Filtrar por género

1 สมการชีวิต

1 สมการชีวิต

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org


Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

286 - ทำชีวิตให้เจริญ ทั้งทางโลกและทางธรรม [6716-1u]
0:00 / 0:00
1x
  • 286 - ทำชีวิตให้เจริญ ทั้งทางโลกและทางธรรม [6716-1u]

    Q1: การสวดมนต์โดยไม่รู้ความหมาย

    A: เหตุที่ต้องสวดมนต์เป็นภาษาบาลี เพราะการสาธยายธรรมด้วยภาษาที่เป็นต้นฉบับจะเป็นไปเพื่อรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์ภาษาบาลีแม้ไม่รู้ความหมาย แต่เมื่อบทสวดมนต์ทั้งหลายเป็นพุทธพจน์ ซึ่งเป็นคำดี การเปล่งเสียงพูดออกไปก็ย่อมเป็นสิ่งดี แต่ถ้ารู้ความหมายด้วยและทำให้จิตใจสงบด้วยก็จะดียิ่งขึ้น

    - การสวดมนต์มี 3 ขั้นตอน 1. คำพูดที่ออกจากปากเป็นบทสวดมนต์ที่เป็นพุทธพจน์หรือไม่ 2. รู้ความหมายของคำพูดนั้นหรือไม่ 3. ทำให้จิตใจสงบหรือไม่ อาจทำได้ไม่ครบ 3 ขั้นตอน ก็ยังดีกว่าไม่สวดมนต์เลย

    - “ทำนองการสวดมนต์” พระพุทธเจ้าไม่ให้สวดด้วยเสียงโดยยาว (เอื้อน สูง-ต่ำ) เพราะจะทำให้เกิดความกำหนัดได้ (เสียงเพลง) ทรงอนุญาตให้สวดเป็น “ทำนองสรภัญญะ” ได้ คือ ท่องสวดเป็นจังหวะ มีลักษณะเป็นคำฉันท์ คำคล้องจอง บทกลอน เป็นเทคนิคให้จำได้ง่ายขึ้น เพื่อสืบต่อคำสอน

    Q2: ทำชีวิตให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรม

    A: วิธีทำให้ “เจริญทางโลก” ประกอบด้วย 4 อย่าง

    1. มีความขยันหมั่นเพียรในงาน (อุฏฐานสัมปทา)

    2. รู้จักรักษาทรัพย์ (อารักขสัมปทา)

    3. มีมิตรดี (กัลยาณมิตตตา) - มิตรที่มีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ที่ทำให้เราเกิดกัลยาณธรรม

    4. มีสมดุลในชีวิต (สมชีวิตา) - ให้รายรับท่วมรายจ่าย รายจ่ายที่ควร 4 อย่าง คือ (1) เลี้ยงดูครอบครัว (2) ลงทุนหรือเก็บไว้ในวันฝนตก (3) สงเคราะห์ผู้อื่น (4) ทำบุญ

    - คาถาเศรษฐี “อุ อา กะ สะ” มีที่มาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า 4 ข้อนี้ ไม่ใช่แค่ท่อง แต่ต้องนำไปทำด้วย

    - วิธีทำให้ “เจริญทางธรรม” ประกอบด้วย 4 อย่าง

    1. ศรัทธา - ความมั่นใจ ไม่ใช่ความงมงาย ศรัทธาที่ถูกต้องต้องประกอบด้วยปัญญา คือ มีความเชื่อมั่น มั่นใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่าทรงตรัสรู้ดีแล้ว, สิ่งที่ท่านตรัสรู้/คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่บอกสอนไว้ดีแล้ว, ใครก็ตามที่ปฏิบัติตามคำสอนนั้นจะต้องดีขึ้นมาได้ ให้มั่นใจในการลงมือปฏิบัติ มีเหตุต้องมีผล

    2. ศีล - ศีล 5

    3. จาคะ - การให้ การบริจาค รู้จักสละออก (ให้แบบสงเคราะห์ / ให้เพื่อหวังเอาบุญ)

    4. ปัญญา - ฝึกให้เห็นความเกิดดับของสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นของไม่เที่ยง

    - “ด้วยความขยันหมั่นเพียร รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ มีเพื่อนดี รู้จักรายรับรายจ่าย จะทำให้เจริญทางโลก และด้วยศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา จะสามารถรักษาจิตให้อยู่ในทางธรรม เมื่อแก่ตัวลง สิ่งที่เราสะสมเหล่านี้จะมีกำลังมากขึ้น มีอินทรีย์แก่กล้ามากขึ้น เป็นปัจจัยให้เจริญทางธรรมต่อไปได้”

    Q3: หมดไฟในการทำงาน

    A: พระพุทธเจ้าอาศัยอิทธิบาท 4 ทำให้งานของท่าน คือ การเป็นพระพุทธเจ้าสำเร็จได้ เหล่าพระอรหันต์ทั้งหลายต่างสำเร็จความเป็นอรหันต์ได้ก็เพราะเจริญอิทธิบาท 4 ดังนั้น งานของเราซึ่งเป็นงานธรรมดา จะสำเร็จได้ก็ด้วยอิทธิบาท 4 เช่นกัน งานที่ถูกเติมด้วยอิทธิบาท 4 จะกลายเป็นมงคลในชีวิตทันที ถ้าตั้งจิตไว้ถูก

    - อิทธิบาท 4 ประกอบด้วย

    1. ฉันทะ - ความพอใจ รักในงานที่ทำ

    2. วิริยะ - ความแข็งใจทำต่อไป ไม่เลิกแม้เจออุปสรรค วิริยะคือความมีระเบียบวินัย (ทำในสิ่งที่ต้องทำ ไม่ว่าจะอยากทำหรือไม่ก็ตาม)

    3. จิตตะ - การเอาใจใส่ ตรวจสอบ ตรวจตรา ว่าทำถูกต้องหรือไม่

    4. วิมังสา - การพิจารณา ตรวจตราเพื่อพัฒนาแก้ไขปรับปรุง ใช้วิธีการที่ดีขึ้น

    - โดยมี “สมาธิ” เป็นตัวเชื่อม ประคับประคองไม่ให้เข้มงวดเกินไป (ฟุ้งซ่าน) หรือย่อหย่อนเกินไป (ขี้เกียจ) ไม่ให้ส่ายไปในภายนอก ไม่ให้ตั้งสยบอยู่ภายใน ให้งานนั้นมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ขึ้นเป็นประธานด้วยอาศัยสมาธิอยู่ตลอด

    Q4: วิธีอยู่ร่วมกันของเจ้านาย และลูกน้อง

    A: ลูกน้องเป็นหนึ่งในทิศทั้งหก หัวหน้าต้องบริหารจัดการลูกน้องโดยไม่ใช้อาชญาหรือศาตรา แต่ให้ใช้เมตตากรุณา เป็นโค้ช สนับสนุน แนะนำให้ลูกน้องเกิดการพัฒนา มีความก้าวหน้า ทั้งทางโลกและทางธรรม คือ 1. ให้ทำงานตามกำลัง 2. ให้อาหารและรางวัล 3. ให้รักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ 4. แบ่งของที่มีรสประหลาดให้ 5. ปล่อยให้อิสระตามสมัย



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 14 Apr 2024 - 51min
  • 285 - เตรียมจิตด้วยปัญญาก่อนเจ็บป่วยมาถึง [6715-1u]

    ช่วงไต่ตามทาง: Party Girl กับคนบ้างาน

    - ท่านผู้ฟังอดีตเคยเป็น Party Girl ชอบสังสรรค์ ดื่มเหล้า ส่วนอีกคนเป็นคนวิศวกร เงินเดือนสูง มุ่งมั่นในการงานและความก้าวหน้าของอาชีพมาก จนกระทั่งได้มีโอกาสไปหลีกเร้น ช่วงที่นั่งสมาธิเกิดความคิดแจ่มแจ้งขึ้นมาว่าการดำเนินชีวิตที่เป็นอยู่ไม่ใช่ “ทาง” จะเอามาเป็นหลักไม่ได้ จึงเลิกสังสรรค์ และลาออกจากงาน แล้วหันมาสนใจปฏิบัติธรรม ทำสมาธิเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หาทางพ้นทุกข์ ตั้งหลักในการดำเนินชีวิตใหม่ คือ การเป็น “โสดาบัน” ในชาตินี้

    - การอยู่หลีกเร้นไม่คลุกคลีกับใคร ทำให้ได้ฝึกสติ เกิดสมาธิ ทำให้จิตสงบ เกิดปีติ สุข จึงเกิดปัญญาว่า การแสวงหาความสุขจากการปาร์ตี้ แต่งตัว กิน ดื่ม ตำแหน่งงานสูง เงินเดือนสูง อันนี้ไม่ใช่ทาง แม้ทั้งสองจะอายุไม่มาก ยังเจอทุกข์ไม่มาก แต่มีปัญญามาตามทางมรรค เริ่มเห็นได้ว่า สุขมันก็ทุกข์เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าการมีเงินทองจะเป็นทางออกให้พ้นทุกข์ได้ ด้วยความไม่ประมาทจึงหันมาศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้มากขึ้นดีกว่า

    ช่วงสมการชีวิต:เตรียมจิตด้วยปัญญาก่อนเจ็บป่วยมาถึง

    - สุขภาพกาย สุขภาพใจ ต้องดูแลทั้งสองส่วนคู่กัน

    - “สุขภาพกาย” พระพุทธเจ้าให้แนวทางไว้ว่า

    1) อาหาร - 1. กินพืชมากกว่าเนื้อสัตว์ 2. กินเป็นเวลา 3. กินพอประมาณ

    2) ที่อยู่ - ถ้าอยู่ที่ไหนแล้วยังละกิเลสไม่ได้เหมือนเดิม หรือกิเลสที่เคยละได้แล้วกลับมาอีก ก็ไม่ควรอยู่ที่นั่น

    3) น้ำดื่ม - ให้กรองน้ำก่อน ไม่ให้มีตัวสัตว์ ให้น้ำมีความสะอาดเพื่อจะดื่มได้

    - “สุขภาพใจ” ใครก็ดูแลไม่ได้นอกจากตัวเรา

    - ราคะ โทสะ โมหะ เป็นโรคของจิต ถ้าจิตป่วย กายก็จะป่วยตาม จึงต้องไม่ทำให้จิตใจป่วย คือ อย่าให้มีราคะ โทสะ โมหะ ชนิดที่ควบคุมไม่ให้ผิดศีลไม่ได้

    - นอกจากมีศีลแล้ว “สมาธิ” จะรักษาความสงบ รักษาการไม่มีราคะโทสะโมหะให้มันดีอยู่ได้ เช่น ไม่โกรธถึงขนาดด่าคน ซึ่งจะมีสมาธิได้ต้องมี “สติ” ตั้งเอาไว้ “สติ” ช่วยเสริมสร้างพลังจิต ให้จิตของเราตั้งอยู่ในศีลได้ ให้จิตของเราเวลามีอะไรมากระทบแล้วไม่ขึ้นลง ไม่มีราคะโทสะโมหะออกมาจนทำให้ผิดศีล สติเป็นตัวที่จะรักษาสุขภาพจิตใจของเรา วิธีฝึกสติ คือ “สติปัฏฐาน 4” เช่น อาณาปนสติ ดูลมหายใจ การมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกอิริยาบถ เป็นต้น

    - นอกจากสติและศีลแล้ว ตอนที่เรายังไม่ป่วย ต้องมี “ปัญญา” เข้าใจธรรมชาติของความป่วย เปรียบเหมือนทหารที่ต้องเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าก่อนมีการประกาศสงครามจึงจะสามารถรักษาบ้านเมืองเอาไว้ได้ เราจึงต้องเตรียมปัญญาไว้ก่อน เพราะวันที่เราเจ็บไข้ได้ป่วยจะมาถึงแน่นอน

    - ให้เข้าใจธรรมชาติของความเจ็บป่วยด้วย “ปัญญา” ว่า

    1) ความเจ็บป่วยเป็นภัยที่แม่ลูกช่วยกันไม่ได้

    2) เราไม่มีความเป็นใหญ่เฉพาะตนในสิ่งนั้น เช่น สั่งให้แบ่งเวทนาจากความเจ็บป่วยให้ผู้อื่นไม่ได้ สั่งให้หมอรักษาตนให้หายไม่ได้

    3) เวทนาจากความเจ็บป่วยนั้นเป็นไปตามฐานะ คือ เป็นไปตามเหตุปัจจัย บางทีอาจหายหรือระงับได้ด้วยปีติอันเกิดจากการฟังธรรมะ เช่น พระคิลิมานนท์ พระวักกลิ พระอัสสชิ พระสารีบุตร เป็นต้น

    4) เป็นโลกธรรม 8 เป็นสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ คือ สุขทุกข์มีในเจ็บ/ไม่เจ็บ ในสุขเวทนาบางทีก็มีทุกข์มีสุขได้ ในทุกขเวทนาบางทีก็มีทุกข์มีสุขได้ คือ กุศลธรรม/อกุศลธรรม มีได้ทั้งในสุขหรือทุกข์

    5) ต้องมีจิตใจที่อยู่ได้ด้วยการมีเป้าหมาย เช่น อิคิไก (ญี่ปุ่น) ความหมายของการมีชีวิตอยู่ ทำตนให้เป็นประโยชน์ ในทางพระพุทธศาสนามีอิทธิบาท 4 ทำให้อายุยืนได้ถึง 1 กัลป์

    6) เวลาไปเยี่ยมผู้ป่วย ไม่ควรถามว่าว่าดีขึ้นไหม สบายดีขึ้นไหม เพราะเวทนาเป็นไปตามฐานะอยู่แล้ว สิ่งที่ควรถามคือ อดทนได้อยู่ไหม ไปให้กำลังใจ ด้วย 5 ข้อข้างต้น ไปพูดคุยเพื่อให้ “ผู้ป่วยเกิดความอาจหาญ ร่าเริงในธรรม”

    - โดยสรุป : สุขภาพจิตที่ดีเริ่มจาก “สติ” รักษา “ศีล” ทำให้เกิด “ปัญญา” เมื่อมีสติ ศีล ปัญญาเป็นเครื่องมือแล้ว ก็จะรักษาสุขภาพจิตให้ดีได้



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 07 Apr 2024 - 58min
  • 284 - อดทน คือ ทุกสิ่ง [6714-1u]

    Q1: อานิสงส์ของการสักการะพระบรมสารีริกธาตุ

    A: พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สถานที่ที่ควรเห็นเพื่อให้เกิดความสังเวช คือ สังเวชนียสถาน 4 ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ซึ่งมีการสร้างเจดีย์ที่ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้

    - การบูชาพระพุทธเจ้า ไม่ได้ทำเพื่อการอ้อนวอนขอร้องให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ทำเพื่อให้เกิดบุญกุศลที่เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งหนึ่งในปัญญาที่ต้องมี คือ การสลดสังเวชใจ คำว่า “สังเวช” ไม่ใช่เรื่องไม่ดี สังเวชเกิดแล้วดีเพราะทำให้เกิดความตื่นตระหนักขึ้น ต่างกับเสียใจที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะ ร่ำไห้คร่ำครวญ ส่วนสังเวช (sense of urgency) จะมีความรีบเร่งที่จะดับไฟที่ไหม้ตนอยู่โดยไม่พึ่งพาใครก่อน

    - บุญจากการสักการะพระบรมสารีริกธาตุ มี 2 อย่าง (เป็นบุญให้ไปเกิดในสวรรค์ได้)

    1. บุญที่เกิดจากอามิสบูชา เช่น การยกมือไหว้ ถวายของ เวียนประทักษิณ เดินจงกรม

    2. บุญที่เกิดจากจิตใจที่มีศรัทธา มีปัญญา เกิดความสลดสังเวชใจว่า แม้พระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ปานนี้ก็ยังต้องปรินิพพาน สรีระเหลือเพียงเท่านี้ เกิดความสลดสังเวชใจ ให้เรายิ่งต้องรีบปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ให้เห็นธรรมที่ท่านเห็นแล้ว ให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “ธรรมอันใดที่พระพุทธเจ้าเห็นแล้วขอให้เราเป็นผู้ที่มีส่วนแห่งธรรมนั้น” เพื่อจะสร้างเหตุตามท่านไป เพื่อให้มีปัญญาอันเดียวกัน

    - ผู้ที่ไม่ได้เดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สามารถทำอามิสบูชาจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ เพียงแค่ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า (พุทธานุสติ) จิตก็ไปถึงเสมอเพราะจิตไม่ถูกจำกัดด้วยระยะทางหรือเวลา

    - พระอาจารย์ได้ไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ได้รับ “พลังใจ” “เกิดปัญญา” ว่า แม้พระพุทธเจ้าก็ยังปรินิพพาน เกิดความสลดใจ ทำให้ “ตั้งหลักขึ้นได้ใหม่” “พลังจิตเพิ่มขึ้นมา” เห็นหลักว่า แม้ตัวพระพุทธเจ้าจะไม่อยู่แล้ว แต่เส้นทาง การปฏิบัติตามมรรค 8 หนทางให้พ้นทุกข์ยังมีอยู่ ให้เราเพียรปฏิบัติต่อไป ก็จะตามท่านไปได้


    Q2: เมื่อเห็นสัตว์เบียดเบียนชีวิตกัน

    A: แนวคิดทางพระพุทธศาสนา คือ “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” จึงให้ตั้งจิตของเราไว้ด้วยกับ “เมตตา” และ “อุเบกขา”

    - เมตตาต้องมาพร้อมอุเบกขา คือ เมตตาทางใจต้องให้ได้อย่างไม่มีประมาณ แต่ให้ไปหยุดอยู่ที่อุเบกขา

    - อุเบกขา คือ ความวางเฉยในผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ โดยดูบริบทและความเหมาะสมของสถานการณ์ด้วย อุเบกขาไม่ใช่การปล่อยปละละเลย ไม่สนใจ ไม่แยแส อุเบกขาจะเป็นตัวหยุดความเสียใจ กังวลใจ ฟุ้งซ่าน กำจัดโมหะ


    Q3: หนังสือ อดทน คือ ทุกสิ่ง

    A: ความอดทนมี 4 ระดับ

    1) อดทนได้แบบสบาย (ตีติกขาขันติ)

    2) อดทนได้แบบอดกลั้น (อธิวาสนขันติ) – แม้เกิดความไม่พอใจแต่อดกลั้นไม่ให้อกุศลธรรมในใจ (โทสะ การผูกเวร) เกิดขึ้นได้

    3) เก็บกด – เกิดอกุศลธรรมในใจ (มิจฉาทิฎฐิ พยาบาท ผูกเวร) แล้ว แต่ไม่ได้แสดงออกมาทางกาย ทางวาจา

    4) อดทนไม่ได้ (ขันแตก)

    - “ความอดทน” อยู่ในทุกสิ่งในชีวิตของเรา สามารถเปลี่ยนจิตไม่ให้เกิดอกุศลธรรม กำจัดมิจฉาสังกัปปะ (คิดชั่ว) ทำให้เกิดปัญญาในการปล่อยวางอกุศลธรรมได้

    - วิธีแก้ความอดทนไม่ได้ (เก็บกด, ขันแตก)

    1. ใช้ปัญญาพิจารณาอนัตตา (ความไม่เที่ยง) เช่น เห็นเป็นเพียงลมที่ทำให้เกิดเสียงมากระทบหูให้ได้ยิน ไม่ได้มีตัวตน

    2. ใช้ความเมตตา อุเบกขา คือ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ใครทำอย่างไรก็จะได้รับผลแห่งกรรมนั้น ก็จะปล่อยวางได้ โดยเริ่มจากทำจิตให้เป็นสมาธิ จากนั้นตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตา แล้วเอาเหตุการณ์ที่ทำให้เก็บกด, ขันแตก มาแผ่เมตตาให้ตัวเองผ่านไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย เมื่อจิตเราชุ่มอยู่ด้วยกับเมตตาแล้ว ความเก็บกดก็จะเกาะอยู่ที่จิตไม่ได้ ก็จะต้องถูกปลดปล่อยไป


    Q4: ทำบุญกับพระในบ้าน (พ่อแม่) กับทำบุญที่วัด

    A: บุญในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ไม่จำกัดว่าต้องไปทำบุญที่วัด หรือกับพระสงฆ์เท่านั้น ปริมาณบุญจากการให้ทานจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ด้วยความมีศีลของผู้ให้และผู้รับ และของที่ให้ทานบริสุทธิ์ ไม่ได้ขโมยมา มีความประณีต



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 31 Mar 2024 - 56min
  • 283 - เข้าใจสุขทุกข์ด้วยพยับแดด [6713-1u]

    ช่วงไต่ตามทาง:

    - การมองโลกในแง่ดีในทางพระพุทธศาสนา คือ การไม่คิดไปในทางที่เป็นอกุศล ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ประมาท ไม่เผลอเพลิน มีความระมัดระวังอย่างสูงไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจ

    - คุณปฐวี เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว พอเจอเรื่องร้าย ก็ไม่ค่อยรู้สึกอะไร ปัญหาที่เคยรู้สึกว่าหนัก ก็กลายเป็นง่ายขึ้น เบาขึ้น มีแสงสว่างเกิดขึ้นในจิตใจ มีความร่าเริงแจ่มใสขึ้น เพราะสติที่ตั้งขึ้นไว้ได้ ทำให้จิตไม่ได้ไหลไปตามอารมณ์ความรู้สึกจิตใจตั้งมั่นอยู่ได้อย่างดี


    ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ:

    - เมื่อเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้ว อย่าเอาแต่รักสุขเกลียดทุกข์ แต่ต้องเข้าใจสุขทุกข์ ผ่านปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “พยับแดด” พยับแดด ไม่ใช่ “ของจริง” แค่ “ดูเหมือนว่าจริง” คือ แม้เราจะเห็นแต่ไกลว่าข้างหน้าเหมือนมีน้ำอยู่บนถนน แต่เมื่อขับรถไปถึงจุดนั้นแล้วกลับไม่มีน้ำ มันไม่ใช่ของจริง การปรุงแต่งมองเห็นพยับแดดว่าเป็นสิ่งที่มีตัวตนนั้น เปรียบเหมือนกับทุกข์ที่เราปรุงแต่งไปก่อนหน้า ซึ่งเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ณ วินาทีนั้นแล้ว ทำให้ทุกข์ไม่ได้ลดลงและสุขไม่ได้มากขึ้น

    - เราจะมาหาของจริง ในสิ่งที่ไม่ใช่ของจริงจะไปเจอได้อย่างไร ในพยับแดดมีแต่แสงแต่ไม่มีตัวตน “เราจะไปหาสุข ในสิ่งที่เป็นความทุกข์ ก็จะหาไม่เจอ เปรียบเหมือนกับการไปหาน้ำในตัวพยับแดด เราจะไม่เจอน้ำ สิ่งที่เจอจะมีเพียงความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน”

    - ผู้ที่เข้าใจเรื่องพยับแดด จะไม่ไปตามหาสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ อย่าไปคาดหวังจากพยับแดดที่จริง ๆ แล้ว มันไม่มีอะไร ก็จะไม่ทุกข์ นั่นคือ “การยอมรับ” พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “ปริญญา” คือ ความรอบรู้เรื่องทุกข์

    - เมื่อเข้าใจทุกข์ ก็จะไม่ทุกข์ จะได้ “ความสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนา” คือ สุขที่เหนือกว่ากามสุข เป็นสุขที่เกิดจากความรู้ยิ่ง รู้พร้อม เย็น คือ นิพพาน เป็นความสุขที่เกิดจากปัญญาที่เหนือกว่าสุขเวทนาทั่วไป เป็นเวทนาที่ละเอียดลงไป พ้นจากทุกข์ที่เกิดจากตัณหา

    - ผู้ป่วยที่เกิดทุกขเวทนา ความเจ็บปวดนั้นก็เหมือนพยับแดด ไม่สามารถที่จะเป็นตัวตน ไม่สามารถทำให้จิตใจหวั่นไหวได้ แม้แต่ความตายก็ไม่ใช่การสิ้นสุดจริง ๆ เพราะตายแล้วก็มีการเกิดใหม่ ไม่ว่าจะวิ่งหนีพยับแดด (ความเจ็บป่วย) หรือวิ่งเข้าหาพยับแดด (สิ่งปรุงแต่ง) ก็คืออันเดียวกัน อยู่ที่ว่ามองจากมุมไหนเพราะมันคือสิ่งที่ไม่มีตัวตน มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นธรรมดา

    - บทสรุป: ปรากฏการณ์พยัพแดด มีอยู่ทุกขณะในชีวิตของเรา เป็นสิ่งที่คนรักสุข เกลียดทุกข์ ต้องเข้าใจ จะทำให้มีสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนา พ้นจากความทุกข์ที่เกิดจากตัณหา ได้ความสุขที่เกิดจากปัญญาอย่างแน่นอน



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 24 Mar 2024 - 57min
  • 282 - ธรรมะกับการระงับความเครียด [6712-1u]

    Q1: การฟังธรรมช่วยจัดการความเครียด จริงหรือไม่

    A: เมื่อเกิดความเครียดขึ้น การฟังธรรมย่อมดีกว่าการหาความสุขทางกามแน่นอน แต่ต้องฟังให้ถูก

    - วิธีฟังธรรมเพื่อคลายความเครียด

    1. ต้องมีศรัทธา โดยเริ่มจากเลือกหมวดธรรมะที่เราพอใจ มีศรัทธาที่จะฟังก่อน

    2. ขณะฟังธรรม อย่าเพ่งโทษติเตียน ให้มีจิตนอบน้อมในการฟังธรรม

    - การฟังธรรมช่วยให้คลายเครียดได้ เนื่องจากเสียงเป็นเครื่องล่อให้จิตสงบได้ ทุกเสียงที่ได้รับฟังจะมีอารมณ์ติดมาด้วยเสมอ ให้เลือกฟังแต่สิ่งที่ดีดี จิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีกำลังเสมอ ถ้าฟังธรรม จิตก็จะมีกำลัง สติปัญญาก็จะเกิดขึ้น ความเครียดก็จะระงับไปเอง


    Q2: วิธีรวมสมาธิให้ได้เร็ว

    A: ต้องมีสัมมาสติก่อนจึงจะมีสัมมาสมาธิ โดยสัมมาสติเกิดจากการปรารภความเพียร มีศีล มีสัมมาวาจา ทั้งนี้ ต้องมีศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ได้แก่ การรู้ประมาณเพื่อการบริโภค การนอนยามเดียว ไม่นอนกลางวัน การสำรวมอินทรีย์ การอยู่หลีกเร้น การสันโดษในบริขารแห่งชีวิต การอยู่ง่าย กินง่าย การรับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น เป็นต้น สิ่งแวดล้อม สถานที่ คนรอบตัว สิ่งของที่ใช้ การกระทำอื่น ๆ ก็มีผลต่อการนั่งสมาธิ สำหรับพระอาจารย์จะใช้วิธีแผ่เมตตาด้วย สมาธิเป็นทักษะ สามารถฝึกได้ ยิ่งฝึก ยิ่งได้ ให้ใส่ความเพียร การพัฒนาลงไป


    Q3: การบังเอิญเจอคนหนึ่งบ่อย ๆ เคยทำบุญร่วมกันมา ใช่หรือไม่

    A: อาจเป็นเหตุบังเอิญหรือเกิดจากกรรมเก่าก็ได้ ถ้าคิดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับเราด้วยเหตุแห่งกรรมเก่าทั้งหมด ความคิดนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ คนที่จะรู้อย่างรอบคอบว่าเกิดจากกรรมเก่าหรือไม่ต้องมีความสามารถระดับพระพุทธเจ้า แต่ไม่มีประโยชน์ที่จะรู้ว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือกรรมเก่า แต่ให้สนใจ และเข้าใจว่า สิ่งนี้คือผัสสะ ผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ถ้ามีผัสสะก็จะมีเวทนา ถ้ามีเวทนาก็จะมีความทุกข์ ถ้ามีความทุกข์ก็ต้องแก้ทุกข์ ตรงนี้จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ


    Q4: คนไม่ถูกกันในที่ทำงาน เป็นเจ้ากรรมนายเวรหรือไม่

    A: ในสังสารวัฏนี้ ทุกคนเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า “อย่าเห็นแก่สั้น อย่าเห็นแก่ยาว เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร” คือ อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก ต้องให้อภัย มีเมตตา ไม่ผูกเวร เมื่อเจอคนไม่ถูกกันในที่ทำงาน เราต้องรักษาตัวเอง โดยตอบโต้ด้วยความอดทน ไม่เบียดเบียน มีเมตตาจิต รักใคร่เอ็นดู การแผ่เมตตาก็ช่วยได้ แก้ความโกรธด้วยเมตตา แก้การผูกเวรด้วยการให้อภัย เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร ก็จะดีขึ้นมา

    - วิธีแผ่เมตตา เริ่มจากให้จิตเป็นสมาธิ แล้วตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตาเหมือนมารดาที่มีต่อบุตร แล้วกำหนดบุคคลนั้นเข้ามาในจิต แล้วแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยมีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์


    Q5: บุญที่นอกเหนือจากการบวช

    A: ฆราวาสสามารถบวชนอกเครื่องแบบได้ การบวช คือ การประพฤติพรหมจรรย์ รักษาศีล 8 เป็นอย่างน้อย บุญไม่ได้เกิดจากการบวชเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ด้วย


    Q6: การแต่งกายมีผลต่อบุญในการใส่บาตรหรือไม่

    A: คนที่มีศรัทธามากจะมีความประณีตออกมาให้เห็นจากอาหารที่ใส่บาตร การแต่งกาย ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล


    Q7: การสวดมนต์ทำให้ชีวิตดีขึ้น จริงหรือไม่

    A: ถ้าสวดมนต์แล้วจิตเป็นอารมณ์อันเดียว จิตเป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหวขึ้นลงไปตามสิ่งต่างๆ เจอผัสสะใดๆ แล้วยังรักษาจิตให้ดีอยู่ได้ อันนี้ชีวิตดีขึ้นแน่นอน ไม่ใช่สวดมนต์ด้วยความงมงาย ให้รักษาการกระทำทางกาย วาจา ใจ ของเราให้ดีตลอด แล้วชีวิตก็จะดีขึ้นแน่นอน



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 17 Mar 2024 - 55min
Mostrar más episodios

Podcasts similares a 1 สมการชีวิต