Nach Genre filtern

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก".New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ donhaisok.fm
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
- 261 - ความไม่ประมาท [6621-6t]
จุดเริ่มของการสังคายนาพระไตรปิฎก :
“สังคายนา” หรือ “สังคีติ” คือ การจัดระเบียบหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ สะดวกแก่การจดจำ (ใช้ระบบท่องจำ)
"สังคายนา" หมายถึง สวดพร้อมกัน มีมาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่แล้ว โดยท่านพระสารีบุตรมีการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแสดงตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบตามหลักฐานที่ปรากฏในปาสาทิกสูตรและสังคีติสูตร
ความแตกต่างของเถรวาท และ อาจริยวาท :
เถรวาท คือ คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก
อาจริยวาท คือ ถือตามคำสอนของอาจารย์ของตน (นิกายมหายาน)
............
#53_อัปปมาทสูตร พราหมณ์คนหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง (ในภพนี้ และ ภพหน้า) มีอยู่หรือไม่? โดยพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบธรรมข้อนั้นคือ “ความไม่ประมาท” และได้ยกอุปมา-อุปไมยใน 6 อย่าง
#54_ ธัมมิกสูตร ว่าด้วยท่านพระธัมมิกะเป็นเจ้าอาวาสชอบด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ อาคันตุกะด้วยวาจา ซึ่งเป็นเหตุให้พวกอุบาสกและอุบาสิกาขอท่านพระธัมมิกะหลีกไปจากอาวาสถึง 7 แห่ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 26 May 2023 - 55min - 260 - ผู้ฉลาดในภาษา รู้เขา และรู้เรา [6620-6t]
สมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ตามรอยประวัติศาสตร์พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งโครงการพระไตรปิฎกสากลได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน
6 พฤศภาคม พ.ศ. 2566 นีั รัฐบาลไทยจะเริ่มเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี วันประสูติ และในต่างประเทศ องค์กร UNESCO ณ กรุงปารีส จะประกาศยกย่อง ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก 2023
............
#51_อานันทสูตรท่านพระอานนท์ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตรถึงความไม่เลอะเลือนแห่งธรรมมีด้วยเหตุเท่าไร? ท่านพระสารีบุตรยกให้ท่านพระอานนท์ซึ่งเป็นพหูสูต เป็นผู้แสดงธรรมในข้อนี้แทน ซึ่งได้แก่ การเรียนธรรม แสดงธรรม บอกธรรม สาธยายธรรม ตรึกตรองตาม อยู่ในอาวาสที่มีภิกษุเถระผู้เป็นพหูสูต
#52_ขัตติยสูตรได้กล่าวถึง ความประสงค์ ความต้องการในบุคคลแต่ละประเภทได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สตรี โจร สมณะ ว่ามีความประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 19 May 2023 - 52min - 259 - การพยากรณ์ที่ไม่น้อมเข้าสู่ตน [6619-6t]
พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 เป็นนวัตกรรมการพิมพ์ด้วย อักษรเสียงอ่าน ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ทางเสียง หรือ "สัททสัญลักษณ์" (Phonetic Symbol) โดยคำว่า สัชฌายะ หมายถึง การท่องจำออกเสียงพระไตรปิฎกให้ขึ้นใจ โดยสร้างขึ้นต่อเนื่องจากการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548
พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ แบ่งเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1. ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) 2. ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ)
…………..
#49_เขมสูตรท่านพระเขมะ และท่านพระสุมนะ ได้เข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคกล่าวการพยากรณ์อรหัตผลโดยมีลักษณะที่กล่าวแต่ธรรมโดยไม่น้อมเข้ามาหาตน
#50_อินทริยสังวรสูตรอุปมาอุปมัยในธรรม 6 ประการ โดยเริ่มจากต่ำ-สูง คือ อินทรียสังวร -> ศีล -> สัมมาสมาธิ -> ยถาภูตญาณทัสสนะ -> นิพพิทา -> วิราคะ -> วิมุตติญาณทัสสนะ อุปมัยลงในต้นไม้ที่มีกิ่ง และใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 12 May 2023 - 54min - 258 - ธรรมที่พึงเห็นชัดด้วยตนเอง [6618-6t]
ความเป็นมาของพระไตรปิฎกสากล
ปี พ.ศ. 2436 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดให้เปลี่ยนจากการบันทึก ปาฬิภาสา-อักษรขอมที่จารด้วยมือบนใบลาน เป็นการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยของยุคนั้น ตีพิมพ์ชุดหนังสือพระไตรปิฏกปาฬิ-อักขะระสยามชุดแรกของโลก (ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม) และในปี พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ เป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล (อักษรโรมัน) ตามรอยประวัติศาสตร์พระไตรปิฎฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436
#46_มหาจุนทสูตรได้กล่าวถึงภิกษุ 2 ประเภท คือ ฝ่ายสมถะ หรือ ฝ่ายวิปัสสนา ไม่ควรว่ากล่าวรุกรานกัน แต่ควรจะกล่าวสรรเสริญกัน
#47_ปฐมสันทิฏฐิกสูตรโมฬิยสีวกปริพาชกได้ถามพระผู้มีพระภาคถึงธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเองมีด้วยเหตุอย่างไร? พระผู้มีพระภาคได้ตอบคำถามแบบถามกลับว่า “เห็นธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปหรือไม่”
#48_ทุติยสันทิฏฐิกสูตรมีนัยยะเหมือนกันกับข้อ 47 และเพิ่มเหตุแห่งการประทุษร้ายทางกาย วาจา ใจ เข้ามา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 05 May 2023 - 55min - 257 - ความเป็นหนี้ [6617-6t]
ปาฬิ คือ เสียงใช้ถ่ายทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันบันทึกเสียงเป็นลายลักษณ์อักษรในพระไตรปิฏกพระพุทธศาสนาเถรวาท (พระไตรปิฎกสากล) โดยอ้างอิงกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ
..............
#45_อิณสูตร ว่าด้วยความเป็นหนี้ เป็นธรรมที่ยกอุปมาคนจนเข็ญใจ ยากไร้ ย่อมกู้หนี้ เมื่อกู้หนี้แล้ว ย่อมใช้ดอกเบี้ย ถูกทวง ถูกติดตาม ถูกจับคุม ซึ่งเป็นความทุกข์ของคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน อุปไมยลงในบุคคลที่ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ในอริยวินัยนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 28 Apr 2023 - 55min - 256 - ความเป็นมาของพระไตรปิฎกสากล และมิคสาลาอุบาสิกา [6616-6t]
รายการธรรมะรับอรุณ โดยมูลนิธิปัญญาภาวนาได้จัดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ฟังได้สะดวก และง่ายต่อการเข้าถึงสื่อธรรมะในรูปแบบต่างๆ ของมูลนิธิ จึงได้วางรูปแบบ และระบบไว้เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน และให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
พระไตรปิฎกสากลภาษาที่ใช้ในการสืบทอดคำสอน (บอก) เป็นภาษา “ปาฬิ” เท่านั้น ส่วนคำอธิบายใช้ภาษาอื่นในปัจจุบันได้ เพื่อป้องกันเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอน
#44_มิคสาลาสูตรมิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้วได้เรียนถามธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า “คน 2 คน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกันในสัมปรายภพ” จะพึงรู้ได้อย่างไร? พระอานนท์ได้นำความนี้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค แล้วพระองค์ได้ตอบถึงญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าของบุคคลในพระองค์ และได้ยกธรรม 6 ข้อ ที่เป็นคู่เหมือนและคู่ต่างที่ทำให้บุคคลหลังจากตายแล้วไปในที่ต่างกัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 21 Apr 2023 - 53min - 255 - อุบาสิกาผู้อุปัฏฐาก และผู้เพ่งด้วยฌาน [6615-6t]
นางอุตตรานันทมารดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน
ด้วยเหตุที่นางอุตตราเป็นโสดาบัน เมื่อถึงวันเข้าพรรษานางจึงขออนุญาตสามีรักษาอุโบสถศีล แต่สามีไม่อนุญาต บิดาของนางจึงส่งเงินมาให้นางจ้าง นางสิริมา หญิงโสเภณีให้มาทําหน้าที่บำรุงบำเรอสามีแทน ส่วนตนและหญิงบริวารก็จัดหาอาหารเพื่อถวายพระพุทธเจ้า และพระสาวก ฝ่ายนางสิริมาเมื่อเห็นสามียืนมองดูนางอุตตราจัดแจงอาหารอยู่พร้อมรอยยิ้ม จึงเกิดความไม่พอใจ ได้ตักน้ำมันร้อนๆ เทราดไปบนศีรษะของนางอุตตรา แต่ด้วยนางอุตตราได้เข้าฌานเจริญเมตตาจิตเป็นอารมณ์ น้ำมันร้อนๆ นั้น ไม่อาจทำอันตรายใดๆ ได้เลย นางสิริมาเห็นเช่นก็ตกใจ กลับได้สติ จึงวิงวอนขอให้นางอุตตรยกโทษให้ ต่อมานางสิริมาได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต
พระนางได้ตั้งครรภ์ถึง 7 ปี 7 วัน จึงประสูติพระสีวลี และในขณะคลอดได้เกิดทุกขเวทนาเป็นอันมาก แต่พระนางอดกลั้นได้ด้วยการตรึกในพระรัตนตรัย
นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้
นางได้พบภิกษุไข้รูปหนึ่งทราบว่าท่านควรได้อาหารที่มีรส (เนื้อ) จึงจะจัดมาถวาย แต่ไม่สามารถหาซื้อปวัตตมังสะ (เนื้อที่ขายกันในตลาด) ได้เลย นางจึงสละเนื้อขาของตนปรุงเป็นอาหารถวายแทน ทำให้เป็นเหตุแห่งต้นบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 14 Apr 2023 - 52min - 254 - อุบาสิกาแสดงธรรม และผู้อยู่ด้วยเมตตา [6614-6t]
นางขุชชุตตราเป็นหญิงรับใช้คนหลังค่อมของพระนางสามาวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน เป็นเอตทัคคะผู้เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งปวงในด้านการแสดงธรรม นางได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแล้วบรรลุโสดาปัตติผล พระนางสามาวดีจึงให้นางเป็นผู้สอนธรรมที่ได้ฟังมานั้นแสดงแก่ตนและหญิงบริวาร 500 คน นางขุชชุตตราเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นพหูสูต จึงมีหน้าที่ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วมาแสดงธรรมต่อ
พระนางสามาวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน ด้วยความที่เป็นผู้มีความเสื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก จึงถูกพระนางมาคันทิยา อัครมเหสีอีกคนของพระเจ้าอุเทน ผู้ซึ่งผูกอาฆาตต่อพระพุทธเจ้า กลั่นแกล้งสาระพัด แต่พระนางก็รอดพ้นมาได้ด้วยอานุภาพแห่งเมตตา สุดท้ายพระนางก็ต้องชดใช้กรรมเก่าที่เคยได้ทำมา ถูกเผาทั้งเป็นพร้อมด้วยหญิงบริวาร
ถึงกระนั้น พระนางก็มีสติมั่นคงไม่หวั่นไหว ให้โอวาทแก่หญิงบริวาร ให้เจริญเมตตาไปยังบุคคลทั่วๆ ไป แม้ในพระนางคันทิยา ก่อนที่จะถูกไฟเผาถึงแก่กรรม ทำให้บางคนก็บรรลุอนาคามิผล บางคนก็ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 07 Apr 2023 - 54min - 253 - จิตตคฤหบดี ผู้เลิศในฝ่ายธรรมกถึก [6613-6t]
จิตตคฤหบดีเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะ เมื่อวันที่ท่านเกิดมีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม จึงได้ชื่อว่า จิตตกุมาร
จิตตคฤหบดี ได้มีโอกาสพบพระมหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวนชื่อ “อัมพาฏการาม” นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ จนได้บรรลุอนาคามิผล ด้วยความที่เป็นผู้เอาใจใส่พิจารณาธรรมอยู่เนืองๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 31 Mar 2023 - 54min - 252 - อนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้เลิศในฝ่ายทายก [6612-6t]
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อได้ยินชื่อของพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกจากเศรษฐีน้องเขย ก็รีบไปเข้าเฝ้าฯ เพื่อฟังธรรม แล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ได้ถวายมหาทานแล้วกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าไปกรุงสาวัตถี ระหว่างการเดินทางกลับนั้นก็สละทรัพย์จำนวนมากพร้อมทั้งชักชวนชาวบ้านสร้างวิหารระหว่างทางทุกหนึ่งโยชน์ ได้ซื้อที่ดินจากเจ้าเชตกุมารราคาเท่าทรัพย์ที่ปูลงในแผ่นดินนั้นสร้างเป็นวัดพระเชตวันถวายพระสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาอยู่วัดนี้ถึง 19 พรรษา
เมื่อจะไปสำนักของพระพุทธเจ้าก็ไม่เคยไปมือเปล่า จะมีอาหารของขบฉันตามกาลไปด้วยเสมอ ระหว่างที่เข้าเฝ้าก็ไม่เคยถามปัญหากับพระพุทธเจ้าด้วยเกรงพระองค์จะเหน็ดเหนื่อย ท่านมีจิตคิดให้ทาน ทำแต่บุญไว้ตลอด
เมื่อครั้งที่เศรษฐีป่วยหนัก พระสารีบุตรและพระอานนท์ได้ไปเยี่ยม แสดงธรรม เกิดปิติเป็นอันมาก หลังการตายได้ไปเกิดบนสวรรค์เป็นเทพบุตรที่มีรัศมีกายอันงดงาม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 24 Mar 2023 - 54min - 251 - พระปฏาจาราเถรี ผู้ทรงพระวินัย [6611-6t]
นางปฏาจารา เป็นธิดาของเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี ได้หนีตามชายรับใช้ออกจากเรือนไป เรื่องเกิดขึ้นเมื่อนางก็ตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 ในเวลาใกล้คลอดจึงหนีสามีกลับบ้าน แต่ในระหว่างทางนั้นเองนางได้สูญเสียสามี และบุตรทั้งสองคนไป พอยั้งสติได้เดินร้องไห้เข้าสู่เมืองสาวัตถี ทราบข่าวจากชาวเมืองคนหนึ่งว่า ลมฝนได้พัดเรือนบิดามารดาของนางพังทลายและเจ้าของเรือนก็ตายไปด้วย
นางปฏาจาราสูญเสียทุกอย่างในเวลาใกล้กันไม่อาจตั้งสติได้ นางไม่รู้สึกถึงผ้าที่นุ่งซึ่งได้หลุดลง แล้ววิ่งบ่นเพ้อเข้าไปยังพระวิหารเชตวันในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ผู้คนต่างเห็นนางแล้วร้องห้ามอย่าให้คนบ้านั้นเข้ามา แต่พระพุทธเจ้ารับสั่งปล่อยให้นางเข้ามาเถิด แล้วตรัส อนมตัคคปริยายสูตร เตือนสติ จนนางคลายความโศกเศร้า กลับได้สติดังเดิม และได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า มีกำลังใจขึ้นมา บรรลุโสดาปัตติผล จากนั้นได้ทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี
วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง นางถือเอาน้ำนั้นเป็นอารมณ์ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์ ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 17 Mar 2023 - 55min - 250 - ภิกษุณี ผู้เลิศ [6610-6t]
เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีเป็นพระนางน้าและเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้า หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จสวรรคต และเหล่าเจ้าศากยะทั้งหลายออกบวชแล้ว พระนางได้ปลงผมแล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากิยนารีเป็นบริวารประมาณ 500 เพื่อกราบทูลอ้อนวอนขอบวชแต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต
พระอานนท์จึงช่วยทูลขออนุญาตให้ โดยตรัสถามพระพุทธองค์ว่า “สตรีสามารถบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับผู้ชายหรือไม่?” จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต แต่ต้องรับปฏิบัติด้วยครุธรรม 8 ประการอันเป็นเงื่อนไขให้สตรีอุปสมบทได้
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญามาก
พระเขมาเถรีเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นสตรีที่มีรูปงามมาก หลงเมามัวในรูปสมบัติของตน พระเจ้าพิมพิสารจึงคิดอุบายให้พระนางได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ทำให้พระนางเห็นภาพนิมิตซึ่งแสดงความไม่เที่ยงของสังขาร และได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พระนางก็บรรลุอรหัตตผล ณ ที่นั้น เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบความ ทรงอนุญาตให้พระนางออกบวชเป็นภิกษุณีได้
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์มาก
พระอุบลวรรณาเถรี เนื่องจากนางมีความงามมากเป็นที่หมายปองของพระราชาและมหาเศรษฐี เศรษฐีผู้บิดารู้สึกลำบากใจที่จะรักษาน้ำใจของคนทั้งหมดไว้ จึงคิดอุบายให้ธิดาบวช พอบวชได้ไม่นาน ได้เพ่งดูเปลวประทีปแล้วถือเอาเป็นนิมิต ได้บรรลุพระอรหัตผลในเวลานั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 10 Mar 2023 - 54min - 249 - พระกุมารกัสสปะ ผู้เลิศในจิตรกถา [6609-6t]
มารดาของท่านพระกุมารกัสสปะ เกิดตั้งครรภ์ขึ้นมิรู้ตัวก่อนออกบวช พระบรมศาสดาก็ทรงทราบความจริงในเรื่องนี้ แต่เพื่อจะเปลื้องความสงสัย จึงรับสั่งให้ไปเชิญตระกูลใหญ่ๆ ให้มาพร้อมกันแล้วพิสูจน์ จึงได้รู้ชัดว่า นางมีครรภ์ตั้งแต่ยังไม่ได้บวช ยังมีศีลบริสุทธิ์อยู่
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบเรื่องและทรงรับเอาท่านพระกุมารกัสสปะไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อเติบโตเจริญวัยขึ้น พอได้ทราบในชาติกำเนิดที่แท้จริงของตน เกิดความสลดใจ จึงขอพระบรมราชานุญาตออกบวช
ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้ฟังปัญหาพยากรณ์ 15 ข้อจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ท่านมีความสามารถเสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร สมบูรณ์ด้วยข้ออุปมาอุปไมยพร้อมทั้งเหตุผล ให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ฉลาดในวิธีการสั่งสอน จึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศในจิตรกถา คือ แสดงธรรมเทศนาได้อย่างวิจิตร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 03 Mar 2023 - 56min - 248 - พระอนุรุทธเถระ ผู้เลิศในทิพยจักษุญาณ [6608-6t_6212]
ครั้งสมัยพระพุทธเจ้าปทุมุตตร ท่านพระอนุรุทธะได้ตั้งความปรารถนาไว้ในความเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ได้ทำการบูชาด้วยประทีปอันโอฬารด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุปนิสัย แก่ทิพยจักษุญาณ
ในสมัยของพระพุทธเจ้าโคดมของเรานี้ ท่านพระอนุรุทธะเกิดในศากยราชสกุล เป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้สุขุมาลชาติ แม้แต่คำว่า “ไม่มี” ก็ไม่เคยรู้จักไม่เคยได้ยินนับตั้งแต่ประสูติมา เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ออกบวชพร้อมกับพระเจ้าภัททิยศากยะ ภัคคุ อานนท์ กิมพิละ เทวทัต และอุบาลีซึ่งเป็นภูษามาลา
เมื่อบวชแล้ว ภายในพรรษาแรก พระอนุรุทธะได้สำเร็จทิพยจักษุญาณ ได้ตาทิพย์ หลังจากนั้นท่านได้เรียนกรรมฐานกับท่านพระสารีบุตร ต่อมาท่านได้ไปเจริญสมณธรรมในป่าปาจีนวังสทายวัน โดยตรึกมหาปุริสวิตก และได้บรรลุพระอรหัตผล
ท่านพระอนุรุทธะ ได้รับการยกย่องจากพระผู้มีพระภาค ให้เป็นเอตทัคคะในด้านเป็นผู้มีทิพยจักษุญาณ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 24 Feb 2023 - 50min - 247 - พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก [6607-6t]
ในสมัยพระพุทธเจ้าอโนมทัสสี ท่านพระสารีบุตรเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีชื่อว่า “สรทมาณพ” ได้บวชเป็นฤาษี ครั้งเมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าอโนมทัสสี และพระนิสภเถระอัครสาวกแล้ว เกิดตั้งความปรารถนาเป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ต่อมาในสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานี้เอง ท่านพระสารีบุตร และท่านพระโมคคัลลานะได้เที่ยวชมงานมหรสพ แต่เกิดความเบื่อหน่ายจึงออกบวชแสวงหาโมกขธรรมไปในสำนักของสัญชัยปริพาชก และศึกษาจนจบภายในเวลา 2-3 วัน แล้วได้เที่ยวไปยังนิคมอื่นเพื่อแสวงหาโมกขธรรมต่อ
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้พบท่านพระอัสสชิเถระซึ่งมีกิริยาข้อวัตรที่งดงาม เมื่อมีโอกาสจึงได้สอบถามว่า “ท่านบวชจำเพาะใคร หรือใครเป็นศาสดาของท่าน และศาสดาของท่านมีวาทะอย่างไร” เมื่อท่านพระสารีบุตรได้ทราบความจากท่านพระอัสสชิเถระแล้ว ก็บรรลุเป็นโสดาบัน จึงได้ไปชวนท่านพระโมคคัลลานะไปในสำนักของพระพุทธเจ้าด้วยกัน
ท่านพระสารีบุตรหลังจากบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าแล้วครึ่งเดือน ได้ฟังพระศาสดาทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานของตนแล้ว ก็ได้บรรลุอรหัตผลที่ถ้ำสุกรขาตา แล้วได้สถาปนาพระสารีบุตรเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้มีปัญญามาก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 17 Feb 2023 - 52min - 246 - สุขที่ไม่สะอาด [6606-6t]
#กิมมิลสูตร_40 ท่านพระกิมมิละ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “เหตุปัจจัยอะไร ที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน และไม่ได้นาน เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” คำตอบคือ การมี และไม่มีคารวธรรม 6 นั่นเอง
#ทารุกขันธสูตร_41 ท่านพระสารีบุตร ได้เห็นกองฟืนจึงได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ ถ้าต้องการจะน้อมจิตบอกว่า กองฟืนนี้ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ว่างาม และไม่งาม ย่อมทำได้” เพื่อเน้นความไม่เที่ยงนั่นเอง
#นาคิตสูตร_42 ชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ราวป่าใกล้หมู่บ้าน จึงจะไปเข้าเฝ้าพร้อมได้ส่งเสียงอื้ออึง ทำให้พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระนาคิตะถึง “สุขที่ไม่สะอาด” ซึ่งพระตถาคตไม่ติดในสิ่งนั้น เพราะได้สุขจากความสงบภายใน และได้ยกความต่างของเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน และการอยู่ป่าเป็นวัตร
#นาคสูตร_43 พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอุทายีว่า “คนทั้งหลายเห็นช้าง ม้า โค งู ต้นไม้และมนุษย์ร่างใหญ่เท่านั้น จึงกล่าวว่า นาค แต่เราเรียกบุคคลผู้ไม่ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ผู้ไม่ถึงอคติ และละกิเลสได้แล้ว ว่า นาค”
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 10 Feb 2023 - 57min - 245 - องค์แห่งทักษิณาทาน [6605-6t]
#ทานสูตร_37พระผู้มีพระภาคตรัสถึงการถวายทานของนางนันทมาตาในหมู่ภิกษุมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประธาน ซึ่งเป็นบุญมากไม่มีประมาณที่จะวัดได้ คือ ผู้ให้มีศรัทธาน้อมไป เลื่อมใส ปลื้มใจทั้งก่อนให้ ระหว่างให้ หลังให้ และในผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ
#อัตตการีสูตร_38พราหมณ์คนหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงความเชื่อของตนว่า “ไม่มีอัตตการ (ไม่มีตนเป็นตัวการ) ไม่มีปรการ (ไม่มีสิ่งอื่นเป็นตัวการ)” พระผู้มีพระภาคได้ยกธาตุความเพียร 6 ประการ มาอธิบายประกอบความเป็นอนัตตา ทำพราหมณ์เกิดเลื่อมใสเป็นโสดาบัน
#นิทานสูตร_39เหตุให้เกิดกรรม โดยยกเหตุในส่วนของกรรมไม่ดี คือ โลภะ โทสะ โมหะ ผลคือไปนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต หรือทุคติ และในส่วนของกรรมดี คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ผลคือไปเทวดา มนุษย์ หรือสุคติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 03 Feb 2023 - 57min - 244 - ธรรมะรับอรุณ Live 28 ม.ค. 2566 [6604-6t_Live]
Q:ควรจะพิจารณาเรื่องราวในอดีตอย่างไร ให้อยู่กับปัจจุบัน?
A:มีสติอยู่กับปัจจุบัน คือ จะคิดไปในอดีตหรืออนาคตให้มีสติไม่หลงไม่เพลินไปแต่ให้เป็นวิมังสา มีสติไตร่ตรองใคร่ครวญในเรื่องราวนั้นๆ จะช่วยลับปัญญาให้ไวขึ้น
Q:อยู่คนเดียวไม่มีครอบครัว จะปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีความสุข?
A:เราจะหาสาระจากสิ่งที่ไม่มีสาระมันจะไม่ได้ แต่ให้เรามาหาสาระ (ความสุข) จาก ศีล สมาธิ และปัญญา
Q:การฟังธรรมะอยู่เรื่อยๆ เป็นเหตุให้เจริญในธรรม?
A:การฟังให้มากซึ่งธรรมะเป็นเหตุให้ปัญญาเราเจริญ เป็นทางไปสู่อมตะ คือ นิพพาน
Q:เคยคิดฆ่าตัวตาย แต่กลัว
A:หิริโอตตัปปะ ความละอายกลัวต่อบาปเป็นความกลัวชนิดที่เป็นกุศลเป็นสิ่งที่ควรมี
Q:การบูชาพระปัจเจกพุทโธควรสวดบทบูชาใด?
A:พระปัจเจกพุทโธกำลังบำเพ็ญบารมีเพื่อที่จะตรัสรู้ในกาลข้างหน้า จะใช้บทสวดสรรเสริญคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็ได้เหมือนกัน
Q: ในสมัยพุทธกาล คนบรรลุธรรมได้ไวและมีมาก แล้วในปัจจุบันนี้จะบรรลุธรรมได้ไหม?
A: ในปัจจุบันคำสอนยังมีอยู่ ให้เรามั่นใจที่จะปฎิบัติตามก็จะบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน
Q:กราบขอพรวันเกิดจากพระอาจารย์
A:ให้ระลึกถึงคุณของพ่อแม่ ให้ตั้งใจทำความดีเพื่อให้มีกุศลสืบเนื่องต่อไปได้
Q:เป็นอุบาสกยังไม่บวชจะเจริญในธรรมได้ไหม?
A: พุทธบริษัท 4 ให้มีธรรม คือ คารวะ6
Q:เจอมรสุมชีวิตหรือความเจ็บป่วยจะวางจิตอย่างไร?
A:ให้มองเห็นสิ่งเหล่านั้นเป็นเทวฑูตที่มาเตือนให้เราเร่งทำความดี
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 28 Jan 2023 - 1h 03min - 243 - บ่มสัญญาให้เป็นวิชชา [6603-6t]
#35_วิชชาภาคิยสูตรสัญญา 6 ประการนี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา (ความหมายรู้ให้เกิดปัญญา) คือ 1. อนิจจสัญญา-เห็นความไม่เที่ยง 2. อนิจเจ ทุกขสัญญา-สิ่งไม่เที่ยงนั้นเป็นทุกข์ 3. ทุกเข อนัตตสัญญา-สิ่งที่เป็นทุกข์นั้นเป็นอนัตตา 4. ปหานสัญญา–ละกิเลส 5. วิราคสัญญา-คลายกำหนัด 6. นิโรธสัญญา-ดับกิเลส
#36_วิวาทมูลสูตรมูลเหตุแห่งวิวาท 6 ประการ คือ บุคคลใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้, ลบหลู่ ตีเสมอ, ริษยา มีความตระหนี่, โอ้อวด มีมายา, ปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ, ยึดมั่นทิฏฐิของตน บุคคลนั้นไม่มีความเคารพยำเกรงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไป ไม่ใช่สุข ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก ให้พึงพยายามละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น และพึงกระทำไม่ให้ยืดเยื้อต่อไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 20 Jan 2023 - 57min - 242 - ปัญญารู้ สู่นิพพาน [6602-6t]
#31_เสขสูตรธรรมคู่ตรงข้ามที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้เป็นเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ธรรม 6 ประการ คือ เป็นผู้ชอบการงาน การพูดคุย การนอนหลับ การคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย และไม่รู้ประมาณในการบริโภค
#32_33_ปฐม_ทุติยอปริหานสูตร สูตร 1-2พระศาสดาทรงปรารภกับเหล่าภิกษุถึงเทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามได้มากราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงธรรมที่ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม (คารวะ 6) คือ เป็นผู้มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท และในปฏิสันถาร และ สูตรที่ 2 ต่างกัน 2 ข้อท้าย คือ ความเป็นผู้มีความเคารพในหิริ (อายบาป) และโอตตัปปะ (กลัวบาป)
#34_มหาโมคคัลลานสูตรท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ขึ้นไปในพรหมโลกเพื่อปรารภกับติสสพรหมถึงเทวดาที่มีญาณหยั่งรู้ว่าใครเป็นโสดาบันเข้าสู่กระแสพระนิพพาน ติสสพรหมได้ตอบว่า เทวดาทั้ง 6 ชั้น ที่มีคุณธรรมโสตาปัตติยังคะ 4 ย่อมมีญาณรู้ว่าตนเป็นโสดาบันเป็นผู้เข้าสู่กระแสนิพพานในวันข้างหน้าแน่นอน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 13 Jan 2023 - 56min - 241 - ภาวะอันยอดเยี่ยมสู่อมตธรรม [6601-6t]
#29_อุทายีสูตรพระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “อนุสสติฏฐาน” กับท่านพระอุทายี และท่านพระอานนท์ ซึ่งคำตอบของท่านพระอุทายีเป็นปัญญาการระลึกชาติได้ซึ่งยังเป็นโมฆะอยู่ ส่วนท่านพระอานนท์ได้กล่าวทูลในเรื่องของฌาน 1-2-3 เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และฌาน 4 ย่อมรู้แจ้งธาตุ มนสิการอาโลกสัญญา(ความสว่าง) เพื่อญาณทัสสนะ พิจารณากายนี้โดยความเป็นของปฏิกูล และเป็นซากศพที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้าเพื่อละกามราคะ และถอนอัสมิมานะ และพระผู้มีพระภาคทรงกล่าวเสริมข้อที่ 6 คือ อิริยาบถรู้ตัวทั่วพร้อมเพื่อสติสัมปชัญญะ
#30_อนุตตริยสูตรภาวะบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งแล้วไปเพื่อได้เห็น..ได้ฟังธรรม..ได้ศรัทธา..ได้บำรุง..ได้ระลึกถึงตถาคต หรือสาวกของตถาคตแล้วได้ศึกษาในไตรสิกขา ซึ่งเป็นภาวะอันยอดเยี่ยมกว่าภาวะทั้งหลาย เพราะเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งในนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 06 Jan 2023 - 54min - 240 - สมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา [6552-6t]
#25_อนุสสติฏฐานสูตรเมื่อตามระลึกถึงอนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้แล้ว จิตย่อมไม่ถูกกิเลสกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรง ทำจิตบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ อันได้แก่ 1. พุทธานุสสติ 2. ธัมมานุสสติ 3. สังฆานุสสติ 4. สีลานุสสติ 5. จาคานุสสติ 6. เทวตานุสสติ
#26_มหากัจจานสูตรพระมหากัจจานะได้ปรารภการ “บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ” ซึ่งหมายถึง อนุสสติฏฐาน 6 ที่ประกอบด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ คือ ไม่ว่าเราจะถูกบีบคั้นจากอายตนะ 6 อย่างไร ถ้าเราจัดการจิตเราได้อย่างถูกต้องย่อมบรรลุถึงนิพพานได้
#27_#28_ปฐม_ทุติยสมยสูตรพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง (สูตร 1) และท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับเหล่าภิกษุเถระ (สูตร 2) ถึงสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ซึ่งก็ได้แก่สมัยที่ถูกนิวรณ์ 5 กลุ้มรุม และไม่รู้นิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ เพื่อขอให้ท่านได้แสดงอุบายเป็นเครื่องนำออกจากสิ่งนั้นได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 30 Dec 2022 - 56min - 239 - “ ภัย ” เป็นชื่อของกาม [6551-6t]
#21_สามกสูตรพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามะ ทรงปรารภเทวดาที่มาเข้าเฝ้ากราบทูลถึงธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อม 3 ประการ คือ 1. เป็นผู้ชอบการงาน 2. ชอบการพูดคุย 3. ชอบการนอนหลับ และพระองค์ทรงแสดงปริหานิยธรรมเพิ่มอีก 3 ประการ ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย คิอ 4. ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ 5. เป็นผู้ว่ายาก 6. มีปาปมิตร (มิตรชั่ว)
#22_อปริหานิยสูตร อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม) คือ ยกเอาธรรมในข้อ #21 ทั้ง 6 ประการ มากล่าวถึงในทางตรงข้ามกัน
#23_ภยสูตรคำว่า ‘ภัย (อันตราย) ทุกข์ (ยึดถือ) โรค (อ่อนกำลัง) ฝี (จิตกลัดหนอง) เครื่องข้อง (บีบคั้น) เปือกตม (จมอยู่)’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะกามทำให้ผูกพันธ์ มีฉันทะราคะ ลุ่มหลง ก็จะทำให้เกิด ‘ภัย ทุกข์ โรค ฝี เครื่องข้อง เปือกตม’ ขึ้นทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า
#24_หิมวันตสูตรธรรม 6 ประการนี้ ย่อมทำลายอวิชชาได้ คือ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ (สัปปายะ) ในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ ในการออกจากสมาธิ ในความพร้อมแห่งสมาธิ ในอารมณ์แห่งสมาธิ และในอภินิหารแห่งสมาธิ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 23 Dec 2022 - 55min - 238 - มรณสติ มีอมตะเป็นที่หยั่งลง [6550-6t]
#17_โสปปสูตรพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุใหม่ โดยชี้คุณ และโทษของผู้ที่หาความสุขในการนอน แล้วให้ภิกษุตามประกอบใน อปัณณกปฏิปทา เห็นแจ้งในกุศลธรรม เจริญโพธิปักขิยธรรม จะทำให้ถึงความสิ้นอาสวะได้
#18_มัจฉพันธสูตรพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลทรงปรารภชาวประมง แล้วทรงตรัสเรื่อง คนฆ่าปลา ฆ่าโค ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร พรานนก และพรานเนื้อ กระทำด้วยใจที่เป็นบาป เพราะกรรมนั้นจึงไม่มีโภคทรัพย์มาก ยิ่งผู้ที่ฆ่ามนุษย์ ย่อมมีทุกข์มากตลอดกาล ตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ฯ
#19_#20_ปฐม_ทุติยมรณัสสติสูตร (สูตร 1-2)พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ทรงปรารภการเจริญมรณสติ มีอานิสงส์มาก มีอมตะ (นิพพาน) เป็นที่สุด พึงเจริญมรณสติอย่างแรงกล้า เพราะเหตุแห่งความตายมีมาก เช่น ภัยจากสัตว์ร้าย ลื่นหกล้ม อาหารไม่ย่อย ดี-เสมหะ-ลมพิษกำเริบ จึงพึ่งตั้งสติมั่นในการละอกุศล เจริญแต่กุศลให้มาก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 16 Dec 2022 - 58min - 237 - การอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ [6549-6t]
ทบทวนเพิ่มเติม ข้อ#13_นิสสารณียสูตรต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว กล่าวถึง ธาตุที่สลัด 6 ประการ คือ 1. เมตตาเจโตวิมุตติสลัดพยาบาท 2. กรุณาเจโตวิมุตติสลัดวิหิงสา (เบียดเบียน) 3. มุทิตาเจโตวิมุตติสลัดอรติ (อิจฉาริษยา) 4. อุเบกขาเจโตวิมุตติสลัดราคะ 5. อนิมิตตาเจโตวิมุตติ (อรหัตผล) สลัดนิมิต (เครื่องหมาย) ทั้งปวง 6. ที่ถอนอัสมิมานะ (อรหัตมรรค) นี้เป็นธาตุที่สลัดความเคลือบแคลงสงสัย
ข้อ#14_ภัททกสูตร และข้อ#15_อนุตัปปิยสูตรเป็นธรรมคู่ตรงข้าม ว่าด้วย การอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ (มีความหวาดกลัว) และมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน (เกิดในอบายภูมิ) คือ เป็นผู้ชอบการงาน ชอบการพูดคุย การนอน การคลุกคลีด้วยหมู่ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ข้อ#16_นกุลปิตุสูตร นางนกุลมาตา ได้คลายความกังวลใจให้กับสามีผู้ป่วยเป็นไข้หนัก ว่าไม่ให้กังวลหรือห่วงใยในตัวนาง เพราะการตายของผู้ที่ยังมี ความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน เมื่อนกุลปิตาผู้เป็นสามีได้ฟังธรรม (การครองเรือน) นั้นแล้ว ก็หายจากความเจ็บไข้นั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 09 Dec 2022 - 58min - 236 - สารณียธรรม ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน [6548-6t]
สิ่งที่จะทำให้เราระลึกถึงกันได้ ไม่ใช่จิตที่เต็มไปด้วยพยาบาท เบียดเบียน แต่เป็นจิตที่เต็มไปด้วยความเมตตาอันไม่มีประมาณ ซึ่งก่อให้เกิดความรัก ความเอื้อเฟื้อ ความสามัคคีปองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ข้อ#11_ปฐมสารณียสูตรธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน คือ ตั้งมั่นเมตตากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม บริโภคไม่แบ่งแยก(แบ่งปันสิ่งของให้) มีศีลบริบูรณ์ และ มีอริยทิฐิ(สัมมาทิฐิ)ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ข้อ#12_ทุติยสารณียสูตรสารณียธรรม 6 ประการที่กล่าวมาแล้วนี้ (ข้อ#11) ย่อมเป็นเหตุทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ข้อ#13_นิสสารณียสูตรธาตุ(สภาวะว่างจากอัตตา)ที่สลัด เมื่อทำให้มากเจริญให้มาก ฯลฯ ใน 1.เมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท 2.กรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา(เบียดเบียน) 3.มุทิตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ(อิจฉาริษยา) 4.อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ 5.อนิมิตตาเจโตวิมุตติ(อรหัตผล)นี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 02 Dec 2022 - 57min - 233 - ความสิ้นไปแห่งกิเลส [6545-6t]
การภาวนาเจริญให้มากในสัญญาทั้งหลาย เป็นทางดำเนิน (มรรค) เพื่อความรู้ยิ่ง..เพื่อความจางคลาย..เพื่อดับอวิชชา
ข้อ#286-#292 ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา (สามเณรีอายุ 18 ปีขึ้นไป) สามเณร สามเณรี อุบาสก และอุบาสิกา ที่มีความประพฤติทุศีล (ศีล 5) ย่อมดำรงอยู่ในนรก และผู้ที่ประพฤติถูกศีลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
ข้อ#293-#302 นักบวชนอกศาสนาที่มีความประพฤติทุศีลย่อมดำรงอยู่ในนรก
ข้อ#303-#1151 ธรรมที่เมื่อเจริญแล้วจะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความสละคืน เพื่อความสิ้นไปแห่งอุปกิเลส (17 อย่าง) อันมี ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ ฯลฯ เป็นต้น ได้แก่ สัญญา 7 ประการ และอาทีนวสัญญา อนัตตสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา อินทรีย์ 5 และพละ 5
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สิกขาปทเปยยาล ราคเปยยาล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 11 Nov 2022 - 58min - 232 - ตระหนี่ธรรม [6544-6t]
ความตระหนี่นี้ มีไปตลอดสายของการปฏิบัติ ซึ่งจะมีความละเอียดลงไปตามลำดับขั้น การมาปฏิบัติก็เพื่อจะละความยึดถือ ก็คือละความตระหนี่เหล่านี้นั่นเอง
ข้อ#251-#253 ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ในกลุ่มของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะชนิดที่เป็นอเสขะ (อรหันต์) เป็นผู้ที่ควรแก่การเป็นพระอุปัชฌาย์ ผู้ให้นิสสัย ผู้ให้สามเณรอุปัฏฐากได้
ข้อ#254-#263 ความตระหนี่ 5 ประการคือ 1.ตระหนี่อาวาส 2.ตระหนี่ตระกูล 3.ตระหนี่ลาภ 4.ตระหนี่วรรณะ 5.ตระหนี่ธรรม ซึ่งความตระหนี่ธรรมจัดว่าน่าเกลียดสุด และผู้ที่ยังละความตระหนี่ไม่ได้ย่อมไม่บรรลุ และผู้ที่ละได้ย่อมบรรลุไล่ตั้งแต่ฌาณ1-4 ไปจนถึงทำให้แจ้งในอริยผลทั้ง 4 ขั้น
ข้อ#264-#271 ความตระหนี่อีกนัยหนึ่ง ที่มีความหมายและไส้ในเหมือนกันกับข้อ 254-263 แต่ต่างกันตรงข้อสุดท้ายคือ 5.อกตัญญู อกตเวที
ข้อ#272-#285 คุณสมบัติของภิกษุที่จะมาทำหน้าที่ต่าง ๆ ในอาวาส คือ ไม่ลำเอียงเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว และรู้ระบบของงานนั้นๆเป็นอย่างดี เป็นบัณฑิต บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัดทำลาย ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ และคู่ตรงข้ามคือลำเอียง ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุปสัมปทาวรรค สัมมุติเปยยาล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 04 Nov 2022 - 55min - 231 - ศรัทธา(ไม่)เฉพาะบุคคล [6543-6t]
ความเลื่อมใสที่เรามีอย่างถูกต้องในคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แม้จะมีเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เราก็ย่อมทำการปฏิบัติของเราให้เจริญ และงดงามได้ เพราะด้วยศรัทธาที่เราตั้งไว้อย่างถูกต้องแล้ว
#ข้อ241-#244 (สูตร 1) เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ว่าด้วย โทษของทุจริต ทางกาย วาจา และใจ (อกุศลกรรมบถ 10) มีโทษ คือ 1. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ 2. ผู้รู้ย่อมติเตียน 3. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป 4. หลงลืมสติตาย 5. ตายแล้วไปเกิดในอบาย นรก
#ข้อ245-#248 (สูตร 2) จะมีไส้ในเหมือน(สูตร1) มีความแตกต่างในตอนท้าย คือ 4. เสื่อมจากสัทธรรม 5. ตั้งอยู่ในอสัทธรรม
#ข้อ249 เป็นธรรมที่อุปมาอุปไมยป่าช้ากับคน คือ บุคคลที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ 10 ย่อมไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น (ชื่อเสีย) มีภัย (ไม่อยากอยู่ด้วย) เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ (คนไม่ดีมาอยู่รวมกัน) เป็นที่คร่ำครวญของคนหมู่มาก (หมดอาลัย)
#ข้อ250 เมื่อความเลื่อมใสเกิดขึ้นกับเฉพาะบุคคลย่อมมีโทษ คือ เมื่อบุคลที่เราเลื่อมใสถูกยกวัตร ถูกสั่งให้นั่งท้าย ย้ายไปที่อื่น ลาสิกขา หรือทำกาละ จึงไม่เลื่อมใส ไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ได้ฟังธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมจากพระสัทธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุจจริตวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 28 Oct 2022 - 55min - 230 - ธรรมอาวาสให้งดงาม [6542-6t]
หมวดว่าด้วยคุณธรรมของผู้ดูแลอาวาสนี้ ไม่ใช่เฉพาะกับเจ้าอาวาสหรือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แต่หมายถึงเราทุกคน ถ้ามีคุณธรรมเหล่านี้ย่อมยังอาวาสหรือองค์กรนั้นให้เจริญรุ่งเรือง และงดงามได้
#ข้อ231-#234 เจ้าอาวาสที่มีคุณธรรมดังนี้ ย่อมเป็นที่รัก ที่เคารพยกย่อง มีอุปการะ ยังอาวาสให้งดงาม มาในหัวข้อที่ต่างกัน สรุปรวมลงไส้ในได้ดังนี้ คือ เป็นผู้มีมรรยาทและวัตรงาม มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีความประพฤติขัดเกลาดี ยินดีการหลีกเร้น วาจางาม ยังคนให้อาจหาญ ดูแลปฏิสังขรณ์เสนาสนะและอุปการะภิกษุผู้มาจากต่างแคว้นได้ เป็นผู้ได้ฌาน 4 มีปัญญา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตและปัญญาวิมุตติ
#ข้อ235 เจ้าอาวาสที่ประกอบด้วยธรรมต่อไปนี้ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ คือ ให้สมาทานอธิศีลและให้เห็นธรรมได้ สามารถอนุเคราะห์คฤหัสถ์ป่วยไข้และเชิญชวนให้ทำบุญตามกาลสมัยได้ บริโภคของที่เขานำมาถวาย ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
#ข้อ236-#240 เป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีหัวข้อที่เหมือนกันว่าด้วย เจ้าอาวาสที่เหมือนดำรงอยู่ในนรก คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองสรรเสริญคนที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ไม่พิจารณาไตร่ตรองปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสหรือไม่ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ในลาภ วรรณะ และทำศรัทธาไทยให้ตกไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาวาสิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 21 Oct 2022 - 1h 01min - 229 - เศร้าหมองเพราะความคุ้นเคย [6541-6t]
การทำความคุ้นเคยอยู่คลุกคลีไปมาหาสู่กันเป็นประจำ ถ้าไม่สำรวมระมัดระวังเผลอยินดีไปในกาม อาจทำให้ต้องอาบัติเศร้าหมองได้
ปฐม-ทุติยกุลุปกสูตร #225_#226 โทษของการเข้าไปสู่เรือนตระกูล และอยู่นานเกินเวลา อาจทำให้ต้องอาบัติเพราะหลีกไปโดยไม่ได้บอกลา ทำให้ได้เห็นหน้ากันเป็นประจำ ได้คลุกคลี นั่งในที่ลับในที่กำบังสองต่อสองกับมาตุคาม และได้บอกสอนพระบาลีเกิน 5-6 คำ เกิดความคุ้นเคยกัน ย่อมมีจิตจดจ่อทำให้ดำริไปในทางกามมาก ไม่ยินดีในการในการประพฤติพรหมจรรย์
โภคสูตร#227 โทษของโภคทรัพย์ คือเป็นสาธารณะทั่วไป ถูกทำลายสูญหายได้ด้วย ไฟ น้ำ พระราชา โจร และทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ส่วนอานิสงส์ ทำให้ได้บำรุงเลี้ยงดูตนเอง บิดา-มารดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตรอำมาตย์ และบำเพ็ญทักษิณา
อุสสูรภัตตสูตร#228การหุ้งต้มอาหารในเวลาสายมีโทษ คือ ไม่ได้ต้อนรับแขก ไม่ได้ทำพลีกรรม ไม่ได้ถวายอาหารแก่สมณะ ทาสกรรมกรและคนใช้หลบหน้าทำงานสาย อาหารมีรสไม่อร่อย
ปฐม-ทุติยกัณหสัปปสูตร#229_#230 อุปมาอุปไมยงูเห่ากับมาตุคาม ว่า ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น มักโกรธและผูกโกรธ มีพิษร้าย (ราคะจัด) น่ากลัว ลิ้นสองแฉก (พูดส่อเสียด) และมักทำร้ายมิตร (นอกใจ)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทีฆจาริกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 14 Oct 2022 - 57min - 228 - อดทนให้เป็นปัญญา [6540-6t]
ความอดทน ไม่ใช่กำลังของคนพาล แต่เป็นกำลังของบัณฑิตที่เห็นโทษอกุศลนั้นด้วยปัญญา
ทบทวน #ข้อ215-#ข้อ126 ว่าด้วยความไม่อดทน โดยได้ยกเอา เวปจิตติสูตร มาอธิบายเสริมทำความแจ่มแจ้งในเรื่องของการวางจิตในความอดทนเพื่อให้เป็นปัญญา
ปฐม-ทุติยอปาสาทิกสูตร #ข้อ217-218โทษของบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส (ทำผิดวินัย) สูตร 1-2 คือ แม้ตนก็ติเตียนตนเอง ผู้รู้ติเตียน ชื่อสียงไม่ดีกระฉ่อนไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในอบาย คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส ผู้ที่เลื่อมใสแล้วกลายเป็นอื่น ไม่ปฏิบัติตามคำสอน คนรุ่นหลังเอาแบบอย่างได้
อัคคิสูตร #ข้อ219โทษของไฟ คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ผิวหยาบกร้าน อ่อนกำลัง เพิ่มการคลุกคลีด้วยหมู่ สนทนาดิรัจฉานกถา
มธุราสูตร #ข้อ220นครมธุรา มีโทษ คือ พื้นดินไม่เรียบ มีฝุ่นละออง สุนัขดุ มียักษ์ร้าย อาหารหาได้ยาก ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วมีจิตไม่เป็นสมาธิ ละอาสวกิเลสไม่ได้ ไม่ควรอยู่ที่นั่น
ปฐม-ทุติยทีฆจาริกสูตร #ข้อ221-222ผู้จาริกไปนาน ไม่มีกำหนดมีโทษ คือ จะไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟัง เป็นโรคร้ายแรง ไม่มีมิตร
อตินิวาสสูตร-มัจฉรีสูตร #ข้อ223-224การอยู่ประจำที่นานมีโทษ คือ มีสิ่งของ และเภสัชสะสมมาก มีกิจมาก คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ ห่วงใยและตระหนี่ในอาวาส ตระหนี่ในตระกูล ในลาภ วรรณะ และในธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อักโกสกวรรค ทีฆจาริกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 07 Oct 2022 - 55min - 227 - บาปทางวาจา [6539-6t]
การจะพูดอะไรนั้น ให้เรามีสติระลึกให้ดี ว่าคำพูดนั้นมีประโยชน์อย่างไร…ให้พูดแต่พอดี อย่ากล่าววาจาอันเป็นโทษ มีความอดทน แล้วเห็นโทษนั้นด้วย “ปัญญา”
ทันตกัฏฐสูตร #ข้อ208 โทษของการไม่แปรงฟัน คือ ตาฝ้าฟาง ปากเหม็น รับรู้รสได้ไม่ดี อาหารย่อยยาก มีรสไม่อร่อย
คีตัสสรสูตร #ข้อ209 โทษของการแสดงธรรมด้วยเสียงขับร้อง คือ แม้ตนเอง และผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น พวกคฤหัสตำหนิ สมาธิเสื่อม คนรุ่นหลังเอาแบบอย่าง
มุฏฐัสสติสูตร #ข้อ210 หลงลืมสติก่อนนอนมีโทษทำให้หลับ-ตื่นเป็นทุกข์ ฝันร้าย เทวดาไม่รัก และน้ำอสุจิเคลื่อน
อักโกสกสูตร #ข้อ211 การด่าเพื่อนพรหมจารี ว่าร้ายพระอริยะมีโทษคือ ต้องอาบัติร้ายแรง จิตเศร้าหมอง เป็นโรคร้าย หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก
ภัณฑนการกสูตร #ข้อ212 ทำความบาดหมางให้แตกกัน มีโทษ คือ จะไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เลื่อมจากธรรม กิตติศัพท์อันชั่วขจรไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก
สีลสูตร #ข้อ213 ผู้มีศีลวิบัติมีโทษคือ จะเสื่อมจากโภคทรัพย์ เสื่อมเสียชื่อเสียง กังวลใจ หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก
พหุภาณิสูตร #ข้อ214 ผู้พูดมากจะมีโทษเป็นเหตุให้พูดเท็จ ส่อเสียด พูดหยาบ เพ้อเจ้อ ตายแล้วไปเกิดในนรก
ปฐม-ทุติยอักขันติสูตร #ข้อ215-#ข้อ216 หัวข้อเหมือนกัน มีไส้ในสรุปรวมลงได้ 7 ข้อ ว่าด้วยโทษของความไม่อดทน คือ ไม่เป็นที่รัก มากด้วยเวร เพ่งโทษ ดุร้าย มีความร้อนใจ หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กิมพิลวรรค อักโกสกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 30 Sep 2022 - 58min - 226 - กิเลส ดุจตะปูตรึงใจ [6538-6t]
จิตที่ไม่นุ่มนวล เพราะถูกกิเลสรัดตรึงไว้ จิตจะไม่ก้าวหน้า ให้เราเอาเครื่องขวางนี้ออก จิตของเราจะมีการพัฒนา บรรลุธรรมได้
กิมพิลสูตร #ข้อ201 ท่านกิมพิละได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว นั่นก็คือ พุทธบริษัท 4 นี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย ในสิกขา และในกันและกัน
ธัมมัสสวนสูตร #ข้อ202 การฟังธรรมจะมีอานิสงส์ 5 ประการ คือ ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว บรรเทาความสงสัยเสียได้ ทำให้มีความเห็นตรง จิตย่อมเลื่อมใส
อัสสาชานียสูตร #ข้อ203 อุปมาอุปไมยม้าอาชาไนยกับภิกษุ ในเรื่อง ความตรง มีเชาว์ ความอ่อน อดทน และความเสงี่ยม
พลสูตร #ข้อ204 พละ คือ กำลังคือศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา
เจโตขิลสูตร #ข้อ205 กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ คือ มีความเคลือบแคลง ไม่ลงใจในพระรัตนตรัย ในสิกขา และเป็นผู้มีโทสะในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์
วินิพันธสูตร #ข้อ206 กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ คือ มีความกำหนัดในกามคุณ 5 ในกาย (อัตภาพ) ในรูป (ฌาน) กินอิ่มจนเกินไป และปรารถนาความเป็นเทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ยาคุสูตร #ข้อ207 อานิสงส์ของยาคู (ข้าวต้ม) คือ บรรเทาความหิว กระหาย ลมเดินคล่อง ดีต่อลำไส้ ย่อยง่าย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กิมพิลวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 23 Sep 2022 - 56min - 225 - ลางบอกเหตุ [6537-6t]
ความฝันใดๆ ถ้าเรามีสติแยกแยะ จะสามารถบอกได้ว่า ฝันนั้นจะเป็นจริงหรือเป็นเพียง “แค่ฝัน”
ปิงคิยานีสูตร #ข้อ195 พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับเจ้าลิจฉวีและปิงคิยานีพราหมณ์ ถึงความปรากฎแห่งแก้ว 5 ประการที่หาได้ยากในโลก คือ การมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น มีผู้แสดงธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วเข้าใจนำไปปฏิบัติให้เกิดผล รู้คุณ กระทำตอบ
มหาสุปินสูตร #ข้อ196 พระพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ ได้ปุพนิมิตว่า แผ่นดินนี้เป็นที่นอนใหญ่ มีหญ้าแพรกงอกขึ้นจากสะดือจรดฟ้า แล้วมีหนอนขาวหัวดำไต่ขี้นจากเท้า นกมีสีต่างๆกัน บินมาตกลงแทบเท้ากลายเป็นสีขาว เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่แต่ไม่เปื้อนอุจจาระ
วัสสสูตร #ข้อ197 อันตรายที่จะทำให้ฝนไม่มี ขาดช่วง หายไป คือ ธาตุไฟ ธาตุลมกำเริบในอากาศ เทพราหูรับเอาน้ำไปทิ้งในมหาสมุทร เทพแห่งฝนลืมทำหน้าที่ พวกมนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
วาจาสูตร #ข้อ198 วาจาสุภาษิต ท่านผู้รู้ไม่ติเตียน คือ พูดถูกกาล พูดคำจริง อ่อนหวาน เป็นประโยชน์ และพูดด้วยเมตตาจิต
กุลสูตร #ข้อ199 นักบวชผู้มีศีลไปสู่ตระกูลใด ตระกูลนั้นจะประสพสิ่งที่เป็นบุญ คือเมื่อได้เห็นแล้วเกิดจิตเลื่อมใส(เป็นไปเพื่อไปเกิดในสวรรค์) ยกมือไหว้ ถวายอาสนะ(เกิดในตระกูลสูง) มีจิตอยากกำจัดความตระหนี่(มีศักดิ์ใหญ่) ได้จัดของถวาย(มีโภคทรัพย์มาก) ได้พูดคุยสอบถามธรรมะ(มีปัญญา)
นิสสารณียสูตร #ข้อ200 ธาตุที่สลัดกาม พยาบาท เบียดเบียน รูปทั้งหลาย และสักกายะ คือถ้าเรามนสิการใน 5 สิ่งนี้ แล้วไม่มีจิตน้อมไป แสดงว่าเรามีธาตุที่สลัดออกในสิ่งนั้นๆ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พราหมณวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 16 Sep 2022 - 58min - 224 - ธรรมของพราหมณ์ [6536-6t]
โสณสูตร #ข้อ191 ว่าด้วยธรรมของพราหมณ์ ที่เปรียบเทียบกับสุนัขมาในเรื่อง การมีคู่ครองที่เหมาะสม ไม่ซื้อขายพราหมณี ไม่ทำการสะสมทรัพย์ แสวงหาอาหารเป็นเวลา
โทณพราหมณสูตร #ข้อ192พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามท่านโทณพราหมณ์ ว่า ท่านโทณะเป็นพราหมณ์แบบไหน ใน 5 จำพวกนี้ คือ 1.พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม 2.ผู้เสมอด้วยเทวดา 3.ผู้ประพฤติดี 4.ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว 5.ผู้เป็นจัณฑาล ซึ่งท่านโทณะได้กราบทูลว่า “แม้แต่พราหมณ์ ผู้เป็นจัณฑาล ข้าพระองค์ยังให้บริบูรณ์ไม่ได้เลย”
สังคารวสูตร #ข้อ193 สังคารวพราหมณ์ ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุที่ทำให้การสาธยายมนต์ไม่แจ่มแจ้ง ซึ่งก็คือ เมื่อใจถูกกามราคะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉากลุ้มรุม
การณปาลีบุตร #ข้อ194 ท่านปิงคิยานีพราหมณ์ได้ตอบถึงเหตุที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแก่ท่านการณปาลีพราหมณ์ ว่า เมื่อบุคคลได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาธรรมเหล่าอื่น ย่อมได้ความพอใจ โสมนัส ความทุกข์กาย ทุกข์ใจย่อมหมดไป ความเหน็ดเหนื่อย เร่าร้อนย่อมระงับไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พราหมณวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 09 Sep 2022 - 57min - 223 - ข้อปฏิบัติของผู้ประเสริฐ [6535-6t]
ผู้ที่หมั่นคอยขัดเกลาตนเอง และประพฤติปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยข้อปฏิบัติอันงาม จัดเป็นผู้เลิศ ผู้ประเสริฐสุด
ภเวสีสูตร #ข้อ180 ภเวสีอุบาสก มีความคิดที่จะรักษาศีลให้สมบูรณ์ และปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นไปใน การประพฤติพรหมจรรย์ บริโภคมื้อเดียว ไปจนถึงออกบวช และได้อรหัตผล แล้วได้ชักชวนบริวารอีก 500 คน ปฏิบัติตามจนได้อรหัตผลด้วยเช่นกัน
#ข้อ181-#ข้อ190 หัวข้อจะเหมือนธุดงควัตร 10 ข้อแรก คือ ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร, ผู้ถือผ้าบังสกุล, อยู่โคนไม้, ป่าช้า, กลางแจ้ง, ถืออิริยาบถ 3, อยู่เสนาสนะตามที่จัดไว้, บริโภคมื้อเดียว, ห้ามภัตที่นำมาถวายภายหลัง, บริโภคในภาชนะเดียว มีลักษณะธรรมที่เป็นไส้ในเหมือนกัน แต่เปลี่ยนไปตามหัวข้อนั้นๆ คือประพฤติข้อวัตรเพราะโง่เขลา, ถูกความปรารถนาชั่วครอบงำ, มีจิตฟุ้งซ่าน, หวังคำสรรเสริญ, มีความมักน้อย สันโดษ ต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงาม จัดเป็นพวกที่เลิศประเสริฐสุด
โสณสูตร #ข้อ191 ธรรมของพราหมณ์ ที่ปรากฏในพวกสุนัข แต่ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์ คือ ว่าในเรื่องการสมสู่ระหว่างพราหมณ์กับพราหมณี และในหญิงวัยเจริญพันธุ์ การซื้อขายพราหมณี การสะสมทรัพย์ และการแสวงหาอาหาร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุปาสกวรรค อรัญญวรรค พราหมณวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 02 Sep 2022 - 1h 00min - 222 - เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน [6534-6t]
ผู้ที่มีศีลบริบูรณ์ และได้สุขที่เกิดจากโสตาปัตติยังคะ 4 ย่อมประพฤติปฏิบัติให้สมบูรณ์ รู้จบธรรมะ เป็นทางไปสู่พระนิพพานได้
ปีติสูตร #ข้อ176 เมื่อมีสุขที่ได้จากสมาธิ ย่อมไม่มีทุกข์หรือสุขที่ปรารภด้วยกาม ไม่มีทุกข์หรือสุขประกอบด้วยอกุศล และไม่มีทุกข์จากสิ่งที่เป็นกุศล
วณิชชาสูตร #ข้อ177 การค้าขาย 5 ประเภท ที่ตัวเองไม่ควรทำ และไม่ควรชักชวนผู้อื่นทำ คือ 1. ค้าขายอาวุธ 2. ค้าขายสัตว์เป็น 3. ค้าขายเนื้อสัตว์ 4. ค้าขายของมึนเมา และ 5. ค้าขายยาพิษ
ราชสูตร #ข้อ178 ยกเอาศีล 5 ขึ้นมาเปรียบเทียบกับการลงโทษของพระราชาว่า ไม่เคยเห็นพระราชาลงโทษผู้มีศีล แต่ด้วยบาปกรรมของผู้นั้นมีอยู่ ถึงไม่ได้กระทำผิดศีลก็จริง ก็อาจเป็นไปได้ว่า ที่จะถูกลงโทษ
คิหิสูตร #ข้อ179 พระพุทธเจ้าตรัสกับท่านพระสารีบุตร โดยปรารภท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และคฤหัส 500 คน ว่า ถ้าใครมีศีล5 แล้วประกอบด้วยสุขที่เกิดจากโสตาปัตติยังคะ 4 ให้ฟันธงได้เลยว่า มีนรกสิ้นแล้ว ฯลฯ คือ เป็นโสดาบัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุปาสกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 26 Aug 2022 - 56min - 221 - สิ่งที่เลิศ และอุบาสกแก้ว [6533-6t]
ในบรรดาการได้เห็น การได้ยิน ความสุข สัญญา และความเป็นอยู่ของผู้ที่เห็นตามความเป็นจริงแล้วทำให้อาสวะสิ้น จัดว่าเป็นเลิศที่สุด
สีลสูตร #ข้อ168 การทุศีล และการมีศีล เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งใบ (ศีล) วิบัติหรือสมบูรณ์ สะเก็ด (สัมมาสมาธิ) เปลือก (ยถาภูตญาณทัสสนะ) กระพี้ (นิพพิทา-วิราคะ) แก่น (วิมุตติญาณทัสสนะ) ย่อมวิบัติ หรือสมบูรณ์ตามด้วย
ขิปปนิสันติสูตร #ข้อ169 เหตุเป็นผู้ให้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้มาก แล้วสิ่งที่เรียนไม่เลือนหายไป ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในอรรถในธรรม พยัญชนะ นิรุตติ เบื้องต้น และเบื้องปลาย (นำไปใช้)
ภัททชิสูตร #ข้อ170 ท่านพระอานนท์ได้กล่าวเพื่อที่จะทำคำตอบให้ชัดเจนกับท่านพระภัททชิ ถึงการเห็น ได้ยิน สุข สัญญา และภพ ของผู้ที่เห็นตามความเป็นจริงแล้วอาสวะสิ้นไป การเห็น ฯลฯ นั้นๆ ว่าเป็นเลิศที่สุด
#ข้อ171-#ข้อ174 เป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีไส้ในเหมือนกัน ว่าด้วยผู้ไม่มีศีล 5 และมีศีล 5 มาในหัวข้อที่แตกต่างกัน คือ #ข้อ171 และ#ข้อ172 ธรรมที่เป็นเหตุให้ครั่นคร้าม และแกล้วกล้า #ข้อ173 ธรรมเป็นเหตุให้ไปอยู่ในนรกหรือสวรรค์ และ #ข้อ174 ภัยเวร คือ ความสะดุ้ง ร้อนใจ
จัณฑาลสูตร #ข้อ175 อุบาสกจัณฑาล (ชั้นเลว) คือ ผู้ที่ไม่มีศรัทธา ทุศีล ถือมงคลตื่นข่าว แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน และอุบาสกแก้ว (ชั้นเลิศ) คือ กล่าวถึงธรรมที่ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาฆาตวรรค อุปาสกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 19 Aug 2022 - 59min - 220 - เหตุของคำถาม และการกล่าวโจทก์ [6532-6t]
ถ้าเราทราบเหตุของคำถาม เราจะมีวิธีที่จะตอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ และเมื่อถูกกล่าวโจทก์เราควรตั้งอยู่ในความจริงและไม่โกรธ
ปัญหาปุจฉาสูตร #ข้อ165 การถามปัญหาด้วยเหตุ 5 ประการ คือ 1. เพราะโง่เขลา 2. ถูกความปรารถนาชั่วครอบงำ 3. ดูหมิ่น 4. ประสงค์จะรู้ จึงถาม 5. ถามเพื่อที่จะทำคำตอบให้ชัดเจน ให้เราเลือกใช้วิธีตอบปัญหาพยากรณ์ 4 อย่างของพระพุทธเจ้า
นิโรธสูตร #ข้อ166 ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึง ผู้ที่ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา และฌาน 9 ถ้าไม่ได้อรหัตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่จะเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นกามภพ แต่ถูกท่านพระอุทายีคัดค้านถึง 2 วาระ (6 ครั้ง) พระพุทธเจ้าท่านทรงมารับรองคำของท่านพระสารีบุตร แล้วกล่าวกับพระอานนท์ว่า “ทำไมถึงปล่อยให้พระเถระถูกเบียดเบียน” เป็นเหตุให้ได้กล่าวถามธรรมกับท่านอุปวานะ ถึงธรรมที่เป็นที่รักเคารพ คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีวาจางาม ได้ฌาน 4 มีเจโตและปัญญาวิมุตติ
โจทนาสูตร #ข้อ167 ผู้ประสงค์จะโจทก์ผู้อื่น ควรกล่าวในกาลอันควร กล่าวถ้อยคำจริง อ่อนหวาน ประกอบด้วยประโยชน์ มีเมตตาจิตไม่เพ่งโทษกล่าว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาฆาตวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 12 Aug 2022 - 58min - 219 - อุบายกำจัดความอาฆาต [6531-6t]
เรา...ผู้รักสุข เกลียดทุกข์ คงไม่มีประโยชน์ที่จะเก็บความอาฆาต โกรธเคืองไว้ในจิตใจ และผู้ที่มีปัญญา...จะเพ่งแต่ส่วนที่ดี ที่มีประโยชน์ของบุคคลอื่น แม้ว่าผู้นั้นจะไม่มีส่วนดีเลยก็ตาม...ก็จะเมตตา สงสาร ในทุกข์ที่เขาเป็น
อุทายีสูตร #ข้อ159 พึงตั้งธรรมไว้ 5 ประการ เมื่อจะแสดงธรรม คือ 1. แสดงธรรมไปตามลำดับ 2. แสดงอ้างเหตุ 3. อาศัยความเอ็นดู 4. ผู้ไม่เพ่งอามิส 5. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น
ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร #ข้อ161 และทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร #ข้อ162 ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต คือ ให้มีเมตตา กรุณา และอุเบกขา ไม่พึงระลึกในเรื่องไม่ดี และให้เข้าใจในเรื่องกรรม แม้ว่าผู้นั้นจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ ก็ตาม ให้มองแต่ข้อดีให้เกิดประโยชน์แก่จิตใจตนเอง
สากัจฉสูตร #ข้อ163 ผู้ที่ควรสนทนาด้วย และอาชีวสูตร #ข้อ164 ผู้ควรแก่การถาม-ตอบ มีไส้ในเหมือนกัน คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะสัมปทาได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาฆาตวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 05 Aug 2022 - 55min - 218 - ธรรมะกระจกเงา [6530-6t]
การพูดเรื่องดีๆ กับคนบางคนก็อาจจะเป็นเรื่องที่ขัดเคืองใจ หรือ กับคนบางคนก็ไม่ขัดเคืองใจ อยู่ที่เราตั้งจิตเพ่งไว้ตรงไหน ให้ตั้งจิตให้ถูก ให้เพ่งระลึกถึงกุศลที่เรามี จะเจริญกุศลให้งอกงามได้
ทบทวน #ข้อ154-156 การที่เรานำเอาธรรมที่เราได้เล่าเรียน (ปริยัติ) มาแสดง-อธิบาย บอกธรรม-บอกบาลี ใคร่ครวญ (ปฏิบัติ) จนให้ถึงมรรคผล (ปฏิเวธ) จะเป็นเหตุให้พระสัทธรรมดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ทุกกถาสูตร #ข้อ157 การพูดเรื่อง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญากับผู้ที่ไม่มีในตน (ไม่พิจารณาเห็นในตน) ก็จะเป็นที่ขัดเคือง จึงเป็นเรื่องไม่ดี แต่ถ้าพูดกับผู้ที่มีความถึงพร้อมธรรมขัอนั้นๆ ในตน ก็จะได้ปิติปราโมทย์ เรื่องที่พูดนั้นจึงดี
สารัชชสูตร #ข้อ158 ความครั่นคร้าม และความแกล้วกล้า เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ประกอบด้วย มีหรือไม่มีศรัทธา มีศีลหรือทุศีล สุตะน้อยหรือทรงสุตะ เกียจคร้านหรือมีความเพียร ปัญญาทรามหรือมีปัญญา
ทุปปฏิวิโนทยสูตร #ข้อ160 ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ปฏิภาณ (มุ่งหวังที่จะพูด) และจิตคิดจะไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สัทธัมมวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 29 Jul 2022 - 57min - 217 - เหตุเสื่อมและเจริญแห่งพระสัทธรรม [6529-6t]
เหตุที่จะทำให้พระสัทธรรม ไม่เสื่อมสูญ คือ การที่เรานำเอาธรรมที่เราได้ยิน ได้ศึกษาเล่าเรียน ท่องจำ นำมาใคร่ครวญ ปฏิบัติจนให้ถึงผล
#ข้อ151-#ข้อ153 หัวข้อเหมือนกัน คือ ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้ จะเป็นผู้เมื่อฟังธรรมอยู่ ก็สามารถที่จะหยั่งลงสู่ความเห็นที่ถูกต้องได้ ซึ่งเป็นธรรมคู่ตรงข้ามมีส่วนเหมือนและส่วนต่าง สรุปรวมแล้วได้ 10 ประการ ไม่มัวสนใจแต่คำพูด, ไม่สนใจแต่ผู้พูด, ไม่สนใจแต่ตัวเอง, ไม่เป็นคนโง่, ไม่สำคัญว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้, ไม่ลบลู่ฟังธรรม, ไม่แข่งดี ฟังธรรม, ไม่จ้องจับผิดในผู้แสดงธรรม, มีจิตเป็นเอกัคคตา และทำในใจโดยแยบคาย
#ข้อ154-#ข้อ156 ห้วข้อเหมือนกัน ว่าด้วยความเสื่อม และความตั้งอยู่ได้แห่งพระสัทธรรมเป็นธรรมคู่ตรงข้าม
#ข้อ154 คือ ฟังธรรม เรียนธรรม ทรงจำธรรม ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพหรือไม่เคารพ
#ข้อ155 คือ เรียนธรรม (นวังคสัตถุสาสน์) แสดงธรรม (อธิบาย) บอกธรรม (จดจำ) สาธยาย ตรึกตรองตามหรือไม่
#ข้อ156 คือ เล่าเรียนพระสูตรที่สืบทอดกันมาดี เป็นผู้ว่าง่าย เป็นพหูสูต เป็นเถระ ไม่มักมาก สงฆ์พร้อมเพรียงกันหรือไม่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สัทธัมมวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 22 Jul 2022 - 57min - 216 - วิมุตติตามสมัย [6528-6t]
“สมยวิมุต” เป็นความพ้นชั่วคราว ถ้าสร้างเหตุดีมีวิมุตติเกิดขึ้นได้ ถ้าสร้างเหตุเงื่อนไขปัจจัยไม่ดี วิมุตติก็เสื่อมไปได้
ทบทวน #ข้อ144 เมื่อพิจารณาเห็นสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล และอาศัยอุเบกขาเห็นความไม่เที่ยง จะละราคะ โทสะ และโมหะได้
นิรยสูตร #ข้อ145 ผู้ที่ผิดศีล 5 เป็นเหตุให้ไปตกนรก และผู้ที่รักษาศีล 5 ได้ เหมือนได้รับเชิญให้ไปอยู่บนสวรรค์
มิตตสูตร #ข้อ146 ผู้ที่ไม่ควรคบและควรคบด้วย คือ ชอบใช้หรือไม่ใช้ให้ผู้อื่นทำงาน ชอบก่ออธิกรณ์ทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเถระหรือไม่ ชอบหรือไม่ชอบไปสถานที่ไม่ควรไปอยู่เรื่อย และสามารถพูดให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติได้หรือไม่
อสัปปุริสทานสูตร #ข้อ147 เปรียบเทียบการให้ทานของคนดีและคนไม่ดี ซึ่งคนดีจะให้โดยเคารพ อ่อนน้อม ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของดีๆ และเห็นอานิสงส์ของการให้
สัปปุริสทานสูตร #ข้อ148 การให้ทานของผู้ที่ให้ด้วยศรัทธา โดยเคารพ ให้ตามกาลอันควร มีจิตอนุเคราะห์ และให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ซึ่งมีอานิสงส์ของการให้ที่เหมือนกัน และต่างกันไป
ปฐมสมยวิมุตตสูตร #ข้อ149 เปรียบเทียบธรรมของผู้มีจิตหลุดพ้นชั่วคราวกับพระอรหันต์ คือ ความชอบหรือไม่ชอบในการงาน การพูดคุย การนอน คลุกคลีด้วยหมู่ พิจารณาหรือไม่พิจารณาเห็นกิเลสที่หลุดออก
ทุติยสมยวิมุตตสูตร #ข้อ150 เหมือน #ข้อ149 แตกต่างกันประการที่ 4 คือ สำรวมหรือไม่สำรวมอินทรีย์ และประการที่ 5 คือ รู้จักหรือไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ติกัณฑกีวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 15 Jul 2022 - 57min - 215 - สัญญาในสิ่งทั้งสอง [6527-6t]
พึงพิจารณา กำหนดหมายรู้ในสิ่งที่ เป็นปฏิกูล และ ไม่เป็นปฏิกูล เพื่อละ ราคะ โทสะ และโมหะ นั่นเอง
อวชานาติสูตร #ข้อ141 บุคคล 5 จำพวก (ปุถุชน) มีปรากฏอยู่ คือ 1. บุคคลให้แล้วดูหมิ่นผู้รับ 2. อยู่ร่วมกันแล้วดูหมิ่นในศีล 3. เป็นคนเชื่อง่าย หูเบา 4. เป็นคนโลเล ศรัทธาหัวเต่า 5. ผู้เขลา
อารภติสูตร #ข้อ142 บุคคล 5 จำพวก คือ บุคคลจำพวกที่ 1-4 มี ศีล สมาธิ สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์บ้าง และมีปัญญาพอประมาณ เมื่อละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติและวิปปฏิสาร และเจริญซึ่งสมถะกับวิปัสสนา ก็จะทัดเทียมจำพวกที่ 5 คือ อรหันต์
สารันททสูตร #ข้อ143 เจ้าลิจฉวี ได้สนทนากันเรื่อง “แก้ว 5 ประการ ที่หาได้ยากในโลก” โดยมุ่งไปในทางกาม ส่วนนัยยะของพระพุทธเจ้า คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อริยบุคคล และผู้กตัญญูกตเวที หาได้ยากในโลก
ติกัณฑกีสูตร #ข้อ144 พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน ได้ตรัสเรื่อง การกำหนดหมายรู้ในสิ่งที่เป็นปฎิกูลและไม่ปฏิกูลเพื่อละความกำหนัด ความขัดเคือง และความหลง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ติกัณฑกีวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 08 Jul 2022 - 56min - 214 - ธรรมของผู้ปรารถนา [6526-6t]
ธัมมราชาสูตร #ข้อ133 เปรียบเทียบการปกครองโดยธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิกับพระศาสดา ใน กาย วาจา ใจ อาชีพ บ้านและนิคม แบบไหนควรและไม่ควรประพฤติ
ยัสสังทิสังสูตร #ข้อ134 เปรียบเทียบทิศที่ใช้ประทับของกษัตริย์กับภิกษุผู้มีศีล เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีปัญญา และวิมุตติที่มีธรรม 4 ประการ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ทิศใดๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้น
ปฐมปัตถนาสูตร #ข้อ135 โอรสผู้สืบทอดบัลลังก์ ที่มีคุณสมบัติที่ดี ย่อมปรารถนาราชสมบัติได้ เปรียบมาในภิกษุผู้มีศรัทธา อาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ปรารภความเพียร มีปัญญา ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะได้ฉันนั้นเหมือนกัน
ทุติยปัตถนาสูตร #ข้อ136 เหมือน #ข้อ135 มีไส้ในที่ต่างออกมา คือ เป็นที่รักของกองทัพ เป็นบัณฑิต ในส่วนของภิกษุ คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีสติปัฏฐาน 4
อัปปังสุปติสูตร #ข้อ137 บุคคล 5 ประเภท ที่นอนน้อย ตื่นมาก คือ สตรี บุรุษ โจร (เพราะกาม) พระราชา (ทรงงาน) และภิกษุ ทำความเพียรเพื่อสิ้นอาสวะ
#ข้อ138-#ข้อ140 ว่าด้วยช้างต้นที่ยังฝึกไม่สำเร็จและสำเร็จแล้ว เปรียบมาในภิกษุที่เป็นเนื้อนาบุญ ใน ภัตตาทกสูตร #ข้อ138 คือ ไม่อดทน ต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อักขมสูตร #ข้อ139 เหมือน #ข้อ138 เพิ่มเติมมาคืออดทนได้ และ โสตสูตร #ข้อ140 เปรียบช้างต้นกับภิกษุ รู้ฟัง รู้ประหาร รู้รักษา รู้อดทน รู้ไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต คิลานวรรค ราชวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 01 Jul 2022 - 56min - 213 - จักรอันยอดเยี่ยม [6525-6t]
เปรียบจักร คือ กิจการงานที่เราต้องทำ และดำเนินไปนั้น ถ้าประกอบไปด้วยธรรมที่ดีงาม จะเป็นจักรที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ หาโทษมิได้
ปฐมอนายุสสาสูตร #ข้อ125 และทุติยอนายุสสาสูตร #ข้อ126 ธรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้นและอายุยืน มีไส้ในเหมือนกันอยู่ 3 ประการ เหตุให้อายุสั้น คือ ไม่รู้ประมาณ และไม่ทำในสิ่งที่เป็นสัปปายะ บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก และที่ต่างกันใน #ข้อ125 คือ เที่ยวในเวลาไม่สมควร ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ (ขั้นต่ำศีล8) และ #ข้อ126 คือ ทุศีล มีปาปมิตร (มิตรชั่ว) ส่วนธรรมที่เป็นเหตุให้อายุยืน คือ กล่าวตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมาแล้ว
วปกาสสูตร #ข้อ127 ไม่ควรหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว คือ ผู้ไม่สันโดษด้วยปัจจัย 4 และมากด้วยความคิดไปในทางกาม และผู้ควรหลีกออกจากหมู่ คือ กล่าวตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมาแล้ว
สมณสุขสูตร #ข้อ128 ทุกข์ของสมณะ คือ ผู้ไม่สันโดษด้วยปัจจัย 4 ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และสุขของสมณะ คือ กล่าวตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมาแล้ว
ปริกุปปสูตร #ข้อ129 กล่าวถึง ผู้ทำอนันตริยกรรม5 (กรรมหนัก) คือ ผู้ที่ต้องไปอบาย ไปนรก เป็นผู้เดือดร้อน เป็นผู้แก้ไขไม่ได้
พยสนสูตร #ข้อ130 ความวิบัติแห่งญาติ โภคะและโรค ยังไม่ร้ายแรงเท่า ความวิบัติแห่งศีล และทิฐิ (มิจฉา) ที่เป็นเหตุให้ไปเกิดอบาย นรกได้ และว่าด้วยสมบัติแห่งญาติ โภคะและโรค ก็ไม่เท่าสมบัติแห่งศีล และทิฐิ (สัมมา) ให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ปฐมจักกานุวัตตนสูตร #ข้อ131 เปรียบเทียบคุณธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิกับพระพุทธเจ้า และทุติยจักกานุวัตตนสูตร #ข้อ132 เปรียบเทียบคุณธรรมของผู้ที่จะมาสืบทอดบัลลังก์พระเจ้าจักรพรรดิกับพระสารีบุตร ซึ่งมีบทพยัญชนะที่เหมือนกันแต่มีความหมายนัยยะต่างกัน คือ เป็นผู้รู้ประโยชน์ รู้ธรรม รู้ประมาณ รู้กาล รู้บริษัท
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต คิลานวรรค ราชวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 24 Jun 2022 - 58min - 212 - “บรรลุสุข ได้ด้วยสุข” [6524-6t]
ความสุขที่ไม่ควรกลัว คือ จากฌานสมาธิ เพื่อให้ถึงบรมสุข คือ นิพพาน
จากคำถามใน ปปติตสูตร #ข้อ 2 ได้อธิบายเพิ่มเติม “บรรลุสุขด้วยสุข” โดย “บรรลุสุข” หมายถึง นิพพาน “ด้วยสุข” หมายถึง ฌานทั้ง 4 ขั้น
#ข้อ 116-#ข้อ 120 เปรียบเทียบธรรมในส่วนไม่ดีเหมือนอยู่ในนรก และส่วนดีเหมือนตำรงอยู่บนสวรรค์ มีไส้ในเหมือนกันอยู่ 3 ประการ คือ การพิจารณาและไม่พิจารณาไตร่ตรอง คนที่ควรสรรเสริญ คนที่ควรติเตียน ทำศรัทธาไทยให้ตกไป และในความต่างอีก 2 ประการ ของ
วัณณนาสูตร #ข้อ 116 คือ แสดงความเลื่อมใส และไม่เลื่อมใสในสิ่งที่ควรและไม่ควรเลื่อมใส
อิสสุกินีสูตร#ข้อ 117 คือ มีและไม่มีความริษยา กับความตระหนี่
มิจฉาทิฏฐิกสูตร #ข้อ 118 เรื่องปัญญา คือ ทิฐิ และสังกัปปะ
มิจฉาวาจาสูตร #ข้อ 119 เรื่องศีล คื