรุณา บัวคำศรี ที่ไม่เคยออกอากาศที่ไหนมาก่อน หลายคนอาจมีภาพจำจากสื่อต่างๆ ผ่านผลงานข่าวและสารคดี แต่วันนี้เราจะมารู้จักตัวพี่ณา ในมุมของคนธรรมดาคนหนึ่ง และนี่คือตัวตน เรื่องราว มุมมอง และชีวิตของนักข่าวหญิงผู้เดินทางไปรอบโลก
Sat, 02 Oct 2021 - 27min - 136 - ตายแล้วไปไหน? ขอต้อนรับสู่ฟาร์มศพ | เล่าสยองรอบโลก EP5
ฟาร์มศพ คือศูนย์รวมร่างผู้เสียชีวิตที่ถูกทิ้งให้เน่าเปื่อยอย่างน่าสยดสยอง เป้าประสงค์เป็นไปเพื่อการศึกษาวิจัยและผลิตคลังข้อมูลที่ได้จากการเน่าเปื่อยของศพในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน สำหรับการสืบสวนเหตุอาชญากรรม การระบุวันเวลาที่เสียชีวิต ไปจนถึงการตรวจสอบและยืนยันอัตลักษณ์บุคคล ตำรวจจำเป็นต้องพึ่งพาข้อมูลจากฟาร์มศพเหล่านี้
Wed, 29 Sep 2021 - 17min - 135 - เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ รอยร้าวสัมพันธ์ตะวันตก | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP30
ความร่วมมือออคุส ระหว่าง สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย เป็นที่จับตามองของทั่วโลก เมื่อสหรัฐฯและสหราชอาณาจักรจะถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ให้กับออสเตรเลีย เทคโนโลยีทางการทหารชั้นสูง ที่มีเพียง 6 ประเทศในโลก ข่าวประกาศความร่วมมือสร้างความไม่พอใจให้กับฝรั่งเศส เพราะออสเตรเลียฉีกสัญญาสร้างเรือดำน้ำมูลค่า 50,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ที่ทำไว้กับพวกเขา เมื่อปี 2016 ทำไมการฉีกสัญญาจึงเป็นเรื่องใหญ่? และรอยร้าวที่กำลังกระทบไปถึงชาติอื่นๆ ในยุโรปจะสมานตัวได้อย่างไร?
Tue, 28 Sep 2021 - 24min - 134 - กระดาษสังหารมนุษย์ | เล่าสยองรอบโลก EP4
“ตายทั้งเป็น” แบบคนอินเดีย ไม่ใช่ป่วย หรือขาดอิสรภาพ แต่จู่ๆ สถานะการมีชีวิตของพวกเขาก็ถูกพรากไปด้วยกระดาษแผ่นเดียว ไม่ใช่เรื่องเหนือจริง แต่เกิดขี้นแล้วในรัฐอุตตรประเทศ ดินแดนที่ชาวบ้านจำนวนมากเสียชีวิตในทางกฎหมาย และต้องพยายามพิสูจน์ว่าตนเองยังมีชีวิตอยู่
Wed, 22 Sep 2021 - 17min - 133 - ทำความรู้จักกับ “ตัวลิตเติ้ล” | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP29
วันนี้ตัวพี่ณารับบทเป็นผู้สัมภาษณ์ และจะพาทุกคนไปรู้จักกับ “ตัวลิตเติ้ล” พร้อมๆ กัน ความเป็นตัวลิตเติ้ลที่ทุกคนได้เห็นผ่านรายการ ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี ตลอด 28 EP ที่ผ่านมา ก่อร่างสร้างตัวมาจากความชอบ งานอดิเรก และประสบการณ์ชีวิต ตัวพี่ณา ขอฝากตัวลิตเติ้ล และรายการใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจแฟนๆช่องเล่าเรื่องรอบโลกด้วยนะคะ
Sat, 18 Sep 2021 - 33min - 132 - ตำนานสะท้อนเรื่องจริง ทิ้งพ่อทิ้งแม่ | เล่าสยองรอบโลก EP3
นิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับการทิ้งคนแก่บนภูเขา เป็นหนึ่งในเรื่องเล่าที่โด่งดังและทรงพลังมาก มีอิทธิพลในวรรณกรรม มังงะ ตลอดจนภาพยนตร์ของญี่ปุ่น แม้ว่านักประวัติศาสตร์ยังไม่อาจยืนยันได้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่ก็มีเหตุการณ์ทิ้งพ่อทิ้งแม่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน บริบทและเหตุผลในตำนานที่ต่างออกไป กลับสะท้อนความจริงในสังคมได้อย่างน่าประหลาดใจ
Wed, 15 Sep 2021 - 20min - 131 - ครบรอบ 20 ปี 9/11 | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP28
11 กันยายน 2021 ครบรอบ 20 ปี เหตุวินาศกรรม 9/11 ที่กลุ่มอัลกออิดะห์ขับเครื่องบินพุ่งชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และอาคารเพนตากอน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 ราย 9/11 คือผลลัพธ์ของความขัดแย้งทางศานาและการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง เชื่อมโยงกับหลายประเทศตั้งแต่ สหรัฐฯ สหภาพโซเวียต อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย อัฟกานิสถาน ไปจนถึงอิรัก และ 9/11 ยังเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามก่อการร้ายยุคใหม่ ที่ผลกระทบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
Sat, 11 Sep 2021 - 44min - 130 - ระบุตัวตนเหยื่อ 9/11 ทำไม 20 ปียังไม่จบ | เล่าสยองรอบโลก EP2
ครบรอบ 20 ปี เหตุวินาศกรรม 9/11 แต่บาดแผลจากเหตุการณ์ยังฝังลึกในใจใครหลายคน โดยเฉพาะครอบครัวของผู้สูญเสีย ปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 60 ของผู้เสียชีวิตที่ได้รับการพิสูจน์อัตลักษณ์ และส่งคืนชิ้นส่วนกลับสู่ครอบครัว เกิดอะไรขึ้นกับอีกร้อยละ 40 ที่เหลือ เหตุใดการระบุตัวตนเหยื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้จึงยากและล่าช้า?
Wed, 08 Sep 2021 - 25min - 129 - ตาลีบัน อัลกออิดะห์ และไอซิส-เค เกี่ยวกันอย่างไร | Podcast EP106
หลังจากยุคของกษัตริย์ในอัฟกานิสถานสิ้นสุดลง อัฟนิสถานเผชิญกับการรุกรานของสหภาพโซเชียต ช่วงเวลาของสงครามเย็นคือจุดกำเนิดของ ตาลีบัน อัลกออิดะห์ และไอซิส-เค ทั้งสามกลุ่มมีความสัมพันธ์กันอย่างไร? ตาลีบันจะจัดการกับอีกสองกลุ่มที่สหรัฐฯ มองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายและปัจจุบันยังคงอยู่ในอัฟกานิสถานได้อย่างไร สัญญาที่ให้ไว้กับสหรัฐฯ จะทำได้หรือไม่...
Fri, 03 Sep 2021 - 35min - 128 - ประหารชีวิตแบบไวกิ้ง | เล่าสยองรอบโลก EP1
นักรบไวกิ้ง นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องการสู้รบอย่างดุดันห้าวหาญ หรือเรียกได้ว่าไม่รักตัวกลัวตายนั้น พวกเขายังมีวิธีการลงโทษและประหารชีวิตที่โหดเหี้ยมอีกด้วย กว่าจะสิ้นใจเหยื่อจะถูกทรมานอย่างยิ่งยวด โหดและสยองจนนักประวัติศาสตร์หลายคนไม่เชื่อว่ามันคือเรื่องจริง
Wed, 01 Sep 2021 - 16min - 127 - อัฟกานิสถานที่สงบและสันติ | Podcast EP105
Land of endless war หรือดินแดนที่ไม่เคยว่างเว้นจากสงครามในความทรงจำของใครหลายคน แต่ช่วงเวลาหนึ่งของอัฟกานิสถาน ก็เคยสงบและสันติ ทำความรู้จักกับอัฟกานิสถานในอีกมุมหนึ่ง ภายใต้การปกครองและการปฏิรูปของกษัตริย์องค์สุดท้าย โมฮัมหมัด ซาฮีร์ ชาห์ หรือที่ผู้คนยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งชาติ
Mon, 23 Aug 2021 - 29min - 126 - ใครฆ่าประธานาธิบดีเฮติ? | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP27
เหตุลอบสังหารประธานาธิบดีโฌเวเนล โมอิส เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา แม้ว่าตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนสำคัญได้แล้ว แต่ยังมีปริศนาอีกมากม โดยเฉพาะแรงจูงใจของการลอบสังหาร เฮติถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยที่สุดของภูมิภาคลาตินอเมริกา เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังไม่ได้เริ่มฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการทำรัฐประหารมากที่สุดในโลกถึง 26 ครั้ง ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดวิกฤตการเมืองแบบนี้ เพราะก่อนหน้าโมอิส ก็มีผู้นำประเทศถูกลอบสังหารถึง 2 คนแล้ว
Sat, 17 Jul 2021 - 25min - 125 - ทำไมเบลารุสเข้าข้างกองทัพเมียนมา? | Podcast EP104
ผลการประชุมสมัชชาของสหประชาชาติมี 119 ประเทศลงมติเห็นชอบห้ามขายอาวุธให้แก่เมียนมา ส่วนอีก 36 ประเทศงดออกเสียง อย่างไรก็ตามมี 1 ประเทศเท่านั้นที่คัดค้านได้แก่ เบลารุส การออกเสียงคัดค้านเพียงประเทศเดียวของเบลารุสนำมาสู่คำถามว่าทำไมเบลารุสจึงสนับสนุนกองทัพเมียนมา มีสองเหตุผล หนึ่งคืออุดมการณ์เดียวกันในฐานะประเทศเผด็จการทหาร และสองคือผลประโยชน์ เนื่องจากเบลารุสคือหนึ่งในประเทศที่ส่งออกอาวุธมากที่สุด และคู่ค้าสำคัญก็คือเมียนมา
Mon, 21 Jun 2021 - 23min - 124 - สงครามยาเสพติดของผู้นำสายโหด | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP25
สงครามยาเสพติดในฟิลิปปินส์ เริ่มขึ้นตั้งแต่โรดริโก ดูเตอร์เต เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2016 และ 5 ปีของการปราบปรามตามสถิติทางการมีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 6,100 คน การกระทำของตำรวจฟิลิปปินส์ถูกมองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการฆ่าแบบเหมารวม และมีวาระทางการเมืองแอบแฝง โดยล่าสุด ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC เตรียมดำเนินการสอบสวนนโยบายนี้ ในขณะที่ผู้นำฟิลิปปินส์ ประกาศกร้าวว่าจะไม่ให้ความร่วมมือใดใด ด้วยเหตุผลที่ว่าฟิลิปปินส์ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกรัฐภาคีไปแล้ว #สงครามยาเสพติด #ดูเตอร์เต #ฟิลิปปินส์
Sat, 19 Jun 2021 - 30min - 123 - ทฤษฎีสมคบคิดกับเชื้อโควิด? | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP24
หรือจริงๆ แล้วโควิด-19 อาจไม่ได้มาจากธรรมชาติ เมื่อทฤษฎีโควิดหลุดจากแล็บ ที่หลายฝ่ายเคยมองว่าเป็นเพียงทฤษฎีสมคบคิดกลับมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ทั้งอนามัยโลกและรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่อาจปัดตกประเด็นนี้ ตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถาบันไวรัสในอู่ฮั่น ปริศนาอาการป่วยของเจ้าหน้าที่ก่อนเคสแรกในตลาด ไปจนถึงการที่นักวิทย์ยังไม่อาจหาคำตอบได้ว่า ถ้าโควิดมาจากธรรมชาติจริง มันอุบัติขึ้นและเดินทางมาสู่มนุษย์ได้อย่างไร?
Sat, 05 Jun 2021 - 29min - 122 - เบนจามิน เนทันยาฮู มีวันนี้เพราะ “พี่ชาย” | Podcast EP103
เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอลผู้ดำรงตำแหน่งมานานถึง 12 ปี อาจหมดอำนาจในเร็ววันนี้ เมื่อพรรคฝ่ายค้านสามารถจัดตั้งรัฐบาลร่วมได้สำเร็จ ในฐานะผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด นอกจากอุดมการณ์ขวาจัดและความเด็ดเดี่ยวในการบริหารประเทศแล้ว ปูมหลังของเนทันยาฮูก็น่าสนใจ นี่คือบุรุษผู้สูญเสียพี่ชายไปจากการต่อสู้กับขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์ และเป็นพี่ชายของเขาที่ช่วยแผ้วทางให้เนทันยาฮูเข้าสู่เวทีการเมือง
Fri, 04 Jun 2021 - 24min - 121 - เผด็จการคนสุดท้ายของยุโรป | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP23
ยุโรปคือทวีปอันเป็นหน้าตาของเสรีภาพ ความเท่าเทียม ไปจนถึงความมั่งคงทางเศรษฐกิจ จนกลายมาเป็นทวีปในฝันที่ผู้คนจากหลายประเทศอยากย้ายไปตั้งรกราก แต่ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีคุณสมบัติดังกล่าว โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของทวีป ยินดีต้อนรับสู่ “เบลารุส” ประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ยังคงถูกปกครองโดยผู้นำครองอำนาจเบ็ดเสร็จ และล่าสุดชื่อของอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค กลายเป็นที่โจษจันอีกครั้งหลังใช้อำนาจเกินขอบเขตบังคับเครื่องบินลงจอด เพื่อจับกุมศัตรูทางการเมือง
Sat, 29 May 2021 - 31min - 120 - หรือไวรัสหลุดจากแล็บ? | Podcast EP102
หนึ่งปีครึ่งแล้วที่โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก และเป็นเวลานานถึงหนึ่งปีครึ่งที่ต้นตอของโรคนี้ยังคงเป็นปริศนา มีทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับจุดกำเนิดของโควิด หนึ่งในนั้นคือทฤษฎีที่ว่าไวรัสไม่ได้มาจากธรรมชาติ หากหลุดมาจากอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ ประเด็นดังกล่าวทางองค์การอนามัยโลกเคยออกมาระบุแล้วว่าเป็นไปได้น้อย แต่วันนี้มันกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลังผู้นำสหรัฐฯ ประกาศเร่งสืบสวนต้นตอ โดยไม่ทิ้งประเด็นนี้ ส่งผลให้ทุกสายตากำลังจับจ้องไปที่ห้องแล็บจีน
Fri, 28 May 2021 - 25min - 119 - บทบาทสหรัฐต่อปัญหาอิสราเอล-ปาเลสไตน์ | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP22
ปัญหาระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ไม่ได้เป็นเพียงความขัดแย้งระหว่างความเชื่อและศาสนาเท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยบริบททางการเมือง นานาชาติทราบดีว่าสหรัฐฯ และอิสราเอลมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นและยาวนาน แต่จุดเริ่มต้นของมิตรภาพนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? ส่วนหนึ่งมาจากการที่คนสหรัฐฯ เชื้อชาติยิวมีอิทธิพลในสังคม พวกเขามีเงินและอำนาจส่งผลให้นโยบายการต่างประเทศที่สหรัฐฯ ดำเนินต่ออิสราเอลจึงเป็นไปในทิศทางที่คนยิวในสหรัฐฯ พึงพอใจ
Sat, 22 May 2021 - 31min - 118 - ฮามาส-อิสราเอลหยุดยิงแล้วยังไงต่อ? | Podcast EP101
ทั้งฝ่ายอิสราเอลและฝ่ายฮามาสในฉนวนกาซาออกมาประกาศยอมรับข้อตกลงหยุดยิงที่ถูกเสนอโดยอียิปต์และกาตาร์ โดยข้อตกลงเริ่มบังคับใช้เมื่อเวลาตีสองตามเวลาท้องถิ่น ของวันที่ 21 พฤษภาคม สิ่งสำคัญต่อจากนี้คือหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจะทำอย่างไรให้ข้อตกลงหยุดยิงมีเสถียรภาพ รวมถึงแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่แท้จริงระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ที่เหตุบุกมัสยิดอัล-อักซอเป็นเพียงแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น
Fri, 21 May 2021 - 24min - 117 - สงครามบนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ | Podcast ตัวต่อตัว EP 15
นครเยรูซาเลมคือนครศักดิ์สิทธิ์ ที่ทั้งชาวยิวและชาวปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ความรุนแรงปะทุขึ้นอีกครั้งในเมืองแห่งนี้ และแน่นอนว่าไม่ใช่ครั้งแรก ความขัดแย้งล่าสุดมีจุดเริ่มต้นจากหลายปัจจัย ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ศรัทธา บริบททางการเมือง แต่ภาพของการปราบปรามชาวมุสลิมในมัสยิดอัล-อักซอ ตลอดจนการยิงจรวดใส่กันเป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ลึกลงไปยังมีเรื่องราวของผู้ที่ถูกกดขี่จากความพยายามยึดคืนดินแดน
Sat, 15 May 2021 - 33min - 116 - ยิว-ปาเลสไตน์ ใครยึดดินแดนใคร?| Podcast EP 100
การปราบปรามผู้แสวงบุญในมัสยิดอัล-อักซอเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งยังมีอีกเหตุผลที่จุดชนวนความขัดแย้งครั้งใหม่ระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ อันที่จริงในช่วงเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา ชาวปาเลสไตน์มีการประท้วงอยู่แล้วโดยเป็นการประท้วงการก่อตั้งถิ่นฐานของคนอิสราเอล คนที่กำลังจะถูกไล่มีอย่างน้อย 6 ครอบครัว พวกเขาอาศัยอยู่ในเขตเชคจาร์ราห์ ในเยรูซาเลมตะวันออก ชาวยิวฟ้องร้องศาล โดยระบุว่าที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ของอิสราเอล และอ้างว่าบ้านที่ครอบครัวเหล่านี้อยู่สร้างโดยชาวยิวมาตั้งแต่ก่อนปี 1948 กรณีที่เกิดขึ้นกับครอบครัวในเขตเชคจาร์ราห์คือส่วนหนึ่งของมหากาพย์ เพราะแทบทุกครั้งที่ข่าวความขัดแย้งระหว่างสองชนชาตินี้จะมาพร้อมกับคำว่า “ตั้งถิ่นฐาน” มันคืออะไร และชาวยิวทำอย่างไรบ้างในการยึดครอง?
Fri, 14 May 2021 - 24min - 115 - ย้ายไปประเทศไหนดี? | Podcast ตัวต่อตัว EP 14
นาทีนี้กระแสย้ายประเทศกำลังมาแรงสุดๆ แล้วแบบนี้พี่นาและลิตเติ้ลจะอยากไปที่ไหน? สวัสดิการ ธรรมชาติ ตลอดจนสภาพอากาศ เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของเหตุผลร้อยแปดที่จูงใจให้คนอยากย้ายประเทศ ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาการที่คนหนุ่มสาวอยากจะไปเติบโตยังประเทศอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่
Sat, 08 May 2021 - 32min - 114 - ทำไมฉีดวัคซีนแล้วยังติดเชื้อโควิด? | Podcat ตัวต่อตัว EP13
โควิดระลอกใหม่กลับมาอีกแล้ว และเป็นระลอกที่ในบรรดาผู้ติดเชื้อใหม่มีคนที่ได้รับวัคซีนโดสแรกไปแล้วปะปนอยู่ด้วย นำมาสู่คำถามใหญ่ในสังคม ว่าเหตุใดจึงยังพบเชื้อได้? เพราะวัคซีนไม่ได้มาตรฐาน หรือเพราะยังไม่มีวัคซีนในอุดมคติ
Sun, 11 Apr 2021 - 21min - 113 - ศึกชิงบัลลังก์จอร์แดน | Podcast EP98
นับเป็นครั้งแรกที่ความขัดแย้งในราชวงศ์จอร์แดนปรากฏสู่สายตาโลก วันเสาร์ที่ผ่านมา มีวิดีโอลับเผยภาพเจ้าชายฮัมซา ซึ่งระบุว่า ขณะนี้พระองค์กำลังถูกคุมขังในวัง จากความผิดโทษฐานสมคบคิดเตรียมก่อรัฐประหาร จอร์แดนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในตะวันออกกลาง ข่าวดังกล่าวจึงสร้างความประหลาดใจ ต้นตอของแผนรัฐประหารคืออะไร?
Fri, 09 Apr 2021 - 18min - 112 - บาดแผลฝังลึกจากสงคราม พยัคฆ์ทมิฬอีแลม | Podcat EP 99
กองทุนการเงินระหว่างประเทศระบุว่า ศรีลังกาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียใต้ หลังจากสิ้นสุดสงครามกลางเมือง กรุงโคลอมโบและพื้นที่ทางภาคใต้ก้าวเข้าสู่การฟื้นฟูและพัฒนา เม็ดเงินลงทุนหลั่งไหลเข้ามา แต่กับดินแดนทางเหนือที่กองกำลังพยัคฆ์ทมิฬอีแลมเคยครอบครอง รายได้ที่เป็นตัวเงินเฉลี่ยมาถึงที่นี่น้อยนิดเต็มที และบางแห่งก็ยังไม่ปลอดภัยสำหรับอยู่อาศัยและทำมาหากิน ในช่วงของสงครามกลางเมือง มีการวางระเบิดไว้มากมาย โดยเฉพาะในสมรภูมิท้ายๆที่สำคัญอย่างเช่นที่เมืองมุลไลติวู หญิงหม้ายที่สามีตาย หรือสาบสูญไปในช่วงสงครามการเมือง มีทางเลือกในการดำรงชีพไม่มากนัก หนึ่งในงานที่พวกเธอทำเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพ คือเป็นแนวหน้า เสี่ยงชีวิตในการกู้ระเบิด
Mon, 05 Apr 2021 - 16min - 111 - รอยแผลจากสงคราม พยัคฆ์ทมิฬ | Podcast EP97
สงครามระหว่างคนสองเชื้อชาติในศรีลังกาเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานและรุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเกือบ 30 ปีของการสู้รบยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐบาลเป็นชัยชนะที่ราคาแพงแสนแพง ผู้เสียชีวิตในสงครามนี้มีทั้งทหารและพลเรือนราวหนึ่งแสนคนมีผู้สูญหายไม่ทราบชะตากรรมอีกกว่า 65,000 คน ล่าสุดทางคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาติได้มีมติให้ทบทวนเรื่องสิทธิมนุษยชนในศรีลังกา แม้ว่าสงครามจะยุติมาได้ 10 กว่าปีแล้ว แต่บาดแผลนั้นเรื้อรัง อยู่ลึกและเลือดยังซึมอยู่เสมอ
Mon, 29 Mar 2021 - 18min - 110 - “ทหารเมียนมา” ผู้พิทักษ์หรือผู้ทำลาย | Podcast ตัวต่อตัว EP12
พวกเขาสถาปนาตนเองว่าเป็นผู้พิทักษ์ความสงบเรียบร้อย ผู้ปกปักษ์รักษาชาติจากภัยอันตราย แต่ภาพของการปราบปรามผู้ประท้วงชาวเมียนมาบนท้องถนนอย่างรุนแรงและเลือดเย็น นำมาสู่คำถาม อะไรที่ทำให้ผู้พิทักษ์ประเทศเข่นฆ่าคนในชาติเดียวกันได้ลง? ไม่ใช่ประชาชน ไม่ใช่ประชาธิปไตย ทหารกำลังปกป้องอะไร?
Sat, 27 Mar 2021 - 32min - 109 - วิบากกรรมคลองสุเอซ | Podcast EP96
เหตุเรือยักษ์ Ever Given เกยตื้นขวางกลางคลองสุเอซ ส่งผลให้บรรดาเรือสินค้าที่ต้องผ่านเส้นทางนั้น ต้องเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งซึ่งจะทำให้แผนการเดินทางล่าช้าไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เป็นวิกฤตที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญกำลังร่วมกันหาทางออก ว่าจะทำอย่างไรในการขยับเรือน้ำหนักมากกว่า 2 แสนตัน ร่วมย้อนอีกหนึ่งวิกฤตที่เคยเกิดขึ้นกับคลองสุเอซเมื่อในอดีตคลองที่มนุษย์สร้างนี้ถูกชาติมหาอำนาจแก่งแย่งจนนำไปสู่การปะทะ
Fri, 26 Mar 2021 - 24min - 108 - ธุรกิจ JK ในญี่ปุ่น | Podcast EP95
ไอดอลคือหนึ่งในวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่กำลังเฟื่องฟู มีวงไอดอลเกิดขึ้นมากมาย ทั้งที่มีชื่อเสียง พบเห็นได้ตามสื่อใหญ่ ๆ ไอดอลใต้ดิน ไอดอลประจำจังหวัดและเมือง เกือบทั้งหมดเป็นเด็กสาวที่ยังอยู่ในวัยมัธยม การทำมาหากินกับภาพลักษณ์และตัวตนของเด็กสาวมัธยมไม่ใช่เรื่องใหม่แต่มันเฟื่องฟูในญี่ปุ่นมาตั้งแต่ยุค 90 แล้ว ในเวลาดึกดื่นค่ำคืน เด็กสาววัยนี้ในหลายสังคมอาจอยู่ที่บ้านแล้ว หรือไม่ก็ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนและครอบครัว แทนที่จะทำงานบริการลูกค้าที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายวัยทำงานหรือวัยกลางคน แต่สำหรับพวกเธอ นี่คือการทำตามความใฝ่ฝัน
Mon, 22 Mar 2021 - 17min - 107 - 10 ปี สงครามซีเรีย | Podcast ตัวต่อตัว EP11
ถ้าเด็กชาวซีเรียคนหนึ่งเกิดหลัง 15 มีนาคม ปี 2011 วันนี้เด็กคนดังกล่าวจะอายุ 10 ขวบ แต่น่าเศร้าที่เด็กคนนั้นจะไม่รู้จักซีเรียในมุมอื่น เว้นแต่สงครามและความตาย 10 ปีแล้วที่ซีเรียย่อยยับจากสงคราม จากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดี บาซาร์ อัล-อัสซาด วันนี้มันขยายลุกลามกลายมาเป็นสงครามตัวแทนที่มีนานาชาติเข้ามาเกี่ยวพัน นอกจากคร่าชีวิตผู้คนไป 700,000 คน ความขัดแย้งยังก่อกำเนิดคลื่นผู้อพยพอีกหลายล้านคน กระจัดกระจายไปในค่ายของประเทศเพื่อนบ้าน บ้างดั้นด้นเข้าไปในยุโรป จุดเริ่มต้นมาจากอะไรและวิกฤตนี้มีทางออกหรือไม่?
Sat, 20 Mar 2021 - 45min - 106 - ชาติพันธุ์เมียนมาเปิดหน้าสู้ | Podcast EP94
เมียนมาประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ถึง 135 ชาติพันธุ์ และการจะมองอนาคตของเมียนมา จำเป็นต้องพิจารณาบทบาทของบรรดาชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ด้วย หลังรัฐประหาร บทบาทของกลุ่มชาติพันธุ์กำลังเริ่มปรากฏแจ่มชัดขึ้น เมื่อหลายฝ่ายเริ่มออกมาต่อต้านกองทัพเมียนมา รวมไปถึงการจับอาวุธลุกขึ้นสู้กับกองทัพ ขณะนี้พวกเขากำลังกลายมาเป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญท่ามกลางรัฐประหาร เมื่อฝ่ายกองทัพและรัฐบาลพลเรือนเองต่างต้องการเสียงสนับสนุนของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้
Fri, 19 Mar 2021 - 32min - 105 - กบฏโคลอมเบีย สันติภาพที่ยังไม่มาถึง | Podcast EP93
ช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลโคลอมเบียพยายามสร้างข้อตกลงยุติความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนาน เป็นความขัดแย้งกับกลุ่มกบฏที่มีมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น มาวันนี้ความสงบเริ่มคืนกลับมา แต่หนทางสู่สันติภาพถาวรไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะมีการลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลโคลอมเบียและกลุ่มกบฏ แต่อดีตกบฏหลายคนก็ปรับตัวไม่ได้เมื่อต้องมาใช้ชีวิตนอกป่า ประกอบอาชีพอย่างคนธรรมดา
Mon, 15 Mar 2021 - 17min - 104 - รวันดาหลุดพ้นจากรัฐล้มเหลว | Podcast ตัวต่อตัว EP10
สถานการณ์ความวุ่นวายในเมียนมาสร้างความกังวลให้กับหลายฝ่ายว่าบทสรุปของรัฐประหารครั้งนี้อาจลงเอยด้วยสถานะ “รัฐล้มเหลว” เข้าแล้วออกยากคือนิยาม เพราะจากการจัดอันดับของกองทุนเพื่อสันติภาพจะเห็นว่ารายชื่อประเทศที่มีความมั่นคงน้อยที่สุด 10 อันดับของโลก มักเป็นชื่อประเทศซ้ำๆตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามมีประเทศหนึ่งที่สามารถหลุดพ้นจากชะตากรรมนี้และปัจจุบันกำลังผงาดขึ้นเรื่อยๆ ในทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี นั่นคือ“รวันดา”
Sat, 13 Mar 2021 - 41min - 103 - ดราม่าราชวงศ์อังกฤษ | Podcast EP92
บทสัมภาษณ์ที่เจ้าชายแฮร์รี่และเมแกน ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกส์ได้ประทานให้กับโอปรา วินฟรีย์ ผ่านทางช่อง CBS ของสหรัฐฯ ถูกสื่อเปรียบเทียบว่าราวกับการทิ้งระเบิดใส่ราชวงศ์อังกฤษ เพราะเต็มไปด้วยหลายประเด็นดราม่า ตั้งแต่เรื่องค่าใช้จ่ายที่ปรับลดงบประมาณลง แรงกดดันที่ทำให้เมแกนเคยคิดฆ่าตัวตาย ไปจนถึงการเหยียดสีผิวอาร์ชี โอรสของเมแกน ด้านปฏิกิริยาตอบกลับก็ร้อนแรง เพราะในสังคมมีทั้งฝ่ายที่เห็นใจและไม่เห็นด้วยกับการออกมาสัมภาษณ์ของทั้งสองพระองค์
Fri, 12 Mar 2021 - 26min - 102 - ขยะพลาสติกท่วมโลก | Podcast EP91
มนุษย์เราสร้างขยะให้แก่โลกเป็นจำนวนมากถึง 2,120 ล้านตันในแต่ละปี มากบ้าง น้อยบ้าง ลดหลั่นกันไปตามการบริโภคของประชากรในประเทศ การจัดการปัญหาขยะคือหนึ่งในดัชนีชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะด้วยวิธีรีไซเคิล เผา หรือฝังกลบ หลายประเทศในอาเซียนกำลังกลายเป็นถังขยะใบใหญ่ให้แก่ประเทศพัฒนาแล้ว ค่าแรงที่ต่ำและข้อกฎหมายอันหละหลวมเปิดช่องให้ขยะผิดกฎหมายมากมายเดินทางมาถึง โดยเฉพาะขยะพลาสติก
Mon, 08 Mar 2021 - 18min - 101 - เปิดคุกโหดที่ใช้ขังศัตรูปูติน | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP9
Penal Colony หมายเลข 2 ตั้งอยู่ในเมืองโปครอฟ เมืองเล็กๆ ที่ห่างจากกรุงมอสโกราว 96 กิโลเมตรไปทางตะวันออก เรือนจำแห่งนี้ได้ชื่อว่ามีกฎระเบียบเข้มงวดที่สุด นักโทษจะไม่มีอิสระแม้แต่ก้าวเดียว ไม่มีเวลาส่วนตัวใดๆ ไม่รับรู้โลกภายนอก ทุกการกระทำจะถูกควบคุมและจับตามองจากผู้คุมตลอดเวลา และที่สำคัญคือนักโทษมีกฎว่า “ห้ามพูด” ปราศจากการตรวจสอบ ทั้งยังซ่อนเร้นจากการรับรู้ของผู้คน นับจากนี้ชะตากรรมของศัตรูปูตินจะเป็นอย่างไร?
Sat, 06 Mar 2021 - 36min - 100 - ใครคือมิตรสหายใหม่ของทหารเมียนมา? | Podcast EP90
เมื่อพูดถึงมหามิตรของเมียนมาขณะนี้หลายคนอาจนึกถึงจีนแต่อันที่จริงอีกชาติหนึ่งที่ประชาคมโลกกำลังจับตาท่าทีก็คือรัสเซีย สำหรับพลเอกมินอ่องหล่ายตัวเขาผูกพันและพยายามเชื่อมความสัมพันธ์กับรัสเซียมานานตั้งแต่การส่งทหารไปฝึกรบจนถึงการซื้ออาวุธต่างๆ สหายใหม่รายนี้ยิ่งจะทำให้ความพยายามในการกดดันของสหรัฐฯที่เรียกร้องประชาธิปไตยยากเข้าไปอีกขั้น
Fri, 05 Mar 2021 - 22min - 99 - Fast Fashion อุตสาหกรรมทำลายโลก | Podcast EP89
ช่วงปี 1990 อุตสาหกรรมหนึ่งที่มาแรงคือ อุตสาหกรรม Fast Fashion ‘Fast Fashion’ คือการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปตามกระแสนิยมในราคาที่ไม่แพงมาก เป็นแฟชั่นวงจรสั้นๆเพื่อเน้นการขายในปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว ในแต่ละปี Fast Fashion ผลิตเสื้อผ้า 8 แสนล้านตัน เพื่อตอบสนองความต้องการ แต่เสื้อผ้าจำนวนมากถูกใช้ไม่กี่ครั้ง และลงเอยด้วยการถูกโยนทิ้ง อุตสาหกรรม Fast Fashion ถูกตั้งคำถามถึงความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากร ทั้งในรูปแบบทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์
Sun, 28 Feb 2021 - 17min - 98 - “อิสราเอล” ชาติแรกที่รอดโควิด | Podcast ตัวต่อตัว กับ กรุณา EP8
ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา “ยิว”คือชนชาติที่ถูกกดขี่ข่มเหงและต้องระเห็จระเหินมานานหลายชั่วอายุคนเริ่มตั้งแต่การตกเป็นทาสของชาวอียิปต์ แม้จะต่อสู้จนมีอาณาจักรของตนเอง แต่อิสรภาพก็มีอายุไม่นาน เนื่องจากดินแดนของพวกเขาตั้งอยู่ตรงจุดเชื่อมต่อของสามทวีป ส่งผลให้เผชิญกับการคุกคามโดยอาณาจักรอื่นๆ มากมาย รุนแรงที่สุดคือสมัยที่อาณาจักรของยิวถูกชาวโรมันรุกราน ผู้คนถูกจับไปขายเป็นทาสและเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย ชาวยิวก็กระจัดกระจายไปทั่วยุโรป ข้ามมายุคกลาง ชาวยิวมักเป็นที่รังเกียจและตกเป็นแพะรับบาปบ่อยๆจากความต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม และเมื่อโลกเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ชาวยิวคือเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันแม้จะมีประเทศเป็นของตนเองแล้วแต่ก็รายล้อมด้วยชาติศัตรูอย่างอาหรับเหล่านี้คือแรงขับให้ชาวอิสราเอลพัฒนาตนเอง โดยมีเป้าหมายที่จะให้เผ่าพันธุ์อยู่รอดและล่าสุด อิสราเอล กลายมาเป็นประเทศเดียวที่กำลังจะรอดพ้นจากโควิด หลังกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ความเสี่ยงที่คนจะติดเชื้อลดลงถึงร้อยละ 95.8หัวใจหลักของความสำเร็จมาจากการทุ่มเททรัพยากรมนุษย์ โดยมีกองทัพอยู่เบื้องหลัง
Sat, 27 Feb 2021 - 39min - 97 - รัฐประหารเมียนมา อาเซียนจะยุ่งหรือไม่ยุ่งดี? | Podcast EP88
ชาติสมาชิกอาเซียนยึดหลักร่วมกันว่า แต่ละประเทศจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน ทำให้ท่ามกลางเสียงประณามจากชาติตะวันตกต่อการทำรัฐประหารของกองทัพเมียนมา หลายประเทศแถบนี้จึงยังไม่แสดงท่าทีมากนัก แต่บนโลกสมัยใหม่ที่เผด็จการทหารยากจะยอมรับอาเซียนจะอดกลั้นไม่แสดงออกได้หรือไม่?โดยเฉพาะเมื่อขณะนี้ทางกองทัพเองใช้กำลังเข้าปราบปรามจนมีผู้เสียชีวิตแล้ว ล่าสุดอินโดนีเซียกำลังระดมความร่วมมือ โดยมุ่งหวังว่าในที่สุดแล้ววิกฤตนี้อาจมีทางออก
Fri, 26 Feb 2021 - 24min - 96 - “แฮนยอ” นางเงือกแห่งเกาะเจจู | Podcast EP87
บนบกพวกเธอคือหญิงชราผมสีเทา เนื้อหนังหย่อนคล้อย แต่ในท้องทะเล พวกเธอปราดเปรียว คล่องแคล่วราวกับเงือก จับสัตว์น้ำด้วยความชำนาญและดำน้ำอึดอย่างเหลือเชื่อ พวกเธอคือ “แฮนยอ” ผู้หญิงแห่งท้องทะเล ที่เกาะเจจู อาชีพที่สืบทอดกันมาในกลุ่มผู้หญิงที่นี่มากว่า 2,000 ปี . แฮ-นยอบางคนอายุมากถึง 80 ปี เป็นวัยที่สมควรจะได้พักผ่อนอยู่กับบ้านแล้ว แต่พวกเธอยังคงกลั้นหายใจแหวกว่ายใต้น้ำเพื่อทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่ ไม่มากก็น้อย แฮ- นยอ อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนที่กำลังทดท้อกับวัยที่ล่วงไป อายุมากแค่ไหนก็ไม่ใช่อุปสรรค หากว่ายังหายใจได้
Mon, 22 Feb 2021 - 17min - 95 - อีโบลากลับมาแล้ว! | Podcast ตัวต่อตัว กับ กรุณา EP7
นอกจากไวรัสโควิด-19 ขณะนี้ไวรัสอีโบลากำลังกลับมาระบาดในทวีปแอฟริกา โดยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประเทศดีอาร์คองโกประกาศว่าพบกับการระบาดของอีโบลาอีกครั้ง หลังเพิ่งจะประกาศว่าไวรัสยุติการระบาดไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วหมาดๆ ล่าสุดกินี เป็นอีกประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการว่า กำลังเผชิญกับการระบาดของไวรัสอีโบลาเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่การระบาดครั้งใหญ่เมื่อปี 2013 - 2016 อีโบลากลับมาได้อย่างไรและเหตุใดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไวรัสนี้จึงไม่เคยถูกกำจัดอย่างสิ้นซาก?
Sat, 20 Feb 2021 - 30min - 94 - โลกร้อนทำเท็กซัสหนาวสุดในรอบร้อยปี! | Podcast EP86
ขณะนี้พื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกของรัฐเท็กซัสกำลังเผชิญกับสภาพอากาศหนาวรุนแรงที่สุดในรอบร้อยปี พายุหิมะเป็นเรื่องปกติสำหรับตอนกลางและตอนเหนือของสหรัฐฯแต่ไม่ใช่สำหรับเท็กซัสที่อยู่ทางใต้ เนื่องจากปกติแล้วที่นี่ในหน้าหนาวอาจมีหิมะตกบ้าง แต่ไม่ถึงกับอุณหภูมิติดลบ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนปรับตัวไม่ทัน ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคอย่างไฟฟ้าและน้ำประปาเองก็ไม่สามารถทำงานภายใต้ความหนาวรุนแรงได้
Fri, 19 Feb 2021 - 21min - 93 - “อีโบลา” ไวรัสมรณะ | Podcast EP85
แม้องค์การอนามัยโลกจะประกาศให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในดีอาร์คองโก สิ้นสุดอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว หลังใช้ควบคุมนานประมาณ 2 ปี แต่ล่าสุด พบผู้เสียชีวิตจากอีโบลาในดีอาร์ คองโก ทำไมอีโบลา จึงเป็นไวรัสมรณะ แม้เชื้อจะไม่ได้แพร่ผ่านละอองฝอยเหมือนโควิด-19 แพร่กระจายเชื้อได้ไม่เป็นวงกว้าง แต่กลับทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการรุนแรง เมื่อปี 2019 อีโบลาระบาดรุนแรงในดีอาร์ คองโก นอกเหนือจากการทำงานของไวรัสแล้ว อีกส่วนสำคัญยังมาจากความรุนแรงในพื้นที่ และความเชื่อผิดๆ ที่ทำให้การปราบปรามอีโบลาเต็มไปด้วยความซับซ้อน
Mon, 15 Feb 2021 - 17min - 92 - ล้อเลียนเผด็จการ (พม่า) | Podcast ตัวต่อตัว กับ กรุณา EP6
การประท้วงต่อต้านรัฐประหารกำลังเกิดขึ้น แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน เพราะเต็มไปด้วยอารมณ์ขันจากบรรดาคนรุ่นใหม่ที่พากันล้อเลียนและลดทอนความน่ากลัวของทหาร อย่างการวิจารณ์ความสูงของพลเอกมิน อ่อง หล่าย เป็นหนึ่งในอารยะขัดขืนที่ชาวเมียนมาใช้ เพื่อทวงคืนประชาธิปไตย ในขณะเดียวกันก็เรียกร้องความสนใจจากประชาคมโลก
Sat, 13 Feb 2021 - 28min - 91 - LGBT ในเมียนมา ชีวิตที่ถูกเลือกปฏิบัติ | Podcast EP84
ลำพังต้องอยู่ใต้การปกครองของทหารก็ว่ายากแล้ว แต่ชีวิตของชาว LGBT ในเมียนมายากลำบากไปอีกขั้น สถานะของเพศที่ 3 เข้าข่ายผิดกฎหมาย ซ้ำร้ายยังถูกซ้ำเติมด้วยวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ และความเชื่อดั้งเดิมที่ให้คุณค่าผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ถูกกลั่นแกล้งจากผู้คน และถูกรีดไถเงินจากเจ้าหน้าที่รัฐเหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้พวกเขาไม่อยากจะเปิดเผยตัวตน
Fri, 12 Feb 2021 - 20min - 90 - เผยโฉมศัตรูปูตินและวังลับราคาหมื่นล้าน | Podcast ตัวต่อตัว กับ กรุณา EP5
ปูตินกำลังเผชิญกับการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี เป็นการประท้วงที่มีจุดเริ่มต้นจากอเล็กซี นาวัลนี เขาเป็นใคร? เหตุใดจึงจุดกระแสให้ชาวรัสเซียออกมาชุมนุมกันมืดฟ้ามัวดิน และมีอะไรอยู่ในวิดีโอที่นาวัลนีปล่อยออกมาแฉประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ ขณะนี้ผู้คนโกรธที่ปูตินเอาเงินภาษีของพวกเขาไปสร้างวังหรูอยู่สบาย และคาดกันว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
Tue, 09 Feb 2021 - 32min - 89 - ธุรกิจเส้นผมเมียนมา “สลวย นุ่ม ดำขลับ" | Podcast EP83
"เส้นผม" สิ่งที่ถูกผูกโยงไว้กับพุทธศาสนาและตัวตนของความเป็นผู้หญิงชาวเมียนมาได้กลายเป็นสินค้าอีกอย่างที่มาแรงและกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ด้วยคุณลักษณะตามต้องการ ผมเมียนมาดำขลับแต่ไม่หนาเกินแบบผมคนอินเดีย ในขณะเดียวกันก็นุ่มสลวยกำลังดี ส่งผลให้เมียนมากลายเป็นอีกประเทศที่ส่งออกเส้นผมมากที่สุด
Sun, 07 Feb 2021 - 20min - 88 - อองซาน ซูจี ในความทรงจำ | Podcast EP82
รัฐประหารในเมียนมาที่เกิดขึ้นล่าสุดทำให้ผู้คนหันมามองบทบาทของนางอองซาน ซูจีอีกครั้ง จากอดีตฮีโร่ผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สู่ผู้นำทางการเมืองซึ่งเป็นความหวัง แต่กลับลงเอยด้วยความผิดหวังของผู้คนมากมายจากกรณีเพิกเฉยต่อการประหัตประหารชาวโรฮิงญา อย่างไรก็ตามกระแสต่อต้านและเรียกร้องให้ปล่อยตัวซูจีทั้งในและนอกประเทศขณะนี้ก็บ่งชี้ว่า ผู้คนมากมายยังคงรักและเทิดทูนเธอ
Fri, 05 Feb 2021 - 25min - 87 - เตรียมพร้อมรับวันสิ้นโลก | Podcast EP81
สงครามภัยพิบัติโรคระบาดอาวุธนิวเคลียร์หรือการรุกรานจากต่างดาวสิ่งเหล่านี้อาจดูเหมือนเกิดขึ้นแค่ในภาพยนตร์ แต่สำหรับใครหลายคนพวกเขาเชื่อว่าในวันหนึ่งมันจะเกิดขึ้นจริง เมื่ออนาคตเต็มไปด้วยความไม่มั่นคง สิ่งที่พอทำได้ในปัจจุบันคือการเตรียมตัวรับมือ
Mon, 01 Feb 2021 - 14min - 86 - ไม่ง่ายที่จะเป็น “สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง” | Podcast ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP4
มีคำกล่าวไว้ว่า “ในเบื้องหน้าความสำเร็จของบุรุษ มักมีสตรีอยู่เบื้องหลัง” นั่นทำให้เมื่อ โจ ไบเดน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯสปอตไลท์จึงมิวายส่องไปยังจิล ไบเดน ผู้เป็นภรรยาด้วย ในอดีตหน้าที่หลักของสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคือ การสนับสนุนสามีแต่เมื่อโลกเข้าสู่ยุคแห่งความเท่าเทียม สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งจึงมีบทบาทต่อสังคมมากขึ้นทั้งในด้านการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ ไปจนถึงวัฒนธรรมและการเมือง
Sun, 31 Jan 2021 - 31min - 85 - “เอเลนอร์ รูสเวลต์” สตรีในดวงใจอเมริกัน | Podcast EP80
ถ้าพูดถึงสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งในดวงใจของชาวสหรัฐฯ ต้องมีชื่อของ “เอเลนอร์รูสเวลต์” อยู่ด้วย เพราะไม่เพียงเดินสายช่วยเหลือคนยากจนและบรรดาทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงครามโลก เแต่เธอยังวางรากฐานของผู้หญิงยุคใหม่ ว่าการเป็นภรรยานั้นไม่จำเป็นต้องทำหน้าที่ดูแลบ้านและสามีเพียงอย่างเดียว
Fri, 29 Jan 2021 - 14min - 84 - คนไร้บ้านในอังกฤษ | Podcast EP79
ยิ่งเมืองเจริญ ก็ยิ่งมีคนไร้บ้าน และสำหรับสหราชอาณาจักร คนไร้บ้านที่นี่ไม่ใช่ชาวต่างชาติหากเป็นประชากรของประเทศเองที่เผชิญกับปัญหาต่างกันไป ปัญหาดังกล่าวทำให้รัฐบาลอังกฤษเตรียมจัดสรรงบประมาณกว่าพันล้านปอนด์เพื่อแก้ไข แต่ไม่ง่ายเพราะที่นี่มีคนไร้บ้านด้วยความจำใจและด้วยความตั้งใจ
Sun, 24 Jan 2021 - 15min - 83 - อินเดียกำลังใช้วัคซีนขยายอำนาจ | Podcast EP78
เมื่อพูดถึงอินเดีย ใครหลายคนอาจคิดถึงอาหาร แหล่งท่องเที่ยว หรือวัวตามท้องถนนมากกว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ แต่อันที่จริงประเทศนี้คือแหล่งผลิตวัคซีนแหล่งสำคัญของโลก เพราะร้อยละ 60ของวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคมาจากที่นี่ และขณะนี้ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19วัคซีนคือเครื่องมือสำคัญที่ชาติมหาอำนาจใช้ในการแผ่อิทธิพลตลอดจนแสวงหาพันธมิตรใหม่
Sat, 23 Jan 2021 - 17min - 82 - กลับไม่ได้ไปไม่ถึง ชะตากรรมผู้อพยพ | Podcast ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP3
ที่กัวเตมาลา เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้อพยพจากอเมริกากลางและเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น โดยเจ้าหน้าที่ได้ใช้กระบองและแก๊สน้ำตา ผลักดันให้บรรดาผู้อพยพถอยร่นกลับไป พวกเขาเป็นใคร มาจากไหน? และทำไมเจ้าหน้าที่กัวเตมาลาจึงขับไล่พวกเขากลับอย่างรุนแรง คลื่นผู้อพยพที่เชื่อกันว่ามีมากกว่า 3,000 คนนี้ถูกเรียกว่า “คาราวาน” ส่วนใหญ่มาจากฮอนดูรัสและเอลซัลวาดอร์ ประเทศเล็กๆ ในอเมริกากลาง พวกเขาหลีกหนีความยากจน บ้างหนีความรุนแรงจากอาชญากรรมและยาเสพติด โดยมีเป้าหมายคือสหรัฐอเมริกา คาราวานกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มแรกของปี 2021 หลายคนเล่าว่าพวกเขาหนีผลกระทบจากเฮอร์ริเคนที่พัดถล่มฮอนดูรัสเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา รวมถึงมาตรการล็อคดาวน์ที่กำลังทำให้ผู้คนจำนวนมากอดตาย
Fri, 22 Jan 2021 - 25min - 81 - สาวขายหมากไต้หวัน วัฒนธรรมก่อมะเร็ง | Podcast EP77
“ปิงหลางซีซือ” หมายถึงหญิงสาวที่มีอาชีพขายหมากตามริมถนน โดยเธอจะปรากฏตัวในชุดนุ่งน้อยห่มน้อย เน้นเรือนร่างเพื่อดึงดูดการขาย แต่ปัจจุบันอาชีพนี้กำลังหดหาย ปัญหาใหญ่มาจากความนิยมเคี้ยวหมากที่ลดลง ประกอบกับหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุว่า หมากคือสาเหตุของการเกิดมะเร็งในช่องปาก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทั้งสาวขายหมากและชาวสวนหมากจะทำอย่างไร?
Sun, 17 Jan 2021 - 16min - 80 - “บุกสภาสหรัฐฯ” อเมริกามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP8
"โกลาหล น่าอับอาย ตลอดจนน่าเศร้าอย่างที่สุด" คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจใครหลายคนต่อเหตุการณ์บุกรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6มกราคมที่ผ่านมา เป็นผลพวงมาจากความโกรธแค้นของบรรดาผู้สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ที่เชื่อในแนวคิดแตกต่างกันไป ตั้งแต่เชื่อว่ามีการโกงเลือกตั้งอย่างกว้างขวางไปจนถึงเชื่อว่าทรัมป์กำลังพิทักษ์สหรัฐฯ จากลัทธิค้ามนุษย์ชุมชนของคนที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดกำลังขยายใหญ่ขึ้นสะท้อนสังคมอเมริกันที่กำลังย่ำแย่ใช่หรือไม่?
Fri, 15 Jan 2021 - 23min - 79 - “โดนัลด์ ทรัมป์” ปธน. คนที่ 3 ที่ถูกถอดถอน | Podcast EP76
ในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ มีผู้นำเพียง 3 คนที่ต้องเข้าสู่กระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่ง แต่ทั้งหมดยังไม่มีใครถูกถอดถอนสำเร็จ หากโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกถอดถอนอีกครั้งจากการปลุกม็อบบุกเข้ารัฐสภา เขาจะกลายเป็นผู้นำคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ถูกถอดถอนถึง 2 ครั้ง และหากผ่านมติของวุฒิสภา ทรัมป์จะกลายเป็นคนแรกที่ถูกสภาคองเกรสถอดออกจากตำแหน่งสำเร็จ
Fri, 15 Jan 2021 - 24min - 78 - “ทำแท้ง” สิทธิตัวอ่อนหรือสิทธิสตรี? | Podcast EP75
ประเด็นการทำแท้งคือเรื่องอ่อนไหวที่กฎหมายในแต่ละประเทศแตกต่างกันสุดขั้ว ตั้งแต่เสรีไปจนถึงมีโทษจำคุก เกาหลีใต้คืออีกประเทศที่ห้ามผู้หญิงทำแท้ง โดยก่อนหน้านี้ผู้หญิงที่ทำแท้งจะถูกจำคุกและถูกปรับเงินมากถึง 2 ล้านวอน หรือประมาณ 55,700 บาท เมษายน ปี 2020 ศาลรัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้ตัดสินให้ยกเลิกกฎหมายแบนการทำแท้ง ทว่าปัจจุบันร่างกฎหมายใหม่ยังไม่ถูกพิจารณาในสภา ที่ท้าทายกว่าคือค่านิยมของสังคมเอง ผู้หญิงเกาหลีใต้จะเผชิญกับการดูถูกเหยียดหยาม หากเธอเลือกเส้นทางนี้
Sun, 10 Jan 2021 - 16min - 77 - “Disease X” โรคใหม่ร้ายกว่าโควิด! | Podcast EP74
2021 อาจเลวร้ายกว่า 2020 เพราะไม่ใช่แค่โควิด-19 แต่อาจมีโรคระบาดใหม่มาเพิ่ม ขณะนี้ทีมแพทย์ในดีอาร์คองโกกำลังเผชิญกับความน่าหวาดหวั่น เมื่อผู้ป่วยที่พวกเขารักษาอาจเป็นคนไข้หมายเลขศูนย์ของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ มันคือเชื้อไวรัสอะไร มาจากที่ไหน? นี่คือเรื่องราวของการค้นพบที่ไม่มีใครต้องการ
Fri, 08 Jan 2021 - 19min - 76 - Sugar Baby สัมพันธ์ลับกับเงินตรา Part 2 | Podcast EP73
ชีวิตของ Sugar Baby ดูสวยหรู สุขสบาย เพียบพร้อม แต่ในความเป็นจริงกว่าจะก้าวมาถึงจุดนี้ เขาและเธอต้องแลกกับอะไรบ้าง ในมาเลเซียความสัมพันธ์แบบ Sugar Baby ยังไม่ได้รับการยอมรับ นั่นทำให้หนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยที่เลือกเส้นทางนี้ ต้องปิดบังความสัมพันธ์นี้ไว้เป็นความลับ
Sun, 03 Jan 2021 - 18min - 75 - ไวรัสกลายพันธุ์! ผวาระบาดเร็วขึ้น | ตัวต่อตัว กับ กรุณา บัวคำศรี EP2
โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการกลายพันธุ์กำลังระบาดในสหราชอาณาจักรและล่าสุดแอฟริกาใต้และไนจีเรียก็มีรายงานพบการกลายพันธุ์ทำนองนี้เช่นกันอะไรที่ทำให้ไวรัสกลายพันธุ์? แล้ววัคซีนที่กำลังแจกจ่ายอยู่นี้จะป้องกันได้หรือไม่?
Mon, 28 Dec 2020 - 26min - 74 - Sugar Baby สัมพันธ์ลับกับเงินตรา Part1 | Podcast EP72
เด็กป๋า น้องหนู เสี่ยเลี้ยง จะคำไหนๆ ล้วนหมายถึง Sugar Baby ความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่ผูกพันคนสองคนไว้ด้วยข้อตกลงและเงินที่ต่างฝ่ายต่างพอใจ ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่บีบคั้นของมาเลเซีย การลืมตาอ้าปากทำได้ยากขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่บางคนเลือกหารายได้ด้วยการเป็น Sugar Baby ท่ามกลางคำถามทางศีลธรรม
Sun, 27 Dec 2020 - 18min - 73 - “สิงคโปร์” ดินแดนสีเขียว | Podcast EP71
ใครว่าต้นไม้กับเมืองอยู่ร่วมกันไม่ได้ สิงคโปร์คือตัวอย่างแม้มีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯ แต่ประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะเล็กๆแห่งนี้มีพื้นที่สีเขียวมากมาย คิดเป็นสัดส่วน 1 คนต่อ 16 ตารางเมตรในขณะที่ไทยสัดส่วนพื้นที่สีเขียวมีเพียง 1 คนต่อ 5 ตารางเมตรเท่านั้นความสำเร็จมาจากความรักและความใส่ใจในต้นไม้ ตลอดจนการมีกฎหมายปกป้อง
Sun, 20 Dec 2020 - 19min
Podcasts similares a เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี
Conversations ABC listen
Global News Podcast BBC World Service
หลงไปในประวัติศาสตร์ by หมอเอ้ว ชัชพล chatchapol
El Partidazo de COPE COPE
Herrera en COPE COPE
The Dan Bongino Show Cumulus Podcast Network | Dan Bongino
Es la Mañana de Federico esRadio
People You May Know FAROSE podcast
Mission To The Moon Mission To The Moon Media
Dateline NBC NBC News
เคาะข่าวค่ำ radio tonews
El Larguero SER Podcast
Nadie Sabe Nada SER Podcast
SER Historia SER Podcast
SONDHI TALK sondhitalk
TED Talks Daily TED
คุยให้คิด Thai PBS Podcast
THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
ข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ ภาคภาษาไทย 8:30–9:00 น. - วอย VOA
アンガールズのジャンピン[オールナイトニッポンPODCAST] ニッポン放送
辛坊治郎 ズーム そこまで言うか! ニッポン放送
飯田浩司のOK! Cozy up! Podcast ニッポン放送
吳淡如人生實用商學院 吳淡如
武田鉄矢・今朝の三枚おろし 文化放送PodcastQR