Nach Genre filtern

เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้.New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ donhaisok.fm
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
- 477 - ประตูแห่งอมตะธรรม 11 บาน [6612-3d]
พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคหฤบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ โดยมีเนื้อความดังนี้ว่า “บุคคลเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ มีจิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป และย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้“
ธรรมอันเป็นประตูแห่งอมตะธรรมที่เมื่อเข้าถึงแล้ว อันได้แก่ รูปฌาน 4 อัปปมัญญา 4 และอรูปฌาน 3 (แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง) ที่เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 21 Mar 2023 - 54min - 476 - มงคลชีวิต 36 #สรุปส่งท้ายชุดมงคลชีวิต [6611-3d]
มนุษย์เรา ล้วนแต่ต้องการสิ่งที่ดีงาม เป็นมงคลแก่ชีวิตของตนทั้งสิ้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่ามงคลคืออะไร และอะไรที่เป็นมงคล
มงคล 38 ประการนี้ เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นจนถึงเบื้องปลายสูงสุด เมื่อเราน้อมเอามาปฏิบัติย่อมเป็นมงคลเกิดขึ้นแก่ชีวิตของตน นำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ชีวิต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 14 Mar 2023 - 58min - 475 - มงคลชีวิต 35 #จิตที่ไกลจากกิเลส [6610-3d]
เป็นมงคลชีวิตเบื้องสูงที่เดินทางมาถึง 4 ข้อสุดท้าย เป็นภูมิจิตของผู้ที่ไกลจากกิเลส กล่าวคือ
จิตที่ไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรม คือ เมื่อถูกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์กระทบก็ไม่ไหวไปตามอารมณ์ที่น่าพึงพอใจน่าปรารถนานั้น และเมื่อถูกฝ่ายอนิฏฐารมณ์กระทบก็ไม่หวั่นไปตามอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น จิตจะเข้าถึงความคงที่อย่างนี้ได้ ต้องประกอบไปด้วยปัญญาที่เห็นการทำงานของขันธ์ที่เป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์
จิตไม่โศก(จิตที่บรรลุนิพพานแล้ว) “ความโศกเกิดจากความรัก เพราะมีรักจึงมีโศก” ความรักเปรียบเหมือนยางเหนียวทำให้จิตติดอารมณ์นั้น พอความรักหายไปก็เศร้าโศก จิตของพระอรหันต์ท่านไม่มีรัก เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่โศก
จิตหมดธุลีธุลี คือ ความเศร้าหมองของจิตที่เกิดจากเทือกของกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) จะกำจัดกิเลสได้ก็ด้วย อริยมรรค 8จิตหมดธุลี คือ จิตที่พ้นแล้วจากกิเลส
จิตเกษมเป็นจิตที่ถึงแดนเกษมคือแดนปลอดภัยจากกิเลสเครื่องกวนใจ ตัดเครื่องผูกรัด คือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฎฐิโยคะ อวิชชาโยคะ พ้นแล้วจาก ความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 07 Mar 2023 - 56min - 474 - มงคลชีวิต 34 #เห็นอริยสัจและทำให้แจ้งในนิพพาน [6609-3d]
ในทางปฏิบัติเราจำเป็นจะต้องรู้เรื่องอริยสัจไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไปรับรู้หรือเห็นนิมิตอะไรมา เราอาจจะหลงหรือเข้าใจผิดสำคัญว่าตนมีคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมแล้ว
พระพุทธเจ้าได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะออกค้นหาศาสตร์ความจริงที่จะช่วยให้คนพ้นจากความทุกข์ความแก่และความตาย ซึ่งศาสตร์ที่พระองค์ทรงค้นพบนี้เรียกว่า “ อริยสัจ 4 ”
การเห็นอริยสัจ(ญาณในอริยสัจ 4)ที่แท้จริงนั้นต้องเห็นโดยมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 จึงจะเป็นความพ้นทุกข์ที่แท้จริงคือเป็นจิตที่พ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นความแจ้งในนิพพาน
นิพพานธาตุ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สอุปาทิเลสนิพพาน คือ ยังมีชีวิตอยู่ อินทรีย์ห้ายังคงอยู่ เสวยเวทนาอยู่ และ อนุปาทิเลสนิพพาน คือ การดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 28 Feb 2023 - 57min - 473 - มงคลชีวิต 33 #การประพฤติพรหมจรรย์ [6608-3d]
มงคลข้อนี้ เป็นการเดินทางจากโลกียะไปสู่โลกุตระ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจครั้งยิ่งใหญ่ เปรียบเหมือนท่าอากาศยานต่อแดนระหว่างภาคพื้นดินกับภาคพื้นเวหา
จิตของคนเราแบ่งภูมิชั้นของจิตได้เป็น 2 ระดับ 4 ภูมิ คือ ระดับโลกิยภูมิ (วนเวียนอยู่ในโลก) ได้แก่ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และ ระดับโลกุตรภูมิ คือ ภูมิจิตของพระอรหันต์
ความสุขจากภูมิ 2 ระดับนี้ก็แตกต่างกัน คือ ความสุขในภูมิโลกีย์เป็นสุขระคนด้วยทุกข์เหมือนจะมีสุขแต่ไม่มี เป็น “จิตวิ่งวุ่น” เปรียบได้กับพยับแดด ส่วนความสุขโลกุตรภูมิเป็นสุขคงที่ ผู้ที่เข้าถึงก็มี “จิตคงที่” เพราะเจอสุขที่เข้าถึงได้
การประพฤติพรหมจรรย์ คือ พยายามกำจัดความรู้สึกทางเพศเป็นการประพฤติตัวอย่างพรหม ในศาสนาอื่นเพื่อเข้าถึงพรหมโลก ส่วนในทางพุทธไปได้สูงกว่านั้น คือบรรลุถึงโลกุตระ
ข้อวัตรพรหมจรรย์มี 10 อย่าง 4 ชั้น คือ ชั้นต่ำ กลาง สูง และชั้นพรหมจรรย์ (สำเร็จอธิสิกขา 3 ) แต่ละขั้นจะมีการรักษาศีลและการปฏิบัติควบกันไปเป็นระยะๆ และเข้มข้นขึ้นตามชั้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 21 Feb 2023 - 56min - 472 - มงคลชีวิต 32 #ความเพียรเผากิเลส [6607-3d]
ในพุทธศาสนา การบำเพ็ญตบะ คือ การเพียรเผากิเลส จะมุ่งเน้นมาในจิตใจ ซึ่งศาสนาอื่นนั้น มุ่งเน้นมาในทางกาย
ชนิดของกิเลสนั้น มีทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล คือ กิเลสอย่างละเอียด ทำให้เกิดโมหะ เช่น บุญ ทำให้เกิดการยึดถือเมาบุญได้ และฝ่ายอกุศลราคะ โทสะ โมหะ กิเลสทั้งสองชนิดนี้ ทำให้เราเวียนไปสูง-ไปต่ำ วนอยู่ในวัฏฏะ
การบำเพ็ญตบะ จึงจำเป็นต้องอาศัยความอดทนอย่างยิ่งในการเผากิเลสที่อยู่กับเรามานานให้หลุดลอกออก ถ้าเราอดทนไม่ได้ก็คือ “ตบะแตก” การอดทนนั้นจึงต้องประกอบไปด้วยปัญญา
วิธีทำตบะคือข้อปฏิบัติทั้งหมดที่ฝืนความต้องการของกิเลส ได้แก่ สัลเลขธรรม-การขัดเกลากิเลส และธุดงควัตร 13-การกำจัดกิเลส
ตบะในชีวิตประจำวัน ทำได้ด้วยการ “มีสติ” สำรวมอินทรีย์ มีหิริโอตตัปปะจะเป็นเหตุให้เกิดอินทรียสังวร มีศีล สมาธิ และปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 14 Feb 2023 - 56min - 471 - มงคลชีวิต 31 #การสนทนาธรรม [6606-3d]
ธรรมสากัจฉา หรือแปลกันว่า สนทนาพูดคุยธรรมะ จะต้องมีสองฝ่ายผลัดกันฟัง-ผลัดกันพูดให้เหมาะสมกับกาละ “ผู้พูด”จะต้องมีสัมมาวาจา เป็นวาจาสุภาษิต “ผู้ฟัง”ต้องควบคุมใจให้ฟังเอาธรรมะเข้าสู่ใจ “การสนทนาธรรมะ”จึงต้องรู้จังหวะที่จะพูดที่จะฟัง ต้องระมัดระวัง และต้องคอยควบคุมใจไม่ให้กิเลสออกมาตีกัน
วิธีสนทนานั้น ใช้หลักอยู่ 3 อย่าง คือ สนทนาในธรรม - เรื่องที่สนทนาให้อยู่ในวงธรรมะ ไม่ออกนอกวง สนทนาด้วยธรรม –ไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ มีธรรมะอยู่ในใจ สนทนาเพื่อธรรม – เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งผู้ฟัง และผู้พูด ได้ความรู้ในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
การที่เราจะเข้าถึงธรรมะได้สะดวกนั้น ต้องไม่ติดสมมุติของโลก คือ ใช้หลัก “ธรรมวิจยะ” การเลือกเฟ้นธรรมในการแยกธรรมดี และไม่ดีออกจากกัน เลือกธรรมที่เหมาะสมมาปฏิบัติ และรู้ว่าอะไรเป็นโลกบัญญัติ และอะไรเป็นสัจธรรม จะได้ปล่อยวางบัญญัติโลกได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 07 Feb 2023 - 58min - 470 - มงคลชีวิต 30 #การพบเห็นสมณะ [6605-3d]
สมณะ คือ ยอดคนดีทางธรรม เป็นผู้ที่สงบจากการทำบาป (กิเลส)
การเห็นสมณะจะมีได้ก็ต่อเมื่อเรารู้จักสมณะ ถ้าไม่รู้ ถึงจะเห็นก็เหมือนไม่เห็น อย่างในเรื่องกามนิตที่เที่ยวตามหาพระพุทธเจ้า เมื่อได้พบแต่กลับไม่รู้จักท่าน การเห็นจึงไม่เกิดผล
สมณะจะมีความ “สงบตัว” คือ ไม่แสดงกิริยาร้าย เช่น ทุบตี ทำร้าย ฆ่าฟัน ชิงดีชิงเด่น ไม่ก่อความวุ่นวายไม่ว่าจะเพื่ออะไร,“สงบปาก”คือ ไม่เป็นคนปากร้าย ไม่นินทาว่าร้าย ไม่ตีกันด้วยปาก, “สงบใจ” คือ ใจสงบจากบาป จิตใจเต็มไปด้วยเมตตาไม่เป็นภัยต่อผู้ใด
สมณะนั้น ย่อมไม่ทําอันตรายใคร, ไม่เห็นแก่ลาภ, ฝึกตน กิจวัตรของพระ, บําเพ็ญตบะ ละกิเลส
การเห็นสมณธรรมในสมณบุคคล (เห็นด้วยปัญญา) เป็นทัสสนานุตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) คือ ทำให้เกิดศรัทธา เป็นทางไปสู่พระนิพพาน การเห็นสมณะอย่างถูกต้องแบบนี้จึงจะเป็นมงคล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 31 Jan 2023 - 56min - 469 - มงคลชีวิต 29 #เป็นผู้ว่าง่าย [6604-3d]
“โสวจสฺสตา” ความเป็นผู้ว่าง่าย สอนง่าย บอกง่าย ฟังเหตุผลกัน เหล่านี้เป็นประตูด่านแรกที่มีความสำคัญ ที่จะให้คำสอนอื่นๆ ธรรมะดีๆ เบื้องต้นเข้ามาได้หรือได้ หรือถ้านำมาใช้งานในระดับธรรมะขั้นที่สูงขึ้นไป เช่น ในลักษณะของมงคลที่อยู่ในลำดับท้ายๆ จะเป็นการปรับสภาพเตรียมใจให้พร้อมนำเอาธรรมะเบื้องสูงเข้าสู่จิตใจของเรา
ซึ่งถ้าหัวดื้อแล้วอะไรที่มันจะสอนสั่งอธิบาย มันทำได้ยากไปหมดเลย แต่ก็ไม่ใช่จะทำไม่ได้ เพราะมันจะมีสักเวลาใดเวลาหนึ่งที่เขาจะบอกได้สอนได้ มันเปลี่ยนแปลงกันได้ คือจะมีบางครั้งที่บอกได้ง่าย ถ้าบอกง่ายแล้ว สิ่งดีๆ ความฉลาด มันก็จะเข้าไปภายในได้ ให้เป็นผู้ที่อดทนทำ รับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น มงคลความเป็นผู้ว่าง่ายนี้จึงต่อจากคุณธรรมที่ชื่อว่า“ขันติ” คือ ความอดทนทำตามคำสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนที่บางทีมันก็ทำได้ยาก
ลักษณะของคนที่มีคุณสมบัติของความเป็นผู้ว่าง่าย ดูจากภายนอกที่พอจะเห็นได้ คือ 1) รับคําสอนด้วยดี 2) รับทําตามด้วยดี 3) รู้คุณของผู้ให้โอวาท) ซึ่งบอกง่ายหรือสอนง่ายมันก็ต้องมีการพูดคุย เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการใช้เหตุผลในสิ่งที่บอกหรือสอนนั้น และในการที่จะให้เขามาติเตียน บอกกล่าวบอกสอน ก็ต้องมีเงื่อนไข ซึ่งในธรรมวินัยนี้เราเรียกว่า “การปวารณา”คือ ออกตัวให้บอกสอนได้
ส่วนวิธีการทําให้เป็นคนว่าง่ายนั้นก็คือ การเห็นโทษของความว่ายากและเหตุที่ทําให้ว่ายาก 16 อย่าง และการทำในมงคลข้อต่างๆ ก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาทั้ง 27 ข้อ จะทำให้เราเป็นคนว่าง่ายแน่นอน และซึ่งยิ่งถ้าเราเพิ่มสัดส่วนการว่าง่ายในจิตใจของเรา มันก็เป็นการเปิดประตูให้ความฉลาดคือปัญญา ให้คุณธรรมความดีอื่นๆ ต่างๆ เข้ามาได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 24 Jan 2023 - 56min - 468 - มงคลชีวิต 28 #ความอดทน [6603-3d]
ขันติ คือ ความอดทนนั้น คือ การรักษาภาวะปกติไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบอย่างไรก็ตาม เช่น เมื่อถูกกระทบให้ลุ่มหลงก็ไม่ลุ่มหลงไปตาม หรือถูกกระทบให้ไม่พอใจขยะแขยง ก็อดทนอยู่ในสภาวะแบบเดิมไว้ได้
ความอดทนนั้นจะมีลักษณะของความอดกลั้นไว้ไม่คิดที่จะก่อทุกข์ให้ผู้อื่น และตนเองก็มีความเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ด้วย ซึ่งความอดทนไม่เหมือนกับดื้อด้าน หรือเก็บกด เพราะความอดทนนั้นจะต้องประกอบด้วยปัญญา มีความเพียรชำระตัดสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมออกไปจากจิตใจของเรา
ประเภทของความอดทนแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ 1. จากภายนอกกระทบ เช่น อากาศร้อน หนาว 2. จากทุกขเวทนาในกาย เช่น เจ็บป่วย 3. อดทนต่อความเจ็บใจ เช่น คำพูดล่วงเกิน 4. อดทนต่ออำนาจของกิเลส *ซึ่งหมายเอา 2 ข้อหลังนี้
อุบายในการฝึกความอดทน ให้ดูคุณธรรมจาก เตมิยชาดก ปุณโณวาทสูตร เวปจิตติสูตร
เรื่องของความอดทน คือ ขันตินั้น จะทำให้จิตใจของเรามีความก้าวหน้าขึ้นไป เป็นเหมือนการบ่มให้คุณธรรมดีๆ เติบโตได้มากยิ่งขึ้น เป็นคุณธรรมของนักปราชญ์บัณฑิตที่เมื่อรักษาแล้วจะเป็นมงคลในชีวิตของเรานั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 17 Jan 2023 - 56min - 467 - มงคลชีวิต 27 #ฟังธรรมตามกาล [6602-3d]
การฟังอะไรที่ฟังแล้ว ทำให้จิตใจสูงขึ้น ดีขึ้น หมายถึง มีความสงบขึ้น ฟังแล้วทำให้เกิดกุศลธรรมได้เพิ่มขึ้น ดีขึ้น นั่นเป็น การฟังธรรม ซึ่งดูจากประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราเอง กับผู้อื่น และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันนี้ และในเวลาต่อๆ ไป
ฟังธรรมแล้วเข้าใจอรรถะ เข้าใจในธรรมะแล้ว จะบรรลุธรรมเป็นวิมุตติหรือไม่ ก็จะต้องมีปราโมทย์ มีปีติ จิตสงบ มีกายสงบแล้ว มีความสุขในภายใน จิตตั้งมั่น บุคคลที่มีจิตตั้งมั่นมาตามกระบวนการนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว จิตที่ไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นยังละไม่ได้ ย่อมสิ้นไป ย่อมถึงการละได้ ย่อมได้บรรลุธรรมอันเป็นเครื่องเกษมจากโยคะ หมายถึง นิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 10 Jan 2023 - 54min - 466 - มงคลชีวิต 26 #ความกตัญญู [6601-3d]
กตัญญู หมายถึง การรู้คุณ ซึ่งต้องเห็นด้วยปัญญา ส่วนกตเวที หมายถึง การแสดงออก กระทำตอบ แต่ความกตัญญูในที่นี้ เป็นเรื่องของในภายใน คือ รู้คุณ เห็นคุณค่า ของธรรมะในหัวข้อต่างๆ ที่ลึกซื้งลงไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 03 Jan 2023 - 59min - 465 - มงคลชีวิต 25 #ความสันโดษ [6552-3d]"สันโดษ" มาจากคำว่า "สนฺตุฏฺฐิ" มาจากคำว่า “สนฺโตส” คือ ยินดีในตน หมายความว่า ยินดีตามมี ยินดีตามได้และยินดีตามควร ส่วนมักน้อย มาจากคำว่า "อปปิจฺ" เป็นคนละส่วนกัน มักน้อยไม่ใช่สันโดษ มักน้อยพูดถึงสิ่งของที่ได้ แต่สันโดษเป็นเรื่องของจิตใจ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 27 Dec 2022 - 57min - 464 - มงคลชีวิต 24 #ความอ่อนน้อมถ่อมตน [6551-3d]
การอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นการพิจารณาน้อมเข้ามาในตัวเองว่า เรามีความบกพร่องตรงไหน มีข้อไม่ดีตรงไหน เราจึงอ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อที่จะสามารถข่มทิฎฐิมานะของตนเองให้ได้ ชาติตระกูล ทรัพย์สมบัติ รูปร่างหน้าตา ความรู้ความสามารถ ยศตำแหน่ง และบริวาร ถ้าเราเห็นความดี หรือหลงใน 6 อย่างนี้ จะทำให้เรามีความยกตนข่มท่าน ไม่อ่อนน้อมถ่อมตนได้ การอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่การลดศักดิ์ศรีของตนเอง แต่เป็นการลดทิฏฐิมานะ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 20 Dec 2022 - 58min - 463 - มงคลชีวิต 23 #ความเคารพ [6550-3d]"คารวะ 6" คือ การมองเห็นคุณค่า และความสำคัญ แล้วปฏิบัติต่อบุคคลนั้น หรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง มี 6 ประการ ได้แก่ ความเคารพในพระศาสดา ความเคารพในพระธรรม ความเคารพในหมู่สงฆ์ ความเคารพในสิกขา ความเคารพในความไม่ประมาท และความเคารพในปฏิสันถาร ธรรม 6 อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแห่งภิกษุความไม่เสื่อม ก็คือ ไม่เคลื่อนไปสู่ทางเสื่อม ไปทางที่จะตรงข้ามกับนิพพาน ถ้าคุณเห็นคุณค่าในธรรมะทั้ง 6 ประการนี้ จะมีความเจริญก้าวหน้าในจิตใจ ผ่านพ้นภัยต่างๆ มีนิพพานเป็นที่สุดจบ ไม่เสื่อมจากพระสัทธรรมได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 13 Dec 2022 - 57min - 462 - มงคลชีวิต 21 #เว้นจากการดื่มน้ำเมา [6548-3d]
อย่าไปแสวงหาทุกข์จากความสุข โดยการดื่มน้ำเมา ถึงแม้บางทีเราต้องเจอความทุกข์ เพื่อให้ได้สุขในภายภาคหน้า เช่น เราทำความเพียร ต้องรักษาศีล 8 ต้องอดข้าวเย็น บางทีมันก็หิว...อดทนเอา แต่ว่าสุขคืออะไร คุณมีศีล จิตคุณจะสงบได้ต่อไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 13 Dec 2022 - 58min - 461 - มงคลชีวิต 20 #การงดเว้นจากบาป [6547-3d]หิริ ความละอาย รังเกียจต่อบาป และโอตตัปปะ ความกลัวต่อบาป คือ หลักธรรมในการเว้นจากบาป และงดจากบาปที่เราจะลงมือกระทำได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 13 Dec 2022 - 1h 00min - 460 - มงคลชีวิต 22 #การไม่ประมาทในธรรมะ [6549-3d]
เมื่อไม่ประมาทในเรื่องเวลา วัย ชีวิต ความไม่มีโรค งาน การศึกษา และการปฏิบัติธรรม เราก็สามารถที่จะเลิก ละ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และละมิจฉาทิฏฐิได้ สิ่งที่เหลืออยู่นั้น ก็จะทำให้เกิดการปฏิบัติในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต และสัมมาทิฏฐิ นั่นคือ การไม่ประมาทในธรรมะทั้งหลาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 06 Dec 2022 - 48min - 459 - มงคลชีวิต 19 #การงานไม่มีโทษ [6546-3d]
การงานไม่มีโทษ หมายถึง ไม่ถูกติเตียน เป็นสิ่งที่จะทำให้เรานั้นเป็นมงคลในชีวิต เพราะว่าการงานที่ถูกติเตียนได้ มันดีไม่เต็มที่ ได้ผลไม่เต็ม การงานบางอย่างทำไปทางกาย วาจา ใจ ไม่ว่างานราษฎร์ งานหลวง งานตนเอง หรืองานส่วนรวม ถ้าทำแล้วมันผิด ผิดในหลักศีล หลักกฎหมาย หลักธรรม และหลักประเพณี มันจะมีโทษแฝงอยู่ มันจะได้ผลไม่เต็มที่
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 15 Nov 2022 - 59min - 458 - มงคลชีวิต 18 #การสงเคราะห์ญาติ [6545-3d]
“ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง” ให้มองทุกคนเหมือนเป็นญาติของเรา “มองกันด้วยสายตาแห่งคนที่มีความรักใคร่กัน” เพราะทุกคนเป็นญาติกันแน่ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ทางโลกก็ทางธรรม ไม่สายโลหิตก็ตามความคุ้นเคย ดังนั้น ‘สังคหวัตถุ 4’ คือ สิ่งที่สามารถสงเคราะห์กัน ช่วยเหลือดูแลกัน จะมีอยู่ 4 ประการ คือ (1) สมานัตตตา การวางตัวให้เหมาะสม (2) ทาน การให้การแบ่งปัน (3) ปิยวาจา การไม่กล่าวคำให้แตกแยก การรักษาวาจา กล่าวคำที่จะให้เขาสบายใจ และ (4) อัตถจริยา การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ ช่วยเหลือกันในความเป็นญาติ รวมทั้งช่วยบริหารจัดการครอบครัวญาติมิตรให้มั่งคั่ง เจริญพรั่งพร้อมกันขึ้นมา ซึ่งเมื่อเราทำกับเพื่อนกับญาติอย่างนี้ ความเป็นมงคลจะเกิดขึ้นแน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 08 Nov 2022 - 1h 05min - 457 - มงคลชีวิต 17 #ธรรมจริยา [6544-3d]
“ธรรมจริยา” เป็นมงคลชีวิตที่เป็นส่วนของสังคมภายนอก ที่ว่าเราจะประพฤติธรรมอย่างไร โดยจำแนกด้วยหมวดธรรมะต่างๆ ประการแรก ธรรมะคืออะไร ประการที่สอง ธรรมะคือกุศลกรรมบท 10 อย่าง คือ การประพฤติธรรมในเรื่องของช่องทางที่กระทำทางกาย วาจา ใจ ประการที่สาม คือ การประพฤติธรรมให้มีหลักความเที่ยงธรรม ความยุติธรรม ต้องไม่ลำเอียงเพราะ “รัก โกรธ หลง กลัว” ประการที่สี่ เรื่องว่าจะเอาอะไรเป็นใหญ่ ธรรมะเป็นใหญ่ “ธัมมาธิปไตย” หรือ “โลกาธิปไตย” หรือตนเองเป็นใหญ่ “อัตตาธิปไตย” คือ การพึ่งตนพึ่งธรรม และประการสุดท้าย คือ จำแนกตามสังฆคุณ 9 ประการ
เมื่อมีธรรมจริยาแล้ว จะทำให้เป็นมงคลได้ มีความก้าวหน้ามีการพัฒนามีความเจริญ เพราะมีการลงมือปฏิบัติ เกิดการเดินไปตามทางให้ถึงจุดหมาย นั่นจึงเป็นมงคลในชีวิต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 01 Nov 2022 - 1h 01min - 456 - มงคลชีวิต 16 #การให้ทาน [6543-3d]
‘ทาน’ มาจากคำว่า “ทานญฺจ หรือ ทานัญจะ” ซึ่งมีทั้งการให้เพื่ออนุเคราะห์หรือสงเคราะห์ และการให้เพื่อบูชาคือทำบุญ “สิ่งที่จะทำจิตของเราไม่ก้าวหน้า แต่เศร้าหมอง หนึ่งในหลายๆ อย่างนั้น คือ ความตระหนี่”
“ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้ว ก็มีผล” ดังนั้น ‘ทาน’ จะมีผลอย่างไร ขึ้นอยู่ที่ของที่ให้ อยู่ที่เจตนาและศรัทธาของผู้ให้ และผู้รับ เปรียบผู้ให้ไว้กับเมล็ดพันธุ์ และผู้รับกับแปลงนา ดั่งคำว่า เนื้อนาบุญ
และเพราะการกำจัด การให้ การละออกไป เป็นความสามารถของจิตแบบเดียวกันกับการที่เราจะกำจัดกิเลสได้ แบบเดียวกันเพื่อที่จะให้เกิดสมาธิด้วย เกิดปัญญาด้วย ดังนั้น การให้ทานจึงเป็นพื้นฐานของศีล ของสมาธิ และของปัญญาด้วย ไล่เรียงกัน “ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา” มีผลเกี่ยวเนื่องกันเป็นตัวสนับสนุนในมงคลข้อต่อๆ ไป จนถึงนิพพานได้เลย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 25 Oct 2022 - 58min - 455 - มงคลชีวิต 15 #ทำงานไม่คั่งค้าง [6542-3d]
‘งาน’ คือ อะไรก็ได้ที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีวิธีการปฏิบัติ และจะเกิดความเป็นมงคลได้นั้น คุณธรรมในการทำงานให้สำเร็จ คือ อิทธิบาท 4
การเจริญอิทธิบาท 4 ต้องเข้าใจให้ถูก ต้องมีองค์ประกอบอีก 2 อย่าง คือ “ธรรมเครื่องปรุงแต่ง” หรือเป้าหมาย และประกอบด้วย “สมาธิ” ที่จะมาเชื่อมกับกิจแต่ละอย่างๆ คือ
“ฉันทะ” ความพอใจความเต็มใจ ที่ทำให้เริ่มลงมือทำ
“วิริยะ” ความเพียร ความกล้า ความกระตือรือร้น ความมีระเบียบวินัย ทำให้งานสำเร็จได้
“จิตตะ” ความใส่ใจ ถูกต้อง ตรวจสอบ ทำให้งานมีความต่อเนื่อง
“วิมังสา” การพินิจพิเคราะห์ แยกแยะพิจารณา เปลี่ยนแปลงให้งานนั้นๆ ดีขึ้น
ด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ตั้งไว้แล้ว จะทำให้การทำการงานนั้น ไม่ย่อหย่อน ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สยบในภายใน แต่สำเร็จ “การงานไม่อากูล” ลุล่วงไปได้นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 18 Oct 2022 - 1h 00min - 454 - มงคลชีวิต 14 #สงเคราะห์ภรรยา [6541-3d]
“ทารสงฺคห” คือ สงเคราะห์ภรรยา ซึ่งธรรมะลักษณะนี้เป็นธรรมที่มาคู่กัน อาศัยกันจึงเกิดขึ้น ‘ภรรยา’ คือ ผู้ควรถูกเลี้ยง ‘สามี’ คือ ผู้มีธรรมเป็นใหญ่ ผู้ที่อุปการะเลี้ยงดู
ในที่นี้ได้จำแนกลักษณะของคู่ครองไว้ไล่มาตั้งแต่คู่ครองที่ดีได้กุศล 4 ประเภท คือ เปรียบด้วยมารดา น้องสาว สหายและทาสี และอีก 3 ประเภทที่ไม่ได้สงเคราะห์กัน คือ เปรียบด้วยเพชฌฆาต โจร และนาย
ดังนั้นถ้าจะอยู่ร่วมกันแล้วเป็น ‘มงคล’ คือ โชคดี ทั้งสองฝ่ายต้องมีคุณธรรมต่างๆ สงเคราะห์กัน ทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง เพื่อที่จะ ‘สังคหะ’ คือ “ผูก-ยึด” คน 2 คนไว้กันได้ อันนี้จะเป็นมงคลในเรือน ที่ดีย่ิงกว่าวัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังใดๆ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 11 Oct 2022 - 1h 00min - 453 - มงคลชีวิต 13 #สงเคราะห์เลี้ยงดูบุตร [6540-3d]
“ปุตฺตสงฺหค” คือ สงเคราะห์บุตร ‘สงเคราะห์’ มาจากภาษาบาลีคำว่า ‘สงฺคห’ หมายถึง การดูแล ส่วน ‘บุตร’ มาจากภาษาบาลีคำว่า ‘ปุตฺต’ หมายถึง บุตรและธิดา ผู้ทำสกุลให้บริสุทธิ์ หรือผู้ยังดวงใจของพ่อแม่ให้เต็มอิ่มขึ้นมา
ลูกแบ่งตามสภาวธรรม คือ การให้กำเนิดได้ 3 แบบ คือ ลูกที่ให้กำเนิด ลูกที่นำมาเลี้ยงดู และลูกศิษย์ และแบ่งได้ตามภูมิ คือ อภิชาตบุตร อนุชาตบุตร และอวชาตบุตร ซึ่งการสงเคราะห์บุตรเจาะจงมาในเรื่องการเลี้ยงดูอย่างไรให้ดี
พ่อแม่ทำความดีแล้ว ก็ต้องเลี้ยงลูกให้ดี ด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน อาหารกาย และอาหารใจ ที่สำคัญคือ คุณธรรมของพ่อแม่ “ความดีความชั่วต้องรู้จักให้รู้จักป้องกัน” การเลี้ยงดู “อย่าตามใจเกินไปอย่าบังคับเกินไป” “อย่าใช้อารมณ์ อย่าใช้กิเลส แต่ใช้ความดี กันจากความชั่ว ใช้ความดีปลูกฝังความดี” สงเคราะห์ให้เขาตั้งอยู่ในธรรมได้นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 04 Oct 2022 - 1h 02min - 452 - มงคลชีวิต 12# การบำรุงบิดามารดา [6539-3d]
“มาตาปิตุอุปัฏฐานัง” การบำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา เป็นมงคลที่เป็นลักษณะของการแสดงออกถึงความดีของเรากับคนใกล้ตัวก่อน นั่นคือ มารดาบิดา ที่เรียกว่า “อุปัฎฐานัง”คือ การอุปัฏฐากอุปถัมภ์ บำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา และกระทำตอบที่เหมาะสมกัน หลักๆ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ กตัญญู (รู้คุณ) และกตเวที (การกระทำตอบความดีนั้น) หรือในหน้าที่ต่อทิศทั้ง 6 ซึ่งเวลาที่เราจะรู้คุณก็ต้องรู้ด้วยปัญญา ต้องเข้าใจให้ถึงในจิตใจของเราว่า คนๆ นี้เขามีคุณอย่างไร
คือถ้าเราเข้าใจแยกแยะระหว่างคำว่า พ่อกับบิดา แม่กับมารดาได้ว่าการบำรุงเลี้ยงดูเป็นลักษณะคุณธรรมที่สำคัญของความเป็นมารดาบิดา เข้าใจในคุณธรรมของความเป็นมารดาบิดาในความเป็นพรหม คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาในบุตรธิดา ชนิดที่ไม่มีประมาณ ไม่มีหมด และไม่มีเงื่อนไข เข้าใจในความเป็นความเป็นบูรพาจารย์ คือ อาจารย์คนแรกที่แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย เข้าใจในความเป็นผู้บำรุงเลี้ยง คือ ให้เลือดหมายถึงน้ำนมให้ดื่มกิน ให้อาหารเลี้ยงดูจนเติบโตขึ้นมาได้ รักษาจากเหลือบยุงลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย และเพราะมีคุณธรรมมีคุณสมบัติของความเป็นมารดาบิดา ท่านจึงเป็นอาหุเนยยะบุคคล
ส่วนความกตเวที คือ การกระทำตอบ กระทำตอบต่อมารดาบิดาชนิดที่เหมาะสมเสมอกัน ก็คือด้วยการประดิษฐานให้ท่านมีคุณธรรมที่สูงยิ่งขึ้นไป นั่นคือ ให้ท่านมีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา จะเป็นคุณธรรมที่ทำให้ไปเป็นเทวดา เกิดในสุคติได้ ซึ่งในคุณธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ มีความหมายที่ลึกซึ้งของการดำรงวงศ์สกุล วงศ์ในที่นี้เราหมายถึงอริยวงศ์ หมายถึงศากยวงศ์ คือ วงศ์ของผู้ที่หนักแน่น หนักแน่นในความดี วงศ์ของผู้ประเสริฐ มีคุณธรรมของผู้ประเสริฐเขาจะมีกัน เพราะฉะนั้นการกระทำตอบที่เหมาะสม คือ นอกจากการบำรุงเลี้ยงดูท่านแล้ว หยั่งให้ท่านตั้งอยู่ในความดี และในการที่จะให้ท่านอยู่ในความดีเราก็ต้องมีความดีด้วยเช่นกัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 27 Sep 2022 - 1h 00min - 451 - มงคลชีวิต 11 # มีวาจาสุภาษิต [6538-3d]
‘วาจา’ มีทั้งที่เป็นสุภาษิต และทุพภาษิต อย่างไรก็ตาม การฝึกให้มี ‘วาจาสุภาษิต’ วาจาที่ไม่มีโทษ จะก่อให้เกิดอานิสงส์ และมงคลแก่ชีวิตของเราได้
โดยในอังคุตตรนิกาย ‘วาจาสูตร’ นั้นมีองค์ 5 ประการ ได้แก่ พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำประกอบด้วยประโยชน์ และพูดด้วยเมตตาจิต
‘พูดถูกกาล’ นั้น ต้องพิจารณาถึง เวลา สถานการณ์ และสถานที่ที่จะพูด
‘พูดคำจริง พูดคำอ่อนหวาน และพูดคำประกอบด้วยประโยชน์’ นั้น เป็นส่วนของคำพูด ซึ่งต้องพิจารณาใคร่ครวญ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากที่พูดไปแล้วด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น
และ ‘พูดด้วยเมตตาจิต’ นั้น เป็นเจตนาให้ผู้ฟังได้ดี ได้ประโยชน์โดยไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน คือ มีเมตตาจิตเป็นพื้นฐาน ซึ่งยังรวมถึง เจตนาที่จะไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดยุยงให้แตกกัน และไม่พูดเพ้อเจ้อ อีกด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 20 Sep 2022 - 1h 01min - 450 - มงคลชีวิต 10 # มีวินัยดี [6537-3d]
การมีวินัยดี ทางโลก ได้แก่ การปฏิบัติตาม กฎกติกา กฎหมาย เป็นต้น ส่วนทางธรรมนั้น ได้แก่ การตั้งอยู่ในศีลนั่นเอง
การมีวินัยดี คือ ตั้งอยู่ในศีล นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ตน และส่วนรวมให้เกิดความเลื่อมใส ความผาสุก ยังเป็นอริยทรัพย์ และช่วยให้พระสัทธรรมตั้งมั่นอยู่ได้นานอีกด้วย
‘วินัย คือ ศีล นำไปดี นำไปแจ้ง นำไปต่าง’ เพราะคนธรรมดา เป็นคนที่ดีได้ หากตั้งอยู่ในศีล พระปลอมหรือพระจริง ก็แจ้งชัดได้ด้วยศีล นักเลงหรือตำรวจ ก็แยกต่างกันได้ด้วยศีล นั่นเอง
# มงคลคาถากลุ่ม 3 ฝึกให้เป็นคนมีประโยชน์ทางกาย คือ ข้อ 7 ศึกษาให้มาก เป็นพหูสูต ข้อ 8 แล้วฝึกฝนจนชำนาญเป็นศิลปอาชีพ และข้อ 9 ทำอาชีพของตนนี้ ให้อยู่ภายใต้วินัยที่ดี คือ ศีล นั่นจะทำให้ชีวิตเราเป็นมงคลได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 13 Sep 2022 - 1h 00min - 449 - มงคลชีวิต 9 # มีศิลปวิทยา [6536-3d]
‘สิปฺปญฺจ หรือ ศิลปะ’ หมายถึง การมีความชำนาญ หรือทักษะในงานของตน หรือ ‘หัตถโกศล’ คือ ฉลาดลงมือทำด้วยตนเอง
ความเป็นมงคลในชีวิต คือ การเล่าเรียนวิชาต่าง ๆ (พหูสูต) แล้วนำไปประกอบเลี้ยงชีพ (ศิลปะ) ให้ประสบความสำเร็จในชีวิต(ผล) ที่ดีได้ ในทางธรรมก็เช่นกัน เราต้องมีทั้งปริยัติ (ศึกษา) ปฎิบัติภาวนา (ฝึกทักษะ) เพื่อให้เกิด ปฎิเวธ (ปัญญา) ได้นั่นเองนอกจากนี้ ศิลปะยังต่างจากสัมมาอาชีวะในอริยมรรค 8 ที่หมายถึงการดำเนินชีวิตชอบด้วย
ทั้งนี้ เราต้องอาศัยศรัทธา ความเพียร ความมีอาพาธน้อย การไม่โอ้อวดไม่มีมายา และปัญญา รวมทั้งบัณฑิต เพื่อชี้ให้เห็นช่องทาง เพื่อพัฒนาศิลปะของเราให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 06 Sep 2022 - 1h 03min - 448 - มงคลชีวิต 8 # พหูสูต [6535-3d]
‘พาหุสัจจะ’ หรือ ‘พหูสูต' ได้แก่ ผู้ที่ได้สดับฟังมาก ซึ่งผู้ที่อาศัยการฟังบ่อยๆ แล้วนำข้อมูลนั้น มาพิจารณาใคร่ครวญโดยแยบคาย จะสามารถก่อให้เกิดปัญญาได้ ดังนั้น ‘พหูสูต' จึงมีปรากฎอยู่ในธรรมหลายหมวดมาก
การเรียนรู้ที่ดี ต้องเรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม คือ นอกจากเพื่อการหาเลี้ยงทางกายแล้ว จิตใจก็ควรตั้งอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา ด้วย
ทั้งนี้ ท่านพระอานนท์ ผู้เป็นเลิศในด้านพหูสูต ได้กล่าวถึง คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นพหูสูตคือ ต้องเป็นผู้ฉลาดในอรรถ ในธรรม ในพยัญชนะ ในนิรุตติ และฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย นั่นเอง
#มงคลคาถากลุ่มที่ 3 ข้อ 7 พาหุสัจจะ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 30 Aug 2022 - 1h 01min - 447 - มงคลชีวิต 7 # ตั้งตนไว้ชอบ [6534-3d]
‘อตฺตสมฺมาปณิธิ จ’ หมายถึง ตั้งตนไว้ชอบ ในที่นี้คือ การตั้งจิต เพื่อรักษากาย และจิตใจ ให้อยู่ในทางที่เป็นกุศลธรรมในปัจจุบัน ซึ่งท่านพระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ทางที่ปลอดภัยไว้ให้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง
การ ‘ตั้งจิตไว้ถูก’ ไม่ว่าจะเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่ นั่นจึงเป็นมงคล ท่านยังทรงตรัสให้เรานึกถึงศีล นึกถึงโสตาปัตติยังคะ 4 ให้มีปีติ สุข อันเกิดจากศรัทธาที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งจะช่วยให้ชนะอุปสรรคได้ เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้ที่ ‘ตั้งตนไว้ชอบแล้ว’ จะยังผลให้เกิดแก่ตนเองทั้ง ชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูงสุด ได้แน่นอน
อนึ่ง การมีวาสนามาก่อนนั้น ทำให้เราได้เกิดเป็นมนุษย์ การอยู่ในปฏิรูปเทศ คือ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีธรรมให้ฟัง และการตั้งตนชอบ เช่น การฟังธรรม แทนฟังเพลง นี่คือ เรามีมงคลข้อ 4-6 แล้วนั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 23 Aug 2022 - 1h 02min - 446 - มงคลชีวิต 6 # มีบุญวาสนา [6533-3d]
ท่านพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน “ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา” ทำความดีไว้ก่อน เพราะ ‘บุญ’ เป็นชื่อของความสุข
บาปที่สะสมไว้ เรียกว่า ‘อาสวะ’ ตรงข้ามกับ บุญที่สะสมไว้ๆ เรียกว่า ‘วาสนา’ ผู้ไม่ประมาทจึงต้องสะสมบุญความดีไว้ให้มาก จนเป็นวาสนา เพื่อผลในปัจจุบัน และต่อๆ ไป เหมือนดอกเบี้ยทบต้น
ทั้งนี้ ‘การทำดี’ (บุญกิริยาวัตถุ 10) ทำได้หลายทาง โดยกล่าวไว้ 2 นัยยะ นัยยะแรก คือ ทางกาย 3 วาจา 4 และใจ 3 และอีกนัยยะ คือ ทาน ศีล ภาวนา ความอ่อนน้อม การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยแรง และปัญญา การแผ่อุทิศส่วนบุญ การอนุโมทนาบุญ การฟังธรรม การสอนธรรม และการทำความเห็นให้ตรง นอกจากนี้ ในกัมมวิภังคสูตร ยังอธิบายถึงลักษณะของ อายุ หน้าตา ยศ ฐานะ เป็นต้น ที่เป็นผลของการสะสมบุญวาสนามานั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 16 Aug 2022 - 59min - 445 - มงคลชีวิต 5 # อยู่ถิ่นที่เหมาะสม [6532-3d]
‘อยู่ในปฎิรูปเทส’ หมายถึง อยู่ในถิ่นที่มีสิ่งแวดล้อมดี เหมาะสม
โดยเราสามารถเลือกถิ่นที่อยู่ที่เหมาะสม หรือทำถิ่นที่อยู่นั้นให้เหมาะสมขึ้นมา ให้ร่างกาย และจิตใจของเราเกิดความสบาย จุดประสงค์เพื่อให้สามารถตั้งอยู่ในธรรม และบรรลุธรรมได้นั่นเอง
ในที่นี้ ท่านจึงให้พิจารณาเรื่อง ‘สัปปายะ 4’ ได้แก่ ที่อยู่ อาหาร บุคคล และธรรมะ รวมทั้ง ‘สัปปายะ 7’ ซึ่งเพิ่มในส่วน ที่โคจร การพูดคุย ดินฟ้าอากาศ และอิริยาบถ รวมถึงเรื่อง ‘อนุตริยะ 6’ ได้แก่ การเห็น การฟัง การได้มีศรัทธา การศึกษา การบำรุง และการตามระลึกในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วย นั่นจึงจะเป็นถิ่นที่อยู่ที่เลิศทีเดียว
(มงคลฯ กลุ่มที่ 2 ข้อ 4-6 คือ อยู่ในปฏิรูปเทส ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน และตั้งตนไว้ชอบ)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 09 Aug 2022 - 1h 00min - 444 - มงคลชีวิต 4 # สิ่งที่ควรบูชา [6531-3d]
‘ปูชา จ ปูชนียานํ’ การบูชาสิ่งที่ควรบูชา ในทางพุทธศาสนา ได้แก่ การบูชาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
การบูชาจำแนกได้ 4 รูปแบบ เริ่มจาก การชื่นชอบในการคบหาบัณฑิตนั้น นับเป็นการบูชาอย่างหนึ่ง คือ ‘ปัคคัณหะ’ เมื่อชื่นชอบจึงมีการนำธูปเทียน ของหอม และสิ่งของไป ‘สักการะ’ เป็นอามิสบูชา และเมื่อมี ‘สัมมานะ’ คือ ศรัทธาตั้งมั่น จึงมีการ ‘ปฏิบัติบูชา’ ในที่สุด
‘การบูชา’ ไม่ใช่ ‘ความงมงาย’ การเตรียมเครื่องบูชานั้น เป็นเหมือนอุปกรณ์ เป็นเหมือนเครื่องนำ ทำให้จิตใจของเรามีความนิ่มนวล เกิดความดีงามขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ ‘ความกตัญญู’ ก็ต่างจาก ‘การบูชา’ การกระทำตอบจึงควรยึดหลักศีลธรรมเป็นพื้นฐาน
ทั้งนี้ การบูชายังเกิดอานิสงส์ คือ เป็นการไล่เสนียด ป้องกันการหลงผิด อบรมจิตให้ดีขึ้น และผลในทางปาฎิหาริย์อีกด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 02 Aug 2022 - 1h 01min - 443 - มงคลชีวิต 3 # คบบัณฑิต [6530-3d]
การ ‘คบบัณฑิต’ เป็นมงคลชีวิตข้อที่สอง โดย ‘บัณฑิต’ ใน พาลบัณฑิตสูตร มีลักษณะ 3 อย่าง คือ มักคิดความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี มักทำการทำที่ดี หรือ กุศลกรรมบท 10 นั่นเอง
การ ‘คบบัณฑิต’ นั้น ก็คือ การรับแนวความคิด แนวการปฏิบัติ รวมถึงการให้การสนับสนุน และทำไปในแนวทางเดียวกัน โดยผู้ที่สามารถแยกแยะ ‘รู้สิ่งที่ผิด–รู้สิ่งที่ถูก’ ได้นั้น ถือว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติของบัณฑิต สามารถฝึกพัฒนาตนให้ยิ่งขึ้นได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ฝึกฝนตนให้ คิด พูด ทำดี ได้เป็นปกตินั้น จึงเป็นบัณฑิต ผู้รู้ประโยชน์ ทั้งในปัจจุบัน ในเวลาต่อมา และที่สุดอีกด้วย
อนึ่ง มงคลชีวิต 38 ประการ ได้แบ่งออกเป็น 10 คาถา (บทร้อยกรอง) ดังนี้ 1. ดูวงนอก ผู้อื่น (มงคลฯ ข้อที่ 1-3), 2. ดูวงใน สร้างความพร้อมในตน (ข้อ 4-6), 3. ฝึกตนให้มีประโยชน์ (ข้อ 7-10), 4. ทำประโยชน์ต่อครอบครัว (ข้อ 11-14), 5. ทำประโยชน์ต่อสังคม (ข้อ 15-18), 6. ปรับสภาพจิตใจให้พร้อม (ข้อ 19-21), 7. แสวงหาธรรมเบื้องต้น (ข้อ 22-26), 8. แสวงหาธรรมเบื้องสูง (ข้อ 27-30), 9. ฝึกทำกิเลสให้สิ้นไป (ข้อ 31-32), 10. เรื่องของปัญญา (ข้อที่ 33-38)
ทั้งนี้ คาถากลุ่มแรกคือ ไม่คบคนพาล, คบบัณฑิต และบูชาคนที่ควรบูชา ซึ่งการบูชานั้นมี 4 รูปแบบ เริ่มจากปัคคัณหะ (การยกย่อง) และอีก 3 แบบ จะกล่าวในตอนต่อไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 26 Jul 2022 - 1h 01min - 442 - มงคลชีวิต 2 # ไม่คบคนพาล [6529-3d]
‘ไม่คบคนพาล’ เป็นมงคลข้อแรก ที่ท่านพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า เกิดความดีขึ้นในชีวิต
เพราะความพาลนั้น คล้ายดั่งเชื้อโรค ติดต่อกันได้ การคบคนพาล จึงจะทำให้ความคิด การพูด หรือการกระทำของเราเป็นไปในทางอกุศลได้
‘คนพาล’ จะมีลักษณะ 5 ประการคือ จะชักนำไปในทางที่ผิด เห็นผิดเป็นชอบ ทำในสิ่งที่ธุระไม่ใช่ พูดดีๆ ด้วยก็โกรธ และไม่รับรู้ระเบียบวินัย ทั้งนี้ แยกแยะได้ โดยเราพิจารณาจาก กุศลธรรม เป็นที่ตั้ง
แน่นอนว่า บางครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอกับคนพาล และจำเป็นต้องอยู่ใกล้กัน แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องคบหาเสวนาด้วย ทั้งนี้ การ ‘เลือกคบบัณฑิต’ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี ซึ่งจะขอกล่าวในตอนต่อไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 19 Jul 2022 - 59min - 441 - มงคลชีวิต 1 # การดำเนินชีวิตที่เป็นมงคล [6528-3d]
‘มงคล’ หมายถึง ธรรมที่จะนำมาซึ่งความเจริญในชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านทรงประกาศไว้ 38 ประการ เป็นสิ่งที่ต้องลงมือทำเอง ทั้งกาย วาจา และใจ ไปตามลำดับ โดยจะจัดทำเป็น‘ซีรีส์มงคลชีวิต’ ไว้ สำหรับพรรษากาลปีนี้
มงคลข้อแรก คือ ‘การไม่คบคนพาล’ ได้แก่ ผู้ที่มีกำลังความดีน้อย ไม่เกี่ยวกับกำลังกาย หรือกำลังความรู้ โดยใน ‘พาลบัณฑิตสูตร’ กล่าวถึง เครื่องหมายที่เห็นได้ชัด 3 ประการ คือ ความคิด คำพูด และการกระทำที่มักจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี หรืออกุศลกรรมบท 10 นั่นเอง ซึ่งก็จะตรงข้ามกับบัณฑิต
นอกจากนี้ ใน ‘อกิตติชาดก’ ยังอธิบายคนพาลไว้ว่า มีลักษณะ 5 ประการ คือ คนพาลมักจะชักนำไปในทางที่ผิด, มักทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ, มักจะเห็นผิดเป็นชอบ, ถึงพูดดีให้ก็โกรธ และไม่รับรู้ระเบียบวินัย ซึ่งจะอธิบายในตอนหน้าต่อไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 12 Jul 2022 - 1h 02min - 440 - ลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้า [6527-3d]
‘สวากขาตธรรม’ เป็นพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ มีลักษณะ 3 ประการคือ 1. เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง 2. ประกอบด้วยเหตุผลพร้อม และ 3. ทำให้เกิดความน่าอัศจรรย์
โดยแบ่งเป็น พระธรรมและพระวินัย เป็นการแสดง เทศนาและสัจจะ ที่มีทั้ง สมมติและปรมัตถ์ ควบคู่กัน โดยอาจยกบุคคลหรือสภาวะธรรมขึ้นอธิบาย พร้อมอัตถะ คือ ความหมายตรงหรือที่ซ่อนอยู่ ทั้งนี้ คำสอนมีทั้งปริยัติและปฎิบัติ สอดคล้องตามกิจในพระศาสนา คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ นั่นเอง โดยคำสอนทั้งหมดรวมเรียกว่า นวังคสัตถุสาสน์ มี 9 ประเภทด้วยกัน ซึ่งสามารถกล่าวโดยสรุปแก่เหล่าพุทธบริษัท เป็นพุทธโอวาท 3 คือ “ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี และทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์”
นอกจากนี้ ท่านพระพุทธเจ้ายังทรงบัญญัติ ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 7 และ 8 ประการไว้ด้วย ที่เหมือนกัน คือ เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันอาสวะ โทษภัย และอกุศลที่จะเกิดในปัจจุบันหรืออนาคต และเพื่อความผาสุก ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ฯลฯ นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 05 Jul 2022 - 59min - 439 - อธิษฐาน 4 พละ 4 [6526-3d]
การจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ ต้องอาศัยความตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้า ในทีฆนิกาย กล่าวถึง ‘อธิษฐาน’ ซึ่งไม่ใช่การร้องขอ แต่หมายถึง ธรรม 4 ประการ ที่ควรตั้งมั่นไว้ในใจ ได้แก่ ปัญญา (ใช้พิจารณา) สัจจะ (ทำให้เกิดขึ้นจริง) จาคะ (สละความเคยชินที่ไม่ดีออก) และอุปสมะ (ความสงบ)
ซึ่งสัมพันธ์กับหมวดธรรมในอังคุตรนิกาย ที่กล่าวถึง ‘พละ 4’ คือ กำลัง ได้แก่ ปัญญาพละ (ปัญญา) วิริยพละ (ความเพียร) อนวัชชพละ (กรรมที่ไม่มีโทษ) และสังคหพละ (การสงเคราะห์)
กล่าวคือ ‘อธิษฐาน 4’ และ ‘พละ 4’ นั้น เริ่มจากปัญญาเหมือนกัน อาทิ เห็นสิ่งที่เป็นกุศล-อกุศล คุณ-โทษ เกิด-ดับ เป็นต้น โดยสามารถตั้ง ‘อธิษฐาน’ เป็นวิริยพละ หรือนำ ‘พละ’ ไปเกื้อหนุนอธิษฐานในการทำสิ่งนั้น ที่เป็นกุศลด้วยกาย วาจา และใจ ให้สำเร็จเป็นจริงขึ้นมาได้ ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีพละ 4 นี้ จะทำให้ไม่หวั่นไหวต่อภัย 5 ประการในการดำเนินชีวิตอีกด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 28 Jun 2022 - 58min - 438 - ตัณหาสอง [6525-3d]
ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ในสังยุตตนิกายได้อธิบายถึงตัณหา 2 ได้แก่ ตัณหาให้เกิดการแสวงหา และตัณหาให้เกิดอุปาทาน ที่อาศัยเหตุเป็นไป จนเกิดเป็นบาปอกุศลได้
กล่าวคือ เพราะมีตัณหาจึงทำให้เกิดการแสวงหา และเมื่อหามาได้ จะมีการปลงใจรัก ความกำหนัดพอใจ สยบมัวเมา จับอกจับใจ และจึงเกิดความตระหนี่ หวงกั้นขึ้นโดยเริ่มจากใจ ขยายไปทางกาย วาจา ให้เกิดอกุศลธรรมได้ รวมถึงเกิดอุปาทาน 4 คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน อันก่อให้เกิดภพ เกิดชาติ ฯลฯ เพราะความยึดถือต่อไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ตัณหาทุกอย่างนั้นเกิดจากเวทนา และเวทนานั้นเกิดจากผัสสะ ดังนั้น จึงต้องใช้ ‘สติ’ มีสติรู้แต่ไม่ตามผัสสะ เวทนาก็จะไม่เกิด เมื่อเวทนาไม่เกิด ตัณหาก็เกิดขึ้นไม่ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 21 Jun 2022 - 58min - 437 - กีฬาในฌาณ [6524-3d]
การฝึก ‘การทำให้มีกำลังในสมาธิ’ และ ‘การทำจิตให้อยู่ในอำนาจ’ ในอังคุตตรนิกายหมวด 6 และ 7 นั้น มีความสอดคล้องในการปฏิบัติ จึงนำมารวมกันได้ 8 ประการ คือ (1) ฉลาดในสมาธิ หมายถึง ความชำนาญ แตกฉานในองค์ประกอบต่างๆ ของสมาธิที่รวมกันเป็นหนึ่งนั้น (2-4) ฉลาดในการเข้า-ดำรงอยู่-ออกจากสมาธิในแต่ละขั้นๆ ในทุกอิริยาบถ ทั้งนี้ การเข้าสมาธิได้ง่าย ต้องอาศัยความอดทน มีสติไม่ไปตามผัสสะต่างๆ ที่มากระทบ (5) ฉลาดในความเหมาะสมแห่งสมาธิ คือ เจริญสมถะ วิปัสสนา อุเบกขา หรือโพชฌงค์ 7 ตามสถานการณ์ (6) ฉลาดในธรรมเป็นที่โคจร ที่เอื้อต่อสมาธิ เช่น ศีล และศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ (7) ฉลาดในการทำสมาธิโดยติดต่อ คือ เพียรรักษาสมาธิไว้ตลอดเวลา และ (8) ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ คือ ปัญญา นั้นเอง เหมือนฝึกกีฬาให้มีความชำนาญขึ้นๆ เราก็จะเป็นผู้ถึงความมีกำลังในสมาธิ มีอำนาจเหนือจิตได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 14 Jun 2022 - 59min - 436 - อนาคตภัย 5 ประการ [6523-3d]
ภัยในอนาคต 5 ประการ ได้แก่ ความแก่ชรา ความป่วย การเกิดทุพภิกขภัย สงคราม และสมัยที่สงฆ์แตกกัน
ท่านพระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ เราควรร้อนใจในการเร่งทำความเพียรตอนนี้ ด้วยการเจริญมรรค 8 เพื่อให้เกิด ‘ปัญญา’ เป็นอันดับสูงสุด ซึ่งจิตจะมีปัญญาได้ ต้องมี ‘สติรักษาจิตให้เป็นสมาธิ’ ไม่ให้ไปเสวยอารมณ์ต่างๆ ทั้งสุขหรือทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ พิจารณาเห็นเวทนาเป็นของไม่เที่ยง ไม่ควรยึดถือ ตัดความยึดถือ คือ อุปาทาน นั้นด้วยปัญญา ‘แยกกายแยกจิตออกจากกัน’
อนาคตเมื่อร่างกายเกิดทุกข์ เพราะความชรา เจ็บป่วยบ้าง ยากต่อการอยู่อย่างสงบ เพราะอาหารขาดแคลน หรือสงครามบ้าง หรือเพราะสงฆ์ และคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปบ้าง เราก็จะยังอยู่ผาสุกได้ด้วย ‘จิตที่มีปัญญา’ นี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 07 Jun 2022 - 58min - 435 - สิ่งที่ควรเคารพ 6 ประการ [6522-3d]
คารวะ หมายถึง การทำความเคารพ เพราะตระหนักเห็นถึงคุณค่า และความสำคัญในสิ่งนั้น
โดยในอังคุตตรนิกายกล่าวถึง ‘คารวตา’ มี 6 ประการ ได้แก่ สัตถุคารวตา ธัมมคารวตา สังฆคารวตา คือ ความเคารพในพระพุทธเจ้า และการตรัสรู้ของพระองค์ ในพระธรรมที่พระองค์ทรงประกาศไว้ด้วยปัญญาอันยิ่ง และในหมู่สงฆ์ผู้ปฏิบัติชอบ นอกจากนี้ ยังมี สิกขาคารวตา อัปปมาทคารวตา และปฏิสันถารคารวตา คือ ความเคารพในการศึกษา ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ให้อยู่ในกรอบของศีล สมาธิ ปัญญา ในความไม่ประมาทด้วยการมีสติ และในปฏิสันถารต่อผู้อื่นด้วยการพูดที่ดี
‘คารวตา 6’ นี้ เป็นสิ่งที่เราควรใส่ใจ เพราะการตระหนักรู้ถึงคุณค่า และการปฎิบัติต่อด้วยความเคารพหนักแน่นนั้น เป็นบุญ เป็นปัญญา เป็นการเพิ่มคุณค่า คือ คุณธรรมให้กับตนเอง เป็นการเคารพต่อตนเองด้วย นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 31 May 2022 - 57min - 434 - ธรรมที่เป็นที่พึ่ง [6521-3d]
‘นาถกรณธรรม’ เป็นธรรมหมวด 10 ในอังคุตรนิกาย กล่าวถึง ธรรมที่เป็นที่พึ่ง 10 ประการด้วยกัน
การที่เราน้อมระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งนั้น ไม่ใช่ด้วยการสวดมนต์ อ้อนวอนเท่านั้น แต่รวมถึงการที่เราต้องประกอบตนให้มีคุณธรรม คือ ‘นาถกรณธรรม’ นี้ เพื่อให้เกิดปัญญาในการชำแรกกิเลสด้วย
ทั้งนี้ ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีคุณธรรมต่างๆ มาประกอบเช่นกัน เริ่มจากต้องมี ศีล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด การฟังธรรมให้มาก มีกัลยาณมิตร เป็นผู้ว่าง่าย ใส่ใจการงาน ใคร่ในธรรมเพื่อต่อยอดความรู้ ปรารภความเพียร สันโดษ มีสติ และเกิดปัญญา ในการเห็นการเกิด-ดับ เพื่อละวางความยึดถือ ให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้ นี้จึงเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 24 May 2022 - 58min - 433 - คำพูดที่ควรกล่าว [6520-3d]
คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ ท่านพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไว้ถึง ‘กถาวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ควรพูด นอกเหนือจาก คำพูดที่เว้นขาดจากการพูดโกหก ส่อเสียด หยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อ
และ ‘อักโกสวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ไม่ควรพูด เพราะไม่มีประโยชน์ และทำความเจ็บช้ำน้ำใจแก่ผู้อื่น ได้แก่ ชาติกำเนิด ชื่อ โคตร อาชีพ ศิลปะ (ฝีมือ) โรค รูปพรรณสัณฐาน กิเลส อาบัติ และคำสบประมาทอื่น ๆ
ส่วน ‘กถาวัตถุ 10’ เรื่องที่สมควรพูด ได้แก่ ถ้อยคำให้เกิดความมักน้อย คือ ไม่โอ้อวด ความสันโดษ เกิดความสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ให้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
ซึ่งการพูด ‘กถาวัตถุ 10’ ให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลาได้นั้น นอกจากจะเป็นสัมมาวาจาแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างสัมมาสติ สัมมาวายามะ และสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ ไปตามทางมรรค 8 พร้อมกันอีกด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 17 May 2022 - 1h 00min - 432 - ชนะด้วยปัญญา [6519-3d]
ปัญญาจัดเป็นอันดับสูงสุด จะเกิดขึ้นได้ก็จากคุณธรรมต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน อย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งคุณธรรมที่จะทำความแกล้วกล้า เพื่อให้เกิดปัญญา ท่านกล่าวถึง เวสารัชชกรณธรรม 5 ได้แก่
1. ศรัทธา ความมั่นใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในหลักคำสอน และในหมู่สงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
2. ศีล ความเป็นปกติ ในที่นี้รวมถึง การมีวินัยด้วย เช่น การตื่นเช้า การประมาณในการบริโภค เป็นต้น
3. พาหุสัจจะ การเป็นผู้ศึกษาให้มากทั้งใน และนอกระบบ
4. วิริยารัมภะ การลงมือทำจริง ด้วยความมีสติแยกแยะ และจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ
5. ปัญญา ความรอบรู้ อันเกิดจากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง
และจากปัญญาที่เกิดนี้ ก็จะก่อให้เกิดผลสะท้อนกลับ (feedback loop) นั่นคือ ศรัทธาที่เพิ่มมากขึ้น วนไปอีก สังเกตุ ปรับ พัฒนา ก็จะทำให้ปัญญาของเราแหลมคมยิ่งขึ้น เห็นตามความเป็นจริงได้ จนถึงที่สุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 10 May 2022 - 59min - 431 - คุณสมบัติของคนดี [6518-3d]
‘สัตบุรุษ หรือสัปปบุรุษ’ หมายถึง คนดี เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ตามจูฬปุณณมสูตร คือ ผู้มี ‘ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสูต ความเพียร สติมั่นคง และปัญญา’ โดยทั่วไป เราจะพิจารณาว่าใครเป็นคนดี ก็โดยเทียบจากคุณธรรมที่กล่าวนี้ จากมิตรสหายที่บุคคลนั้นคบหา จากความคิด การให้คำปรึกษา วาจา 4 การกระทำ ทิฐิความเห็น และทานที่ให้
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ ‘อุบาสกธรรม 7’ คือ คุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี และ ‘กัลยาณมิตรธรรม 7’ คือ คุณสมบัติของมิตรแท้ และ ‘สัปปุริสธรรม 7’ ในธัมมัญญูสูตร อันเป็นคุณสมบัติของสัตบุรุษ ที่เปรียบดั่งคุณธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ
คุณธรรมเหล่านี้ ศึกษาเพื่อเป็นบรรทัดฐาน พัฒนาจุดที่ยังมีน้อยอยู่ หรือหากมีคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว ก็รักษาคงไว้เพื่อความดีงาม และความเจริญต่อไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 03 May 2022 - 58min - 430 - อริยบุคคลผู้อยู่ด้วยความประมาท [6517-3d]
ในธรรมวินัยนี้ อริยบุคคล แปลว่า คนประเสริฐ หมายถึง ผู้ที่ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ 4 ดำเนินไปตามมรรค 8
อย่างไรก็ตาม ในนันทิยสูตร ท่านพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า อริยบุคคลผู้ซึ่งพอใจเพียงโสตาปัตติยังคะ 4 เท่านั้น นับว่ายังประมาทอยู่ และกล่าวถึงอริยบุคคลผู้ไม่ประมาทว่า คือ ผู้ที่พยายามทำให้ยิ่งขึ้นไป ด้วยการปวิเวกในเวลากลางวัน หลีกเร้นในเวลากลางคืน จิตสงบเป็นสมาธิ มีสติปัฎฐาน 4 โพชฌงค์ 7 เป็นต้น เพื่อการตรัสรู้ธรรมที่ยิ่งขึ้นไป จนถึงที่สุดแห่งธรรม
ทั้งนี้ อริยบุคคลแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ธัมมานุสารี สัทธานุสารี คือ โสดาปัตติมรรค ด้วยความไม่ประมาทแล้วพัฒนาขึ้นเป็น กายสักขี ทิฏฐิปปัตตะ สัทธาวิมุต ก็คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ในขั้นผล และที่สุดได้แก่ อุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต ซึ่งก็คือ พระอรหันต์ ตามลำดับ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 26 Apr 2022 - 59min - 429 - ห้ายุคพุทธศาสนา [6516-3d]
เป็นเรื่องราวในส่วนของเถรคาถา กล่าวถึงยุคของพุทธศาสนาตามนัยในพระไตรปิฏก โดยอธิบายแบ่งไว้เป็น 5 ยุค ได้แก่ วิมุตติยุค สมาธิยุค ศีลยุค สุตยุค และทานยุค
เริ่มตั้งแต่วิมุตติยุค คือ สมัยที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ที่ผู้คนสมัยนั้นบรรลุธรรมได้โดยง่าย ต่อมาการเริ่มมีวัดในชุมชน ต่อมาเป็นการปฎิบัติที่เน้นไปในเรื่องของศีล การเกิดสัทธรรมปฎิรูป จนถึงทานยุคที่เน้นการให้ทาน
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะอยู่ในยุคสมัยใดก็ตาม ด้วยทิฐิที่ถูกต้อง และด้วยการปฏิบัติ เริ่มจากการให้ทาน การฟังธรรม การรักษาศีล การเจริญสมาธิ และพัฒนาจนเกิดเป็นปัญญา ให้ถึงวิมุตติอันเป็นแก่นของพุทธศาสนา นั่นก็เท่ากับเราได้สร้างยุคต่างๆ เหล่านี้ให้เจริญขึ้นแล้วในใจของเรานั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 20 Apr 2022 - 1h 01min - 427 - สิ่งต้องมี ที่ตั้งอาศัย [6515-3d]
ท่านพระพุทธเจ้าได้ทรงประทานโอกาส หรือแนวทางไว้ เพื่อให้เราสามารถพัฒนาธรรมในจิตใจของเราให้เกิดปัญญาสูงสุดได้ ทั้งนี้ เราต้องเข้าใจในหลักการ 3 ข้อคือ 1.ทุกอย่างมีเหตุมีผลเสมอ 2. ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ 3. พัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์
‘ธรรมเป็นสิ่งต้องมีที่ตั้งอาศัย’ กล่าวคือ ศีลมีอินทรีย์สังวร และหิริโอตัปปะเป็นที่ตั้ง และศีลเองก็เป็นที่ตั้งอาศัยของธรรมที่ทำให้สามารถรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง ‘การปลูกศรัทธา’ เพื่อให้เราตั้งตนอยู่ในธรรม
และอุปนิสสูตรกล่าวถึง การทำนิพพานให้แจ้งตามหลักปฏิจจสมุปบาท ไปจนถึง ศรัทธานี้มีทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัย และศรัทธาก็เป็นที่ตั้งของธรรมที่จะทำให้ถึงความดับทุกข์ได้เช่นกัน
เราจะมีศรัทธาในทุกข์ได้นั้น ต้องอาศัย ‘ปัญญา’ นั่นเป็น สัมมาทิฐิ กับสัมมาสังกัปปะ ดังนั้น ยถาภูตญาณทัสสนะ และนิพพิทาญาณ จึงเป็นส่วนของ ‘สมาธิ’ และความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข จึงเป็นส่วนที่เกิดจาก ‘ศีล’ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ มรรค 8 นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 12 Apr 2022 - 58min - 426 - นิวรณ์ 5 [6514-3d]
“นิวรณ์ 5” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิ
การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร 4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์ 7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้ เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อให้จิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญา ได้อีกด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 05 Apr 2022 - 58min - 425 - วิธีละกิเลส [6513-3d]
“กิเลส” เป็นเหตุแห่งทุกข์ ต้องละเสีย จึงอ้างอิงในส่วนของอังคุตตรนิกาย ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ในหมวด 6 ว่าด้วย วิธีการละกิเลส อาศัยธรรมหมวด 5 เป็นเหตุทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้
กล่าวคือ การฟังธรรม การเทศน์สอน การทบทวน การคิดใคร่ครวญในธรรม หรือการทำสมาธิ ธรรม 5 อย่างนี้ เมื่อปฏิบัติให้บ่อยแม้ข้อใดข้อหนึ่งก็จะเกิดความรู้ในอรรถธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความปราโมทย์ ปีติ ทำให้กายระงับ และจิตเป็นสุข มีสติ และสมาธิตั้งมั่นเป็นอารมณ์อันเดียว ซึ่งจิตที่มีสติตั้งมั่นนี้เองเป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมหมวด 6 ว่าด้วยการละกิเลส คือ การสำรวม การพิจารณาก่อนเสพสิ่งต่างๆ การงดเว้นสิ่งควรงด การอดทน การละเรื่องกามพยาบาทเบียดเบียน รวมถึงการภาวนาเพื่อให้เกิดโพชฌงค์ด้วย
จะเห็นว่า ธรรม 2 หมวดนี้ สอดคล้องรับกัน เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ หรือมรรค 8 นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 29 Mar 2022 - 59min - 424 - กิเลส [6512-3d]
กิเลสเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ กิเลสเกิดขึ้นที่จิตเพื่อทำลายจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง เป็นสิ่งที่ควรละเสีย
โดยทั่วไปเราแบ่งกิเลสออกเป็น 3 กอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ อย่างไรก็ดี กิเลสสามารถจำแนกย่อย ตามที่ท่านพระพุทธเจ้าได้ทรงแจกแจงไว้ในพระสูตรต่างๆ อาทิ กิเลส 4 และ 10 อย่าง อุปกิเลส 11 และ 16 อย่าง รวมทั้งที่มาของกิเลส 1500 ตัณหา 108 ในอนุฎีกา นอกจากนี้ ยังมี วิปัสสนูปกิเลส อาสวะ อคติ นิวรณ์ มัจฉริยะ มานะ มละ อนุสัยหรือสังโยชน์ ทิฐิ รวมไปถึง ปปัญจธรรม ซึ่งที่กล่าวมานี้ หัวข้อรายละเอียดอาจมีซ้ำกันบ้าง หรือต่างกันบ้าง แต่ทั้งหมดลงรับกัน และเป็นเครื่องเศร้าหมองเหมือนกันทั้งสิ้น ซึ่งการที่เราได้รู้จักกับกิเลสเหล่านี้ จะทำให้เรากว้างขวางขึ้น สามารถแยกแยะกิเลสได้มากขึ้นในการปฏิบัตินั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 22 Mar 2022 - 1h 00min - 423 - อัปปมัญญา 4 [6511-3d]
อัปปมัญญา 4 หรือพรหมวิหาร 4 คือ การแผ่จิตอันเต็มไปด้วยกับ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายทุกทิศทางโดยไม่เจาะจง ไม่มีประมาณ
ที่น่าสนใจ คือ พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดง “เมตตาสูตร” โดยการนำพรหมวิหาร 4 มาประกอบเข้ากันกับการเจริญโพชฌงค์ 7 ในการพิจารณาธรรมต่างๆ โดยความเป็นปฏิกูล และไม่เป็นปฏิกูล อาศัยความวิเวก ความคลายกำหนัด ความดับ และน้อมไปเพื่อการสลัดคืน จนทำให้เกิดผล คือ เจโตวิมุตติตามลำดับขั้น สูงสุดถึงอรูปสัญญาสมาบัติในขั้นอากิญจัญญายตนะได้
อนึ่ง อรูปฌาณปกติมีพื้นฐานมาจากรูปฌาณ แต่พระสูตรนี้สามารถกำหนดจิตด้วยการเจริญพรหมวิหาร 4 ในที่นี้ คือ “กรุณา” ขึ้นไปร่วมกับ “โพชฌงค์ 7” เพื่อผล คือ เจโตวิมุตติในขั้นอรูปสัญญาสมาบัติได้เช่นกัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 15 Mar 2022 - 55min - 422 - โพชฌงค์ 7 [6510-3d]
โพชฌงค์ 7 องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ หนึ่งในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ มรดกชิ้นสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงมอบไว้ให้เรา ที่เมื่อฟังแล้ว นอกจากจะมีอานิสงส์ให้หายจากโรคโดยควรแก่ฐานะแล้ว ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จิตของเราต้องมีเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในอริยสัจ 4 ด้วย โดยเริ่มจาก สติสัมโพชฌงค์ ร้อยเรียงต่อเนื่องไปจนถึงอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทั้งนี้สามารถแยกโพชฌงค์ 7 ออกเป็น 14 ข้อโดยแบ่งตามการพิจารณาได้
ในการเจริญโพชฌงค์นี้ “สติ” ถือเป็นกำลังสำคัญยิ่ง ซึ่งต้องอาศัยศีลเป็นบาท ดังนั้นนอกจากศีล 5 หรือศีล 8 แล้ว ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิจะสามารถช่วยหนุนให้สติมีกำลังมากขึ้นได้ ยิ่งกว่านั้นการมี “สติ” รู้สภาวะจิตของตัวเอง จะทำให้สามารถปรับการเจริญโพชฌงค์ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมแยบคายได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 08 Mar 2022 - 57min - 421 - วัคซีน คือ มรรค 8 [6509-3d]
เชื้อไวรัสสามารถแทรกซึมผ่านเซลล์เข้ามาในร่างกายของเราทำให้ป่วยได้ กิเลสก็เหมือนไวรัสสามารถแทรกซึมเข้าจิตของเราผ่านผัสสะทางตาหูจมูกลิ้นกายใจทำให้จิตเราป่วยเศร้าหมองได้
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราก็เปรียบเหมือนความดี ซึ่งมีอยู่ในทุกคนอยู่แล้วเพียงแต่มีมากน้อยไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องมีการคิดค้นวัคซีนเพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงดีขึ้น เช่นเดียวกันจิตใจจะแข็งแรงผ่องใสจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองได้ พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงคิดค้นวัคซีนที่ผ่านการทดลองด้วยพระองค์เองแล้วขึ้นมา วัคซีนนี้มีชื่อว่า “มรรค 8”
มารับวัคซีนชนิดนี้กันเพื่อที่เราจะได้มีภูมิคุ้มกัน รักษาจิตของเราไว้ให้ดีได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 01 Mar 2022 - 57min - 420 - อนุปุพพิกถา เรื่องการหลีกออกจากกาม [6508-3d]
เนกขัมมะ ธรรมข้อสุดท้ายในอนุปุพพิกถาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามลำดับเพื่อเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระได้
‘เนกขัมมะ’ หมายถึง การหลีกออกจากกาม ได้แก่ ฌานสมาธิในขั้นต่างๆ
การจะทำให้จิตน้อมไปในทางหลีกออกจากกามได้นั้น ต้องฝึกจิตให้พิจารณาเห็นบ่อยๆ ถึงคุณและโทษของกามว่า มีคุณน้อยแต่โทษมากขนาดไหนเมื่อเทียบกับเนกขัมมะที่มีคุณมากแต่โทษน้อยนิดเดียว
อย่างไรก็ตาม สมาธิแม้ว่าจะได้บ้างไม่ได้บ้าง การตั้งจิตดำริ ‘คิดที่จะหลีกออกจากกาม’ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตั้งไว้เสมอ
“เนกขัมมะ” ทางสายกลาง เป็นหนึ่งในบารมี 10 ทัศ เป็นทางออกทางเดียว เพื่อการดับโทษของกาม เพื่อความสงบสุขจากในภายใน เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อม ถึงสัมโพธิญาณได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 22 Feb 2022 - 1h 00min - 419 - อนุปุพพิกถา เรื่องโทษของกาม [6507-3d]
“กาม” คือ ความกำหนัดยินดีพอใจที่เกิดขึ้นอยู่ในจิตใจของเรา วัตถุภายนอกที่วิจิตรพิสดารเลิศหรูดูดี นั่นไม่ใช่กาม นั่นเรียกว่ากามวัตถุ แต่ความเพลินความพอใจความยินดีในกามวัตถุนั้นเรียกว่ากาม เราจะเห็นคุณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต้องเห็นโทษของมันด้วย เห็นทั้งข้อดีข้อเสีย แบบนี้จึงจะมีความรอบคอบมีความรัดกุม มีไหวพริบ มีปฏิภาณ มีปัญญา มีโยนิโสมนสิการ อะไรที่จะดีโดยส่วนเดียวไม่มี จะรู้ว่า “โทษของกาม” หนึ่งในอนุปุพพิกถา คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าแสดงไปตามลำดับเป็นอย่างไร มีโทษอย่างไร กามที่มันยึดโยงเราทุกทางเป็นอย่างไร
“..กามเปรียบกับเขียงสับเนื้อ เปรียบกับท่อนกระดูก เปรียบชิ้นเนื้อที่นกคาบไป เปรียบกับคบเพลิงหญ้า เปรียบกับหลุมถ่านเพลิง เปรียบด้วยของในความฝัน เปรียบเหมือนของยืมเขามา เปรียบกับผลไม้บนต้น เปรียบกับรูรั่วของเรือ เปรียบด้วยคลื่น..”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 15 Feb 2022 - 59min - 418 - อนุปุพพิกถา เรื่องของสวรรค์ [6506-3d]
สัคคกถา ธรรมข้อที่สามในห้าข้อของอนุปุพพิกถา เป็นเรื่องของสวรรค์ ที่หากมนุษย์ตายแล้วได้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ จะมีความสุขมากเพียงไร ด้วยการเปรียบเทียบความสุขของมนุษย์ที่แม้เป็นถึงพระเจ้าจักรพรรดิ กับความสุขของเทวดาบนสวรรค์ก็เหมือนแค่หินก้อนเท่าฝ่ามือกับภูเขาหิมาลัย
การเป็นเทวดาทำได้ไม่ยาก ด้วยการสร้างเหตุปัจจัยไว้ตั้งแต่อยู่บนมนุษย์โลกนี้ ทั้งทางกายโดยการให้ทาน การรักษาศีล มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน และทางจิตใจโดยการเจริญเทวตานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณธรรมของเทวดาอันประกอบไปด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เช่น การมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าของมัฏฐกุณฑลีบุตรก่อนตาย การมีศีล การได้ฟังธรรม การให้ทาน และการมีปัญญาเห็นการเกิดขึ้นการดับไป คุณธรรม 5 ข้อนี้จะเป็นเหตุให้ได้เป็นเทวดาได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 08 Feb 2022 - 55min - 417 - อนุปุพพิกถา เรื่องของศีล [6505-3d]
สีลกถา เป็นข้อสองในห้าข้อของอนุปุพพิกถาที่ท่านพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามลำดับเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระ
‘ศีล’ เป็นพื้นฐานของคุณธรรมทุกอย่าง
‘ศีล’ หมายถึง ความเป็นปกติของมนุษย์ในการดำเนินชีวิต และเป็นหนึ่งในอนุสติ 10 เรียกว่า ‘สีลานุสติ’ คือ การตามระลึกถึงศีล ทำให้มีความไม่ร้อนใจ เมื่อไม่ร้อนใจ จิตจะมีความสบาย เกิดความสงบระงับ เป็นสมาธิ และเกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงได้ ซึ่งอานิสงส์ในการรักษาศีล 5 นั้น ให้ผลตั้งแต่ปัจจุบัน แม้ตายแล้วก็มีผลไปสุคติโลกสวรรค์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 01 Feb 2022 - 59min - 416 - อนุปุพพิกถา เรื่องของทาน [6504-3d]
ทานกถา เป็นหนึ่งในห้าข้อของอนุปุพพิกถาที่ท่านพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ตามลำดับเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระ
ทาน หมายถึง การให้หรือการสละออก ซึ่งตรงกันข้ามกับการตระหนี่หรือการหวงกั้น
ทาน ยิ่งให้ยิ่งได้ เพราะการให้ทาน ทำให้ได้ละความตระหนี่ ทำให้ได้บุญ ทำให้ได้ความเบาสบายขึ้นในจิตใจ เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา
ทาน และอานิสงส์ของทานมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยปรุงแต่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผู้รับ ผู้ให้ ของที่ให้ หรือแม้แต่เรื่องของเวลาในการให้
นอกจากนี้ยังมีทานที่ยิ่งไปกว่านั้นอีก นั่นคือ การสละราคะ โทสะ โมหะ ออกเป็นทาน โดยที่ไม่ต้องมีผู้รับ เป็นทานที่เมื่อสละออกแล้ว มีผลไปถึงโลกุตระได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 25 Jan 2022 - 58min - 415 - โอกาสดี 4 ประการ เพื่อการบรรลุธรรม [6503-3d]
ขณะ หรือเวลา หรือโอกาสใน 4 อย่างนี้ ได้แก่ การที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น การที่ได้เกิดในพื้นที่หรือประเทศที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า การที่มีสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) และการที่มีอายตนะ 6 อย่างครบสมบรูณ์ (ไม่พิการ)...โอกาสดี 4 ประการ ที่ได้ยากขนาดนี้ เกิดขึ้นแล้ว อย่าไปรีรอ อย่าให้ล่วงเลยไปเสีย โอกาสนี้ไม่ได้มีอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้อยู่ในช่วงโปรโมชั่น ครั้งนึงครั้งเดียว คือ ตอนนี้แหละ ตรงนี้แหละ ช่องที่เราอยู่ในกัปนี้ ที่ยังมีคำสอนพระพุทธเจ้าโคตมอยู่ในตอนนี้ เพราะมันไม่แน่ว่าชาติหน้าที่เราเกิดมาอาจจะไปเบียดเสียดยัดเยียดอยู่ในนรก เกิดเป็นสัตว์ที่เกิดในของโสโครก เป็นสัตว์เดรัจฉาน ไปเกิดเป็นสัตว์ในอรูปพรหม หรือแม้แต่ไปเกิดในประเทศที่ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่... มันไม่แน่ไม่นอนว่าโอกาสหน้าที่จะมาต่อไป มันจะมีหรือไม่ แต่ถ้ามีอยู่ตอนนี้ รีบเลย คือ ให้เป็นโสดาปัตติผลให้ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 18 Jan 2022 - 59min - 414 - เส้นทางที่ปลอดภัย [6502-3d]
"เรานั้นแห้ง (ร้อน) แล้วผู้เดียว เปียกแล้วผู้เดียว อยู่ในป่าน่าพึงกลัวแต่ผู้เดียว เป็นผู้มีกายอันเปลือยเปล่า ไม่ผิงไฟ เป็นมุนีขวนขวายแสวงหาความบริสุทธิ์" ดังนี้ พระพุทธเจ้าตรัสเล่าแก่พระสารีบุตร ใน มหาสีหนาทสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๑๕๕/๑๗๗, ที่วนสัณฑ์ ใกล้เมืองเวสาลี
พระพุทธเจ้าตอนเป็นโพธิสัตว์ ท่านก็ต่อสู้ ฝ่าฟัน อดทน ตั้งเป้าหมายไว้ถูกแล้ว คือ แสวงหานิพพาน ต่อสู้เอาอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ นี้คือสูงสุดแล้ว เพราะไม่ได้แสวงหาความทุกข์มาทับถมตัวเอง แต่ว่าถ้าไปผิดทาง เป็นไปเพื่อมิจฉามรรคแล้ว ก็จะเป็นไปดังที่พระองค์ทรงตรัสแก่พระสารีบุตรข้างต้น เพราะว่าการทำทุกรกิริยา นี้เป็นมิจฉามรรค ตั้งเป้าหมายไว้ถูกอยู่ก็จริง แต่เพราะไปผิดทาง มันก็จึงตันตึ๊ก ไปต่อไม่ได้ เป็นความทุกข์ความโศก ความเร้าร้อน จึงได้แก้ไขตนเอง เปลี่ยนแปลงจากเรื่องของมิจฉามรรคมาปฏิบัติตามทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติตามถูกทางแล้ว นี่แหละ สร้างทางใหม่ขึ้นมา ซึ่งก็คือทางเดิมที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายท่านได้ดำเนินเอาไว้แล้ว ปรับปรุงแก้ไขให้มันดีขึ้นมา เป็นทางที่เกษม ที่ปลอดภัย ที่โล่งได้ บอกประกาศมาจนถึงทุกวันนี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 11 Jan 2022 - 53min - 413 - ปัญญาเป็นอันดับสูงสุด [6501-3d]
ปัญญา 3 (ความรอบรู้ รู้ทั่ว เข้าใจ รู้ซึ้ง)
1. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล)
2. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน)
3. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ)
- พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
"ภาวนามยปัญญา" ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา "ภาวนา" หมายถึง การพัฒนา "ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่จะทำให้เกิดการพัฒนาต่อ ๆ ไป ต่อ ๆ ไป จะมีความลึกซึ้งลงไป ลึกซึ้งลงไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ...
"เอามาทำดู คิดอยู่ใช่เปล่า? แล้วเอามาทำดู ไม่ใช่คิด ๆ แล้ว คิด ๆ แล้ว แต่ลงมือทำจริง ๆ"
"ปัญญาชำแรกกิเลส ในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เข้าถึงจิตใจว่า จะเข้าสู่จิตใจได้ ให้เกิดภาวนามยปัญญา คือ ต้องทำการภาวนา ทำการพัฒนาจิต โดยการใคร่ครวญพิจารณา คิดใช่เปล่า? แล้วด้วยจิตที่เป็นสมาธิ มันจะเปลี่ยนจากแค่สิ่งที่เราได้ฟังเป็นปัญญา มาคิดนึกเพ่งลงไป เอาใจจดใจจ่อลงไป คือ "สมาธิ""
"แล้วเกิดเป็นญาณ คือ ความรู้ คือ แสงสว่าง "ภาวนามยปัญญา" มันอยู่ตรงนี้"
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 04 Jan 2022 - 1h 02min - 412 - อปัณณกปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด 3 อย่าง [6452-3d]
อปัณณกปฏิปทา ธรรม 3 อย่างที่ใช้เวลาไหนก็ได้ทั้งนั้น ธรรมที่ผู้ปฏิบัติแล้วจะไม่ผิด ปรารภทำอยู่เรื่อย ๆ แล้ว จะเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 28 Dec 2021 - 59min - 411 - ความหมายของสัมปชัญญะ [6451-3d]
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ “พวกเธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสติอยู่อย่างมีสัมปชัญญะเถิด” ทั้ง ‘สติ’ และ ‘สัมปชัญญะ’ เป็นธรรมะ 2 อย่าง อันเป็นอุปการะแก่โลกมาก แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน รวมถึง ‘ปัญญา’ ด้วย เพราะมักจะนำมาพูดด้วยกันอยู่เสมอ แล้วทั้งหมดนี้มีความแตกต่าง และเกี่ยวข้องกันอย่างไร และเราควรน้อมนำมาฝึกปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้มีความก้าวหน้าในธรรมวินัยนี้ โปรดมาศึกษาได้จาก episode นี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 21 Dec 2021 - 59min - 410 - อุเบกขา 10 [6450-3d]
❝ อุเบกขา 10 ❞ หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลาง ๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง และเพราะกลัว เช่น ไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแส หรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้ เป็นต้น
ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือ เป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคง ไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผล ถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้ เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้
อุเบกขา 10 ประเภท ได้แก่...
1) อุเบกขาในพรหมวิหาร 4 เป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้ พิจารณาปลงใจลงไปในกรรมว่า "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน ทำดี จักได้ดี ทำชั่ว จักได้ชั่ว แต่ละสัตว์บุคคล ทั้งตนเอง แต่ละคน ย่อมต้องเป็นไปตามกรรมของตน ตามที่ตนได้กระทำไว้"
และยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ก็พิจารณาโดยถึงปรมัติ คือ โดยเนื้อความที่ละเอียด ลุ่มลึก ว่า "ที่เรียกว่า สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา นั้น เป็นสมมุติบัญญัติ และโดยปรมัติแล้ว ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เมื่อพิจารณาดังนี้ จะทำให้จิตใจปล่อยวางความยึดถือในสัตว์ หรือโดยความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาได้"
2) อุเบกขาในอายตนะ 6 คือ การวางเฉยในอายตนะทั้ง 6
3) อุเบกขาในความเพียร คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป
4) อุเบกขาในโพชฌงค์❝โพชฌงค์ 7 ❞ เป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม อุเบกขาในโพชฌงค์ จึงหมายถึง จิตมีอุเบกขา เป็นองค์ประกอบในการที่เราจะรู้ธรรมะ เห็นธรรมะ ให้เกิดการปล่อยวาง ละกิเลส ตัณหา อวิชชาได้ ให้ออกไปจากจิตใจได้ อุเบกขาตัวนี้จึงเป็นผลกันมาของโพชฌงค์ทั้ง 7
5) อุเบกขาในฌาน อุเบกขา ตั้งแต่ฌาน 3 ขึ้นไป "เธอมีความคิดดังนี้ว่า มิฉะนั้น เราพึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข"
"เธอยังไม่ยินดีเพียงตติยฌานที่ได้บรรลุ ฯลฯ เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้นเราพึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่" #พระพุทธพจน์
6) อุเบกขาในเวทนา เวลาเราวางความสุข ความทุกข์ อทุกขมสุข (ความไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข) แล้ว ก็จะเหลืออุเบกขาในเวทนา อุเบกขาในเวทนา จึงเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ที่ว่ามันละเอียดลงไปกว่าอทุกขมสุข
7) อุเบกขาในสังขาร คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 (สังขาร ในที่นี้หมายถึง ขันธ์ 5) ต้องเห็นขันธ์ 5 โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ความวางเฉยเกิดขึ้นแน่นอน เพราะจิตเราจะไม่เข้าไปยึดถือสิ่งนั้น โดยความเป็นตัวตน เราก็จะไม่ยินดี ยินร้าย สะดุ้ง สะเทือนไปตามการเปลี่ยนแปลงของขันธ์ 5 นั้น อุเบกขามันจึงแทรกอยู่ในวิปัสสนาแทรกอยู่ในสังขารนี้ด้วย หมายความว่า คุณทำวิปัสสนาแล้ว อุเบกขานั้น จึงเป็นสิ่งที่หวังได้ วางเฉยได้ในสังขาร
8) อุเบกขาในวิปัสสนา "วิปัสสนา" แปลว่า เห็นตามความเป็นจริง เห็นตามความเป็นจริงโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
9) อุเบกขาในเจตสิก หรือ อุเบกขาที่ยังธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน ไม่ว่าจะเรื่องพรหมวิหาร 4 อายตนะ ความเพียร โพชฌงค์ ฌาน เวทนา สังขาร และวิปัสสนา เพราะมันอยู่ในจิต องค์ประกอบของจิตตรงนี้ ก็คือ "เจตสิก" เป็นอุเบกขาในเจตสิก จึงเป็นเหตุให้อุเบกขานั้น ไปอยู่ในทุกที่ทุกอย่างทุกส่วนได้
10) อุเบกขาในสติบริสุทธิ์ อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก อุเบกขาปราศจากข้าศึก อุเบกขาที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา คำนี้อยู่ในหัวข้อของฌานที่ 3
❝ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ❞
#พระพุทธพจน์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 14 Dec 2021 - 1h 00min - 409 - ศรัทธาแก้ทุกข์ [6449-3d]
‘ทุกข์’ เป็นธรรมที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ‘ศรัทธา’ โดย ‘ศรัทธา’ นี้ หมายถึง ความเชื่อ ความมั่นใจ ความลงใจ ความเลื่อมใส อันประกอบไปด้วยปัญญาและความเพียร ถ้าไม่มีปัญญามาหนุน ก็จะกลายเป็นความงมงาย ศรัทธาแล้วลงมือทำจริง แน่วแน่จริง มันก็จะมีจุดเชื่อม ตรงจุดเชื่อมนั้นคือ ‘กำลังใจ’
เราสามารถตั้ง ‘ศรัทธา’ ไว้ในทุกอย่างที่เราทำ ถ้าเราเชื่อว่า ‘เราทำได้’ กำลังจิตของเราก็จะไปทางนั้น ‘ศรัทธา’ จะต้องประกอบกัน 3 อย่าง คือ มั่นใจในผู้ที่ทำสำเร็จมาแล้ว (พุทโธ), มั่นใจในกระบวนการวิธี (ธัมโม), และมั่นใจว่าตัวเราต้องทำสำเร็จได้ (สังโฆ)
‘ศรัทธา’ มีโทษด้วย ถ้าเราวางไว้ผิด เปรียบเหมือนติดกระดุมเม็ดแรก ถ้าติดผิดมันก็จะผิดตามไปหมด เราจึงควรตั้งไว้ในคุณธรรม จะสามารถเป็นตัวจุดประกายให้ผู้อื่นได้ด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 07 Dec 2021 - 1h 00min - 408 - ทางสายกลางดับกรรมได้ [6448-3d]
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบช่องทางรอด อันเป็นทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ผู้ที่จะรอดช่องนี้ได้จะต้องอาศัย 'ศรัทธา' ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้กับท่านสหัมบดีพรหม ณ ใต้ต้นไทรอันเป็นที่พักร้อนของเด็กเลี้ยงแพะ… “ประตูสู่นิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้ว สัตว์เหล่าใดที่จะมาตามทางนี้ สัตว์เหล่านั้นจงปลงศรัทธาลงไปเถิด”
หนทางอันประเสริฐนี้ยังมีอยู่ เป็นช่องทางที่ไม่ติดตัน ไม่วนไปในสังสารวัฏ ที่เมื่อผู้ไม่ประมาทปฏิบัติตามแล้ว ก็จะได้รับผลเหมือนกันหมด ทำให้คลายความยึดถือทั้งหมดได้ กรรมดับไปได้ ไปสู่ทางอันเกษม ถึงความดับเย็น คือ พระนิพพานได้แน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 30 Nov 2021 - 58min - 407 - หิริ โอตตัปปะ : ธรรมคุ้มครองโลก [6447-3d]
‘โลกบาล’ เป็นหลักธรรมคุ้มครองรักษาโลก ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการที่จะมาคู่กันเสมอในจิตใจ ที่จะทำให้บุคคลทำแต่ความดี คือ หิริและโอตตัปปะ ‘หิริ’ แปลว่าความละอายต่อบาป และ ‘โอตตัปปะ’ แปลว่าความกลัวต่อบาป
บุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะ มีสติสัมปชัญญะ มีการสำรวมอินทรีย์ ศีลจึงสมบูรณ์ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริง ถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 23 Nov 2021 - 57min - 406 - บททดสอบคือผัสสะ [6446-3d]
ผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนที่มีจิตน้อมมา เดินมาตามแนวทางของมรรคแล้ว ตัดสินใจแล้วว่า ‘ชีวิตนี้ฉันจะอยู่ในมรรคแปดนี้ให้ได้’ มันจะต้องมีเครื่องมาทดสอบ มาตรวจสอบจิตใจของเรา ในการเดินทางของเรานั้น มันยังอยู่ในกรอบขอบของมรรคแปดได้หรือไม่
เครื่องทดสอบนี้จะมาในรูปของ ‘ผัสสะ’ ที่มีมากระทบอยู่ตลอดเวลา เพราะธรรมชาติของจิตมันจะไปตามผัสสะทั้งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ ซึ่งผู้ปฏิบัติต้องหมั่นคอยตรวจสอบ คอยปรับให้ตรงทาง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 16 Nov 2021 - 1h 00min - 405 - ราชวสดีธรรม [6445-3d]
ในวาระที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมี ท่านได้ทรงแสดงธรรมไว้ เพื่อเป็นวิธีการรักษาตนที่จะไม่ประมาท เป็นหมวดธรรมที่มีความสำคัญมาก สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ในการรับราชการ หรือในการทำงานที่มีหัวหน้าที่สามารถให้ทั้งคุณและโทษแก่เราได้ ท่านได้ทรงสอนไว้ใน ‘ราชวสดีธรรม’ ซึ่งขยายความจากพระพุทธพจน์ที่แยกออกเป็นคาถาได้ 49 ข้อ รายละเอียดโปรดติดตามได้ใน episode นี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 09 Nov 2021 - 56min - 404 - วิสุทธิ 7
ธรรมอันวิสุทธิ 7 ประการ เป็นปัจจัยส่งต่อ ๆ กัน ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเพื่อบรรลุนิพพาน เปรียบประดุจรถ 7 ผลัดส่งต่อกันเพื่อให้บุคคลถึงที่หมายโดยสวัสดี เกิดเป็นความสะอาดหมดจด บริสุทธิ์ และปราศจากกิเลส อันเป็นไปในทางกาย จิต และปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 23 Aug 2021 - 55min - 403 - ความหมาย และการทำงานของขันธ์ 5 [6444-3d]
พระพุทธเจ้าทรงแบ่งสิ่งที่เหมือนกันคล้ายกัน มาจับกองรวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำความเข้าใจให้ถูก ปัญญาจึงจะเกิด ท่านแบ่งไว้เป็น 5 กอง กอง คือ ขันธ์ เรียกว่า ‘ขันธ์ 5’ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ และสังขารขันธ์ ซึ่งขันธ์ทั้ง 5 นี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้ คือ อุปาทาน
การทำงานของขันธ์ทั้ง 5 เมื่อมีการกระทบกันทางช่องทางอายตนะภายในและภายนอก มีวิญญาณรับรู้ 3 อย่างนี้เรียกว่า ‘ผัสสะ’ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในช่องทางใจ ใจจึงต้องมีสติรักษาไว้ เพราะจิตอยู่ในช่องทางใจ จิตจึงไม่ปรุงแต่งไปในทางอกุศล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 02 Nov 2021 - 57min - 402 - สาธุนรธรรม (ธรรมะของคนดี) [6443-3d]
การจะปรับเปลี่ยนคนไม่ดีให้เป็นคนดีได้ ต้องใช้ความดีเท่านั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เป็นธรรมะของคนดี 4 ข้อ จงเดินไปตามทางที่ท่านเดินไปแล้ว จงอย่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม อย่าประทุษร้ายในหมู่มิตร ไม่ว่าในกาลไหน ๆ และอย่าตกอยู่ในอำนาจของอิสตรีที่ดูหมิ่นชาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 26 Oct 2021 - 58min - 401 - สัมมัปปทาน 4 6433-3d
มรรควิธีที่เปรียบเสมือนเรือเพื่อข้ามจากฝั่งแห่งทุกข์สู่ความดับสนิทไม่เหลือแห่งกองทุกข์ คือ ความเพียรชอบ ที่พึงตั้งขึ้นไว้เบื้องหน้า อันได้แก่ เพียรระวังบาปอกุศลมิให้เกิดขึ้น เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์ จงเพียรรักษาความดีให้ถึงพร้อมบริบูรณ์เพื่อความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์นี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 17 Aug 2021 - 55min - 400 - เวทนากับทางไปแห่งจิต 36 ทาง 6432-3d
ความโสมนัส โทมนัส และอุเบกขา อันเนื่องด้วยเหย้าเรือน เป็นเหตุให้บุคคลยังคงเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร เมื่อบุคคลรู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความจางคลาย และความดับไม่เหลือ เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ย่อมหลุดพ้นจากบ่วงแห่งทุกข์นี้ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 10 Aug 2021 - 56min - 399 - ประตู 11 บาน สู่นิพพาน 6431-3d
บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป และย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ธรรมอันเป็นประตูแห่งอมตะธรรมนั้น คือ เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 03 Aug 2021 - 55min - 398 - วิธีละความอาฆาต 6430-3d
จิตที่สะสมอารมณ์โกรธ อาฆาต พยาบาท ขุ่นแค้น จนเกิดเป็นสนิมเกาะใจ หาความสุขไม่ได้ด้วยแรงของพยาบาท อาฆาต ด้วยภัยของความอาฆาตนี้ พระสารีบุตรได้กล่าวถึงวิธีการระงับความอาฆาต ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในจิต ดังนี้ แม้ความอาฆาตพึงเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น เปรียบดังเหมือนสงสารคนป่วยไม่สบาย พึงเข้าไปตั้งความกรุณา ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ในบุคคลนั้นเสีย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 27 Jul 2021 - 55min - 397 - ธรรมที่ควรทำให้บังเกิด 6429-3d
การกำหนดรู้ที่เกิดจากอำนาจแห่งสมาธิ ย่อมทำให้เกิดการรู้แจ้งกระจ่างชัดเจน มีจิตตั้งมั่นเป็นกลาง เช่น เมื่อบุคคลเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจแต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ นั่นคือ ธรรมที่ควรทำให้บังเกิด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 20 Jul 2021 - 58min - 396 - สติปัฏฐาน 4 6428-3d
ความระลึกรู้ ความตระหนักรู้ นั้นคือ สติ อันเป็นประธานในการกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง การเจริญสติให้มั่นคงเป็นหนทางสายเอกอันเป็นไปเพื่อการดับทุกข์ เพื่อความบริสุทธิ์ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำบุคคลผู้เจริญให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ “สติปัฏฐาน 4”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 13 Jul 2021 - 58min - 395 - ฤทธิ์ 6427-3d
จิตที่เป็นสมาธิบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี คือ “ฤทธิ์”
ฤทธิ์ทั้งปวง จักมีขึ้นได้ด้วยความเพียรพยายาม ขวนขวายทั้งสิ้น ฤทธิ์ทั้งปวงล้วนเกิดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา อันบริบูรณ์ เปรียบเหมือนช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใด ๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้น ๆ ให้สำเร็จได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 06 Jul 2021 - 55min - 394 - วัฏฏะ 3 6426-3d
บุคคลใดถูกกิเลสครอบงำแล้วให้กระทำกรรม เมื่อกระทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรม เมื่อได้รับผลของกรรมแล้ว กิเลสเกิดขึ้นอีก แล้วกระทำกรรมอีก ย่อมเสวยผลของกรรมนั้น หมุนวนเวียนสืบเนื่องด้วยอำนาจของกิเลส กรรม และวิบาก
"บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้หมุนวนเวียนเกิดเวียนตายอยู่ใน วัฏฏะ 3"
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 29 Jun 2021 - 59min - 393 - คุณสมบัติของผู้เป็นโจทก์ 6425-3d
ธัมม์ทั้ง 5 ประการ คือ โจทก์โดยกาลควร ด้วยเรื่องจริง ด้วยคำอ่อนหวาน ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ และด้วยเมตตาจิต บุคคลผู้โจทก์พึงตั้งตนอยู่ในธัมม์นั้น แม้บุคคลผู้ถูกโจทก์พึงตั้งตนอยู่ในธัมม์ 2 ประการ คือ ความจริง และความไม่โกรธ
การสำรวมวาจาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง บุคคลพึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 22 Jun 2021 - 36min - 392 - สังโยชน์ 6424-3d
กิเลสกามที่ผูกมัดใจบุคคลไว้กับทุกข์ อันเป็นเครื่องร้อยรัดจองจำจิตใจให้จมอยู่ในวัฏฏะ นั้นคือ สังโยชน์ เครื่องรึงรัดจิตเปรียบประดุจดั่งเกลียวเชือกผูกรัดจองจำลูกวัวไว้กับหลัก
บุคคลผู้เห็นภัยแห่งเครื่องร้อยรัดนี้ ย่อมอบรมตนให้เจริญในสติปัฏฐาน และดำรงตนในอริยมรรคมีองค์แปด พึงเห็นว่าความพึงพอใจเกิดจากเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง สิ่งใดปรุงแต่ง สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้ สิ่งนั้นไม่มีแก่นถาวรให้ยึดถือพึงพอใจ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 15 Jun 2021 - 55min - 391 - ธรรมที่มีอุปการะมาก 6423-3d
องค์ธรรมอันเกื้อกูลบุคคลให้ดำรงตนอย่างถูกต้องดีงาม ทั้งในด้านกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม มีกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นธรรมอันมีคุณสมบัติพร้อมแห่งการเอื้อเฟื้อประโยชน์สุขแก่บุคคล
เปรียบดั่งบิดามารดาผู้อนุเคราะห์บุตร ให้ตั้งตนอยู่ในความดีงาม ธรรมทั้ง 55 ข้อนี้ เป็นองค์ธรรมที่มีอุปการะมาก เกื้อกูลการกระทำความดีให้มั่นคง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 08 Jun 2021 - 59min - 390 - อิทธิบาท 4 6422-3d
การที่บุคคลจะก้าวไปสู่ความสำเร็จในการงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยหลักธรรมเพื่อเป็นรากฐานนำพาชีวิตไปสู่ความสำเร็จ
หลักธรรมนั่นคือ อิทธิบาท 4 อันเป็นไปเพื่อการเสริมสร้างความมุ่งมั่น โดยอาศัยสิ่งเร้าจากภายในจิตใจของตนเอง คือ การพอใจในสิ่งที่ทำ มีความขยันหมั่นเพียร มีจิตใจจดจ่อ และมีการไตร่ตรองในงานที่ทำ เป็นองค์ธรรมสำคัญที่ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 01 Jun 2021 - 29min - 389 - ธรรมของผู้อยู่ประจำวัด 6421-3d
ข้อปฏิบัติของการอาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความสงบ สุภาพและเคารพนอบน้อม คือ ศีลและวัตร 14 เป็นต้น อันเป็นไปเพื่อธํารงความสงบเรียบร้อยในการอยู่ร่วมกัน
ผู้ที่ดำรงตนใน ศีล และข้อปฏิบัติทั้ง 22 ข้อนี้ ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 25 May 2021 - 29min - 388 - ข้อสอบของอริยบุคคล 6420-3d
บุคคลผู้ดำเนินตามทางแห่งมรรค 8 จนสามารถมองเห็นฝั่งแห่งนิพพานอยู่เบื้องหน้า มีจุดหมายแห่งการบรรลุอย่างแน่แท้ เรียกว่า อริยบุคคล ผู้บรรลุธรรมวิเศษ แบ่งตามประเภทบุคคลมี 4 ประเภท คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
อริยบุคคลผู้ไกลจากข้าศึก ย่อมเห็นว่าสังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เมื่อทราบเนื้อความนี้ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 18 May 2021 - 1h 01min - 387 - วิญญาณฐิติ และจิต 6419-3d
ความหลากหลายและแตกต่างของสัตว์โลกที่มีภพภูมิต่างกัน ทั้งกายต่างกัน เหมือนกัน หรือสัญญาต่างกัน เหมือนกัน ไม่ว่าจะเกิดในภพใดก็ตาม ก็ยังไม่สามารถพ้นไปจากทุกข์ได้ ตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมมีที่ตั้งของปฏิสนธิ ที่เป็น วิญญาณฐิติ การอบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ ความไม่ประมาทในการเจริญกุศล คือ การดับแห่งเหตุของกิเลสทั้งปวง เรามักจะคุ้นเคยหรือได้ยินได้ฟังบ่อยครั้งกับคำว่า "จิตวิญญาณ" จึงควรทำความเข้าใจเพื่อให้จิตไปเกิดในภูมิที่ต้องการ สืบเนื่องจากการเป็นกระแสต่อ ๆ กันไปในความยึดถือสิ่งต่าง ๆ ด้วยความเป็นตัวตน วิญญาณก้าวลงไปยึดถือ เพราะมีตัณหาเป็นเหตุ "วิญญาณฐิติ" หรือฐานที่ตั้งแห่งวิญญาณ ถูกเข้าไปยึดถือโดยวิญญาณจนกลายเป็นจิตขึ้นมา ให้เห็นด้วยปัญญาว่าตัวตนไม่ใช่ตัวตน ไม่มีสาระแก่นสาร ไม่มีค่าที่จะยึดถือเอาไว้ เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และปล่อยวางได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 11 May 2021 - 57min - 386 - กัลยาณมิตร เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ 6418-3d
มิตรในชีวิตของทุกคน หากพูดถึงในรูปแบบของบุคคลก็อาจจะเป็นได้ทั้งบรรพชิต และฆราวาส ย่อมมีหลากหลายประเภท แต่เราควรให้ความสำคัญกับมิตรแท้ หรือ "กัลยาณมิตร" ที่ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา และคุณธรรมความดี เป็นผู้ห่างไกลจากสิ่งอันเป็นข้าศึกในการพัฒนาศักยภาพชีวิต และตั้งตนอยู่อย่างเหมาะสมแห่งการเคารพ รวมถึงการแนะประโยชน์ให้แก่บุคคลรอบข้าง จนเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาไปสู่ประโยชน์และความสุขในระดับที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 04 May 2021 - 19min - 385 - วัดความก้าวหน้าทางธรรม 6417-3d
พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกกามโภคีบุคคลออกเป็น 10 ประเภท คือ หาทรัพย์มาได้โดยชอบบ้าง โดยทางมิชอบบ้าง แจกจ่ายบ้าง ไม่แจกจ่ายบ้าง ทำบุญบ้าง ไม่ทำบุญบ้าง มัวเมาในทรัพย์นั้นบ้าง ไม่มัวเมาบ้าง ฯลฯ
ทรงแสดงหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณาตัดสินคุณสมบัติของกามโภคีบุคคล ว่า กามโภคีบุคคลเช่นไรควรติเตียน กามโภคีบุคคลเช่นไรควรสรรเสริญ ดังผู้มีปัญญาบริโภคโภคะเหล่านั้น โดยรู้เท่าทันเห็นโทษ ทำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้น เป็นนายเหนือโภคทรัพย์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 27 Apr 2021 - 57min - 384 - การแลกที่คุ้มค่า 6416-3d
หากทุกคนสามารถตั้งความปรารถนาในเรื่องของญาติพี่น้อง โภคทรัพย์ โรคภัยไข้เจ็บ การรักษาศีล และการมีทิฏฐิ ความเข้าใจที่ถูกต้องได้ ย่อมต้องการเลือกให้เป็นไปในทางความถึงพร้อม หรือ "สมบัติ" (สัมปทา) และย่อมไม่ต้องการความเสื่อม ความไม่ดี หรือ "วิบัติ"
ทั้งสมบัติ 5 หรือ วิบัติ 5 นั้นไม่ได้เกิดจากการอ้อนวอนขอร้อง แต่เป็นทางแยกที่เราต้องสร้างเหตุสร้างปัจจัยเพื่อเดินไปตามปากทางแห่งความเจริญหรือความเสื่อมก็ได้ เพราะทั้ง 2 ทางย่อมมีโทษหรืออานิสงส์เกิดขึ้นแน่นอน ทั้งนี้หากเราดำเนินตามทางของอริยมรรคมีองค์แปด ย่อมไปถึงเป้าหมาย นั่นคือ เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 20 Apr 2021 - 58min - 383 - จักรวรรดิวัตร 12 6415-3d
จักรวรรดิวัตร 12 คือ ธรรมอันเป็นพระราชจริยานุวัตร สำหรับพระมหาจักรพรรดิ และพระราชาเอกในโลก ที่ใช้สำหรับดำเนินกุศโลบาย และนโยบายทางการเมือง การปกครอง โดยทรงถือ และอาศัยธรรมข้อนี้ร่วมกันกับทศพิธราชธรรม และสังคหวัตถุ 4 เป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอดธง มีธรรมเป็นใหญ่ จัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครองอันเป็นธรรม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 13 Apr 2021 - 11min - 382 - ความรู้ยิ่งอันยอดเยี่ยมซึ่งหาที่เปรียบมิได้
ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของที่เชิญคนเข้ามาพิสูจน์ สามารถรู้เห็นได้เฉพาะตน เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน เมื่อทำแล้วปฏิบัติแล้ว ทำให้เกิดความดีขึ้น รู้สึกได้ถึงความพอ รู้สึกได้ถึงความอิ่ม และรู้สึกได้ถึงความเต็ม จึงถือว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแบบฉบับได้เป็นอย่างดี ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้ยิ่งที่ยอดเยี่ยม สูงสุด ไม่มีอีก ไม่มีเหลือ และไม่มีอะไรเกินไปจากนี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 06 Apr 2021 - 56min - 381 - พร 9 ประการ สมปรารถนาด้วยธรรม 6413-3d
ขึ้นชื่อคำว่า "พร" เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา เพื่อต้องการให้เกิดความสุข ความสมหวังด้วยประการทั้งปวงในชีวิต ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจในความหมายที่ลึกซึ้งของพรทั้งหมด 9 ประการ ซึ่งได้รวบรวมมาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระสูตรต่าง ๆ อันได้แก่ จักกวัตติสูตร จูฬกัมมวิภังคะสูตร และอิฏฐสูตร
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 30 Mar 2021 - 59min - 380 - บารมี 10 ปฏิปทาอันประเสริฐ 6412-3d
ความดีที่บำเพ็ญไว้ หรือข้อปฏิบัติที่สามารถตรวจสอบดูด้วยจิตใจตนเอง ซึ่งเมื่อทำให้เต็มแล้วจะทำให้บรรลุถึงพระนิพพานได้ เรียกว่า "บารมี" มีทั้งหมด 10 ประการด้วยกัน และยังแบ่งเป็นขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูงสุดด้วย โดยในแต่ละข้อจะเกี่ยวเนื่อง สอดรับกัน ในแง่มุมของศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งจะมีมรรคแปดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บารมีเต็มได้ และมากเพียงพอที่จะทำให้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลในขั้นต่าง ๆ ด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 23 Mar 2021 - 59min - 379 - ซึมเศร้าจิตเฉา เพราะพ่ายนิวรณ์ 5 6411-3d
โรคซึมเศร้า และโรคเครียด เป็นอาการทางจิตซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเวลา และทุกสถานที่ โดยที่มีสาเหตุหลักมาจากนิวรณ์ห้าเป็นเงื่อนไขนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เราสามารถเอาชนะโรคเหล่านี้ได้ด้วยการเจริญพละ 5 และอิทธิบาทสี่
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 16 Mar 2021 - 1h 00min - 378 - ปฏิจจสมุปบาทสายดับ "นิรุชฌติ" 6410-3d
"ทุกข์เท่านั้นที่เกิด และทุกข์เท่านั้นที่ดับ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ"
ปฏิจจสมุปบาทสายดับ "นิรุชฌติ" คือ ธรรมในการอธิบายความเสื่อม และความสลาย เหตุเพราะความเสื่อมและความสลายนั้น ตนกระทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นกระทำให้เสื่อมสลายก็หาไม่ ทั้งตนกระทำเองทั้งผู้อื่นกระทำให้ก็ไม่ใช่ เกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้กระทำเอง ผู้อื่นไม่ได้กระทำให้ก็ไม่ใช่
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 09 Mar 2021 - 59min - 377 - ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด "อุปปัชชติ" 6409-3d
ความทุกข์ที่รุนแรงที่สุดในชีวิตคนหนึ่ง ๆ ก็คือ ความตาย นั่นเอง ดังนั้นเราจะสามารถรับมือกับความตายได้ก็ด้วยการทำให้การเกิดสิ้นไป รายละเอียด และวิธีการสามารถศึกษาได้จากธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าต้องอาศัยการใคร่ครวญโดยแยบคายเป็นอย่างดี จึงจะกลั่นกรองออกมาเป็นธรรมะได้ ถือเป็นสัจจะความจริงสำหรับทุกกรณี ทุกคน ทุกเวลา และทุกสถานที่ เป็นอกาลิโก และทนต่อการเพ่งพิสูจน์ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 02 Mar 2021 - 58min
Podcasts ähnlich wie 3 ใต้ร่มโพธิบท
พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
ฟังธรรมะก่อนนอน ใครชอบนอนฟังธรรมะแล้วหลับ จ Dhamma Lover
รุ่นเก๋า...เล่าเกร็ด Hoy Apisak
ลงทุนแมน longtunman
เคาะข่าวค่ำ radio tonews
SONDHI TALK sondhitalk
ยืนเดี่ยว standaloneco
อ่านแล้วอ่านเล่า Ta Thananon Domthong
คุยให้คิด Thai PBS Podcast
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) Thammapedia.com
The Secret Sauce THE STANDARD
THE STANDARD Podcast THE STANDARD
คำนี้ดี THE STANDARD
ข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ ภาคภาษาไทย 6:30 – 7:00 น. - วอย VOA
VOA Learning English Podcast - VOA Learning English VOA Learning English
Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
ไปป์เล่าเรื่องผี ไปป์เล่าเรื่องผี
พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
พุทธวจน พุทธวจน
5 นิทานพรรณนา วัดป่า ดอนหายโศก ฟังธรรมะ donhaisok
6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก วัดป่า ดอนหายโศก ฟังธรรมะ donhaisok
Andere Gesellschaft und Kultur Podcasts
Noche de Misterio Caracol Pódcast
Humor Voz Populi BLU BluRadio
Música Cristiana Mx Música Cristiana Mx
Relatos de la Noche Sonoro | RDLN
Enigmas sin resolver Univision
Código Misterio Código Misterio
El Gallo Pódcast Radioacktiva y Caracol Pódcast
Radio Maria Podcast Radio Maria België
TED en Español TED
Música antigua Radio Clásica
La Mano Peluda Radio Fórmula
TED Talks Daily TED
Espacio en blanco Radio Nacional
Podcast Radio Nacional De Colombia Radio Nacional De Colombia
La Otra Historia con Memo Anjel PinoStudio1
Bla Bla BLU Bluradio
Conspiraciones Lugo Media ©
L'heure du crime RTL
Relatos del lado oscuro Relatos del Lado Oscuro
Al Filo de la Realidad (Podcast) Gustavo Fernández - Centro de Armonización Integral