Nach Genre filtern

กฎหมายออนไลน์

กฎหมายออนไลน์

กฎหมายออนไลน์

กฎหมายออนไลน์ เผยแพร่ความรู้ข้อกฎหมายใกล้ตัวที่ประชาชนทุกท่านควรทราบ ครับ 😊

6 - การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีแพ่ง
0:00 / 0:00
1x
  • 6 - การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีแพ่ง

    การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีแพ่ง -ยื่นคำให้การภายใน๑๕วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง -กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีปิดหมายหรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เริ่มนับระยะเวลาเมื่อพ้น ๑๕ วันนับแต่วันปิดหรือประกาศโฆษณา จำเลยจึงยื่นคำให้การได้ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ปิดหรือประกาศโฆษณา -เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว มิได้ยื่นคำให้การภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามคำสั่งศาลถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

    Mon, 08 Jun 2020 - 01min
  • 5 - การเบิกความ

    การเบิกความ คืออะไร การที่บุคคลไปให้ข้อมูลแก่ศาลในการดำเนินกระบวน พิจารณาคดีเพื่อให้ศาลใช้ข้อมูลที่ได้รับประกอบการพิจารณา พิพากษาคดีนั้น โดยการให้ข้อมูลดังกล่าวจะทำด้วยการให้บุคคล ที่ไปเบิกความตอบคำถามของศาลหรือของคู่ความแต่ละฝ่าย พยานควรเบิกความเฉพาะเท่าที่ตนได้เห็น ได้ยิน หรือ ได้ทราบโดยตรงเท่านั้น และต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามพยาน อ่านข้อความที่จด หรือเขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล หากเหตุการณ์ที่พยานไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ให้ตอบไปตรงๆว่าพยาน ไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ ถ้าพยานฟังคำถามของคู่ความหรือทนายความ ไม่ชัดเจน พยานอาจขอให้คู่ความหรือทนายความทวนคำถาม ใหม่ได้ เมื่อเบิกความเสร็จแล้วศาลจะอ่านคำเบิกความที่บันทึกให้แก่ พยานฟัง ถ้าพยานเห็นว่า มีข้อความใด ไม่ตรงกับที่ได้เบิกความไว้ พยานก็สามารถทักท้วงขอแก้ไขได้หากข้อความดังกล่าวถูกต้องทั้งหมดแล้ว ศาลจะให้พยานลงลายมือชื่อไว้ท้ายคำเบิกความและ เป็นอันเสร็จสิ้นการเป็นพยาน เบิกความเท็จ จะมีความผิดหรือไม่ การเบิกความเท็จเป็นการที่พยานเอาความที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จมาเบิกความ ต่อศาล ไม่ว่าพยานผู้นั้นจะได้สาบานหรือปฏิญาณตนก่อนเบิกความหรือไม่ก็ตาม และที่สำคัญ ความเท็จนั้นต้องเป็นข้อมูลสำคัญในคดีที่จะมีผลต่อการวินิจฉัยของศาล ที่จะนำไปสู่การแพ้หรือชนะคดี ถ้าเบิกความเท็จผู้เบิกความจะมีความผิดฐานเบิกความเท็จ ทั้งนี้จะต้องเบิกความไป โดยมีเจตนาคือรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่ตนเบิกความนั้น เป็นเท็จการเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลจึงมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๗ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน ๕ ปีหรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    Thu, 28 May 2020 - 02min
  • 4 - การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

    การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมคุณสมบัติของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม 1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี 2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง 3. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจาก บิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง 4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจาก คู่สมรสก่อน 5. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีก ในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรม ของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม ขั้นตอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม 1. กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อนโดย - กรณีที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือต่างประเทศให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือ แสดงความยินยอม ของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมประชาสงเคราะห์ - กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอ พร้อมหนังสือแสดงความยินยอม ของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด * เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม อนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ให้นำหนังสือแจ้งคำอนุมัติของคณะกรรมการดังกล่าวไปร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตแห่งใดก็ได้ 2. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมสามารถดำเนินการ ยื่นคำขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการ รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม สิทธิตามกฎหมายของเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม บิดา หรือมารดาบุญธรรม กับบุตรบุญธรรมมิใช่สายเลือดเดียวกัน แต่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจกันระหว่างบิดาหรือมารดาบุญธรรม กับ บิดามารดาที่แท้จริงของเด็ก และเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรมด้วยเหตุผลบางประการ เช่น เพื่ออนาคตของเด็ก หรือเพื่อให้ผู้รับบุตรบุญธรรมที่ไม่มีบุตรได้มีบุตรสมใจปรารถนา การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กฎหมายจะให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กให้มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา หรือมารดาบุญธรรมทันที นับแต่วันที่จดทะเบียน เช่น มีสิทธิได้รับมรดก มีสิทธิใช้นามสกุลของบิดา หรือมารดาบุญธรรมโดยที่บิดา หรือมารดาบุญธรรมไม่มีสิทธิที่จะมารับมรดกของบุตรบุญธรรม นอกจากนี้แล้ว บุตรบุญธรรมยังไม่เสียสิทธิที่พึงมีตามกฎหมายในครอบครัวเดิม แต่อย่างใด คือ ยังมีสิทธิรับมรดกของบิดามารดาที่แท้จริงได้ และบิดามารดาที่แท้จริงมีสิทธิไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนได้ตามสมควร ทั้งนี้กฎหมายยังคุ้มครองเด็กโดยบิดา หรือมารดาบุญธรรม จะเลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาที่แท้จริงเสียก่อน และจะฟ้องให้มีการเลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยไม่มีเหตุอันควรไม่ได้

    Sun, 24 May 2020 - 05min
  • 3 - ความแตกต่างระหว่างคดีแพ่งกับคดีอาญา

    ความแตกต่างระหว่างคดีแพ่งกับคดีอาญา คดีแพ่ง เป็นคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้หรือการฟ้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการฟ้องมุ่งให้จำเลยชำระเงิน หรือส่งมอบทรัพย์สิน มิใช่มุ่งที่จะให้จำเลยต้องถูกลงโทษ เช่น จำคุก ดังเช่นคดีอาญา คดีแพ่ง อีกกรณีหนึ่งคือ คดีที่มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นเรื่องที่ กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิทางศาล เพื่อรับรอง คุ้มครองสิทธิของตน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ หากไม่มีผู้ร้องคัดค้านคำร้องนั้นเข้ามาถือว่า เป็นคดีไม่มีข้อพิพาท คดีอาญา เป็น คดีที่เกิดขึ้นจากการกระทำฝ่าฝืนข้อห้าม ของกฎหมายที่บัญญัติว่า การกระทำดังกล่าวนั้น เป็นความผิดและมีบทลงโทษทางอาญา เกี่ยวกับความผิดและ โทษซึ่งกำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆ เช่นพระราชบัญญัติต่างๆ ซึ่งอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นๆ ซึ่งมีโทษในทางอาญา หรือที่พูดกันว่า ฟ้องให้ติดคุก หรือรับโทษอื่นๆ ในทางอาญา

    Sat, 23 May 2020 - 02min
  • 2 - สัญญาประนีประนอมยอมความ

    สัญญาประนีประนอมยอมความ คือ สัญญาที่ผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาท ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน และจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ต่อเมื่อ สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่ ปพพ.มาตรา ๘๕๐ อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ หรือจะมีขึ้นนั้น ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน มาตรา ๘๕๑ อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ มาตรา ๘๕๒ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้อง ซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้น ระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่าย ได้สิทธิตามที่แสดง ในสัญญานั้นว่าเป็นของตน

    Sat, 23 May 2020 - 02min
Weitere Folgen anzeigen

Podcasts ähnlich wie กฎหมายออนไลน์