Filtrer par genre

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติ

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติ

พระอาจารย์สุชีพ สุธัมโม (พระกิตติวิมลเมธี)

เสียงบรรยายธรรมของพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) วัดบุปผารามวรวิหาร

787 - การปรับจิตเข้าสู่ฐาน วัดบุปผาราม วรวิหาร 27 เม.ย. 67
0:00 / 0:00
1x
  • 787 - การปรับจิตเข้าสู่ฐาน วัดบุปผาราม วรวิหาร 27 เม.ย. 67

    คอร์สเก็บบัลลังก์ 27-28 เมษายน 2567 ณ วัดบุปผาราม กทม. โดย พระกิตติวิมลเมธี (พระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดบุปผาราม วรวิหาร

    Sat, 27 Apr 2024 - 47min
  • 786 - สาระธรรมวันพระ วัดบุปผาราม วรวิหาร 23 เม.ย. 67

    เทศน์วันพระ โดย พระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดบุปผาราม วรวิหาร วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567

    พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า

    อสาเร สารมติโน             สาเร จาสารทสฺสิโน

    เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ         มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา

    ผู้ที่มองในสิ่งซึ่งไม่เป็นสาระว่ามีสาระ มองในสิ่งที่เป็นสาระว่ามีไม่มีสาระ คนเหล่านั้นจะอยู่กับความคิดผิดตลอดเวลา เวลาเรามองอะไรที่ไม่มีสาระหรือมันไร้สาระ อย่างที่เรามองเห็นคนอื่น ไม่ได้มองเห็นตัวเอง เรามองคนบางคนที่ทำในสิ่งที่ไร้สาระมาก อีกทั้งเป็นโทษกับตนเอง เป็นสิ่งซึ่งทำแล้วเป็นอุปสรรคต่อคนในครอบครัว ทำร้ายทั้งสุขภาพร่างกาย ชีวิตจิตใจ สังคม แต่เขาทำได้เฉยๆสบายๆ ถ้าเรายืนอยู่ข้างนอกเราก็มองเขาว่า ทำไมต้องไร้สาระอย่างนี้ ทำไมมองแบบนี้ เวลาเรามองเขา เราจะเห็นได้เลยว่า เขามองสิ่งซึ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ คือ ทำสิ่งซึ่งไม่เป็นสาระนั้นมาเป็นสาระของชีวิต เราก็กลับมาดูเราเอง แม้แต่ตัวเราเอง ดูด้วยใจที่เป็นกลาง มองไปที่ตัวของเราเองว่า ทุกวันนี้กิริยาชีวิตของเราตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ มีกิริยาชีวิตเกิดขึ้นเยอะมาก และดูเอาเถิดว่า กิริยาไหนที่ไม่เป็นสาระแต่เราก็ทำ หวังไว้ว่ามันจะเป็นสาระทั้งๆที่มันไม่เป็นสาระ เราก็ดูได้ กลับมาตรวจสอบตัวของเราว่า อะไรที่ไม่เป็นสาระแล้วเรายังเลือกทำอยู่ให้หยุดสิ่งนั้นไป

    ดูสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระก็เกิดขึ้นได้ เราจะเห็นว่าคนบางคน อะไรดีๆที่มี เช่น บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ บูรพาจารย์ สิ่งดีๆที่ท่านทำต่อเนื่องกันมาเรื่อยเป็นสาระ แต่พอมาถึงรุ่นเรา บางคนกลับมองว่าไม่เป็นสาระ ไม่ทำ ไม่เอาเยี่ยงอย่าง อย่างประเทศเรา บรรพบุรุษตั้งแต่การตั้งประเทศมาจนถึงบัดนี้ แน่นอนว่ามันก็มีสิ่งไม่ดีบ้างมีสิ่งดีบ้าง แต่สิ่งดีๆหลายอย่างที่ก่อตัวขึ้นมาจนเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ เช่น วันสงกรานต์ กำลังถูกมองว่าไม่เป็นสาระ เพราะว่าเข้าไปไม่ถึง นี่เรียกว่ามองสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ คือ อะไรดีๆที่มีอยู่แต่เดิมทิ้งไปหมด ประเพณีวัฒนธรรมของบ้านเราที่มีอยู่แต่เดิมนั้น ล้วนแต่เป็นการปลูกฝังคุณธรรม เช่น ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์สุจริต พอเราทำลายประเพณีวัฒนธรรมเหล่านี้ออกไปหมด ไม่ให้ค่า ไม่ให้ความสำคัญ ปรับเปลี่ยน แปรเปลี่ยนจากเป็นวัฒนธรรมที่ว่าส่งเสริมคุณธรรม กลับกลายเป็นความรื่นเริง บันเทิง สนุกสนาน เฮฮา แล้วก็เมากัน ดื่มกัน อันนี้เรียกว่าดูสิ่งที่เป็นสาระแบบไม่เป็นสาระ

    เราก็น้อมมาดูที่ตัวเราด้วยว่าอะไรที่เป็นสาระแล้วเราละเมิด เราปล่อยผ่าน มีอะไรบ้าง เราหันกลับมาเพื่อเข้าหาสิ่งที่เป็นสาระนั้นใหม่ สิ่งที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป มาปรับเปลี่ยน ตั้งต้นใหม่เพื่อเข้าหาสิ่งที่เป็นสาระให้เป็นสาระ แล้วก็ทำตามนั้น พระพุทธเจ้าบอกว่า ผู้ที่เห็นสิ่งซึ่งเป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ หรือเห็นสิ่งซึ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ อันนี้เป็นความเห็นผิด ท่านบอกว่า มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา ผู้นั้นจะมีความคิดผิดอยู่บนวิถีชีวิต ไม่ว่าจะทำอะไรจะผิดพลาดตลอด เพราะว่าแกนของชีวิตไม่ได้เดินอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้อง คือ จิตจะท่องไปกับความคิดผิดแทบทุกเรื่อง แล้วก็มีความคิดผิดนี้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ผลจึงเกิดขึ้นกับผู้นั้นทันที คือ เป็นผู้ที่ล้มเหลวไร้ซึ่งความเป็นแก่นสารของชีวิต จะแตกต่างจากผู้ที่เห็นสิ่งสาระว่าเป็นสาระ เห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ คนเหล่านั้นจะคิดอะไรวางแผนอะไร จะมีแก่นสารและมีรากฐาน มีเป้าหมาย มีความเป็นไปได้ และจะมุ่งตรงต่อเป้าหมายนั้น ตรงต่อความสำเร็จนั้น

    เพราะฉะนั้นในวันนี้ก็ได้แสดงถึงเรื่องของ การเห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ อันนี้เรียกว่าเป็นความเห็นผิด เป็นความคิดผิด และความเห็นนี้จะเกาะกินใจของเราและทำให้เรามีความคิดผิดตลอดเวลา จิตใจของเรา ชีวิตของเราหมุนไปตามความคิด ถ้าความคิดมีความเห็นผิดตลอดก็จะเดินผิดอยู่เรื่อยๆ มีต้นทุนเท่าไรก็ไม่เพียงพอต่อการที่จะแสวงหาประโยชน์อันแท้จริงของชีวิตได้ ท่านถึงบอกว่าให้ปรับเปลี่ยนใหม่ ดูสิ่งที่เป็นสาระโดยความเป็นสาระ สิ่งที่ไม่เป็นสาระก็ดูให้เห็นโดยความที่ไม่เป็นสาระ ผู้ใดที่จิตใจเห็นสิ่งเป็นสาระว่าเป็นสาระ เห็นสิ่งไม่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระแล้ว ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่ชื่อว่า สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา เรียกว่า จิตมีการท่องไปสู่ความคิดที่ถูกต้องเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะอันใดจะถูกต้องเสมอ ความคิดที่ถูกต้องอันเนื่องมาจากการเห็นอย่างถูกต้องนั้น จะนำพาชีวิตของผู้นั้นให้สำเร็จในเป้าหมายทั้งหมดที่ตนตั้งไว้ได้

    Tue, 23 Apr 2024 - 20min
  • 785 - ใกล้ชิดกับพระรัตนตรัย วัดบุปผาราม วรวิหาร 21 เม.ย. 67

    หลวงพ่อเจ้าคุณอาจารย์พระกิตติวิมลเมธี (สุชีพ สุธมฺโม) บรรยายธรรม แก่ คณะเจ้าภาพนักปฏิบัติกลุ่มเรียนรู้ออกจากทุกข์ งานบำเพ็ญอุทิศกุศล แด่ครูอาจารย์และผู้ล่วงลับประจำปี ณ วัดบุปผาราม วันที่ 21 เมษายน 2567


    มรรคที่เราจะเดินในชีวิตประจำวันได้นั้นต้องมีพระรัตนตรัย เมื่อมีฉันทะในพระรัตนตรัย ใจจะน้อมเข้าไปด้วยคุณสมบัติ 2 อย่าง

      กามวิเวก ไม่ตกอยู่ในอำนาจของความปรารถนา อกุศลวิเวก หลีกออกจากอกุศลโดยอัตโนมัติ

    ถ้าใจมีกามวิเวกและอกุศลวิเวกเป็นคุณสมบัติ ศีล สมาธิ ปัญญาจะเกิดขึ้นทันทีพร้อมๆกัน นี่คือการแนบสนิทชิดกับพระรัตนตรัย

    วิธีที่จะดูว่าเราใกล้ชิดกับพระรัตนตรัยไหม ให้สังเกตไปที่ใจของเราว่ามีสิ่งเหล่านี้

    1) อนภิชฺฌาลุ วิหเรยฺย อยู่โดยความไม่เล็ง ความอยากที่งอกออกมาจากความโลภปกติ โลภที่งอกออกมานั้นเป็นเหตุให้การทำงานนั้นทุจริต

    2) อพฺยาปนฺเนน เจตโส มีใจไม่พยาบาท โกรธปกติมีทุกคน แต่ไปถึงการที่จะทำร้ายกัน เบียดเบียนกันมันหยุด ที่จะไปถึงจุดนั้นได้ มันไม่ใช่ความโกรธแล้ว มันงอกออกมาจากความโกรธ เรียก พยาบาท ถ้ามียังห่างพระรัตนตรัย วิธีคือแก้มันเสียด้วยการให้เห็นโทษของมัน ด้วยการทำโยนิโสมนสิการ ปลดเปลื้องมันออกไป ทุกคนมีลักษณะเฉพาะของเขา เห็นจนมันเป็นธรรมดา ใจก็จะคลายออกมา ปลงใจยอมรับได้

    3) สโต มีสติ ดูตรงที่อายตนะกระทบกับโลก สิ่งใดก็ตามที่มากระทบ ใจเข้าไปรับรู้ แล้วใจไหลเข้าไปตกอยู่ในอารมณ์นั้นๆ แล้วก็ปรุงแต่งชุ่มแช่ออกไป ให้พึงรู้ไว้เลยว่า นั่นคือการไม่มีสติ การมีสติคือ มีความรู้สึกได้ สติจะทำหน้าที่กั้นใจไม่ให้ไหลออกไปในอารมณ์นั้นทันที

    พึงเข้าใจด้วยว่า สติเป็นเพียงธรรมที่เกิดและดับในขณะจิต แต่สติจะเกิดกับจิตที่มีความตั้งมั่น จิตที่มีความตั้งมั่นแล้วมีสติแลอยู่ เมื่อมีอะไรมากระทบ ตัวที่จะเข้าไปเพื่อดูต่อสิ่งที่กระทบนั่นคือสติ มันเกิดแล้วก็ดับ จึงเรียกสติว่าเป็นเจตสิก เมื่อดับจะนำดอกผลที่ไปเสวยอารมณ์กลับมาสู่ภวังคจิต เพื่อที่จะให้เป็นวิบากของขณะจิตต่อไป ถ้าหลง กำลังของหลงก็จะเพิ่มขึ้น ถ้าโกรธ กำลังของความโกรธก็จะเพิ่มขึ้น จึงต้องมีความตั้งมั่นของจิต

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เอกายโน อยํ มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยาโสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย

    ช่องนี้ช่องเดียวเท่านั้น เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความล่วงแห่งทุกข์และโสกปริเทวะ เพื่อความดับแห่งทุกข์กายทุกข์ใจ เพื่อการเข้าถึงความรู้อันสูงสุด เพื่อการทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

    ช่องนี้คือสติปัฏฐาน ให้สติมีฐานเป็นที่ตั้ง และฐานที่จะเป็นที่ตั้งของสติก็คือกายใจแท้ๆนี้ อย่างอื่นไม่ได้ ถ้ากายใจแท้ๆเป็นฐานให้กับสติเมื่อใด สติที่เข้าไปแลดูอาการกายอากายใจแต่ละขณะ สตินั้นเรียกว่า สติปาริสุทธิ เป็น สติที่บริสุทธิ์ ทุกครั้งสติบริสุทธิ์เกิดขึ้นในหนึ่งขณะจิตแล้วดับไป จะตกเป็นความตั้งมั่นให้กับจิต เป็นความตั้งมั่นที่มีสติแลอยู่ ความตั้งมั่นเมื่อมีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ เรียก อุเบกขาสติปาริสุทธิ 4) เอกคฺคจิตฺตสฺส อชฺฌตฺตํ สุสมาหิโต ความที่แห่งจิตมีอารมณ์อันเดียวอันเป็นภายใน ก็คือกายกับใจแท้ๆนี้ กายที่ไม่มีชื่อไม่มีสกุล ไม่มีเพศ ไม่มีวัย ไม่มีฐานะ ถ้าเราฝึกให้จิตมีประสบการณ์ตรงกับการที่มีอารมณ์อันเดียวอันเป็นภายในบ่อยๆ จะแตกดอกออกผลขึ้นมาข้างบนทั้ง 3 ตัวเลย เมื่อทำบ่อยๆจนชำนาญ

    เวลากิเลสทำกับเราในสังสารวัฏที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ กิเลสทำกับเราสาหัสมาก ทำบ่อยๆ โกรธบ่อยๆ หลงบ่อยๆ เพลิดเพลินบ่อยๆ ไม่พอใจบ่อยๆ ดีใจบ่อยๆ เสียใจบ่อยๆ แล้วเราก็สั่งสมบ่มมันมาเรื่อยๆ จนเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครั้นเราจะมาสู้กับเขา ที่พระพุทธเจ้าบอก เราก็ต้องสู้อย่างนี้ เราก็ทำเหมือนที่มันทำกับเรานั่นแหละ แต่คนละขั้ว พลิกคนละข้าง ถ้าไม่พลิก เราจะสู้กับมันไม่ได้ แม้บางครั้งเราบอกว่าเราปฏิบัติธรรม แต่เราอยู่ในขั้วของมัน อวิชชาก็นั่งยิ้ม เพราะว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือกายใจรูปนามนี้ มันมีอวิชชาตีกรอบอยู่ แล้วปัญญาอยู่ข้างนอก ถ้าเรายังอยู่ในกรอบของอวิชชา แม้นเราจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม อวิชชาก็นั่งยิ้ม อ้วนพีอยู่อย่างเดิม เพราะฉะนั้นจงดูบริบทที่มันมีรายละเอียดปลีกย่อยที่พระพุทธเจ้าท่านชี้ไว้ ให้กับท่าน 4 ประการ

    อนภิชฺฌาลุ วิหเรยฺย อพฺยาปนฺเนน เจตสา

    สโต เอกคฺคจิตฺตสฺส อชฺฌตฺตํ สุสมาหิโต

    ไม่เล็ง มีใจไม่พยาบาท มีสติ ฝึกให้จิตมีประสบการณ์กับการมีอารมณ์อันเดียว

    อย่างนี้เรียกว่าเราได้แนบสนิทใกล้ชิดกับพระรัตนตรัย

    Sun, 21 Apr 2024 - 37min
  • 784 - การพัฒนาความสงบให้กับชีวิตและนำภาวนา ศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ 200 ปี 12 เม.ย. 67 (2/2)

    หลวงพ่อเจ้าคุณอาจารย์พระกิตติวิมลเมธี (สุชีพ สุธมฺโม) วัดบุปผาราม วรวิหาร บรรยายธรรม นำภาวนา แก่คณะพระภิกษุนักเรียนนายร้อย จปร. ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ ๒๐๐ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น.

    Mon, 15 Apr 2024 - 45min
  • 783 - การพัฒนาชีวิต ศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ 200 ปี 12 เม.ย. 67 (1/2)

    หลวงพ่อเจ้าคุณอาจารย์พระกิตติวิมลเมธี (สุชีพ สุธมฺโม) วัดบุปผาราม วรวิหาร

    บรรยายธรรม นำภาวนา แก่คณะพระภิกษุนักเรียนนายร้อย จปร.

    ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ ๒๐๐ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น.

    Sun, 14 Apr 2024 - 1h 52min
Afficher plus d'épisodes

Podcasts similaires à ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติ